จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในประเทศเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ไม่เพียงส่งแรงสั่นสะเทือนที่รู้สึกได้ถึงใจกลางกรุงเทพฯ แต่ยังเปิดประเด็นสำคัญเมื่ออาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาทพังถล่มลงมา นำมาสู่การตรวจสอบ "โครงสร้างอาคาร" อย่างละเอียด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและผู้ได้รับผลกระทบ
การสืบสวนวัสดุก่อสร้างเปิดเผยข้อมูลสำคัญเมื่อพบว่า "เหล็กข้ออ้อย" ที่ใช้ในอาคารแห่งนี้บางส่วนไม่ตรงตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนด จากการวิเคราะห์พบว่าเหล็กมีสารตกเกรดและค่าทางเทคนิคที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน บางส่วนเกิดปัญหา "เหล็กเบา" หรือมีน้ำหนักไม่ตรงตามที่ระบุไว้
อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมระบุว่า แม้จะพบเหล็กบางส่วนที่ไม่ผ่านมาตรฐาน แต่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าเป็นสาเหตุหลักของการถล่มของอาคาร สตง. หรือไม่ จำเป็นต้องรอผลการสอบสวนและการพิสูจน์ทางเทคนิคเพิ่มเติม
จากการเก็บตัวอย่างเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างไปตรวจสอบ พบว่ามาจากหลายบริษัท โดยหนึ่งในนั้นคือ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจของสังคม เนื่องจากบริษัทดังกล่าวเคยมีประเด็นปัญหามาก่อน ทั้งเหตุเพลิงไหม้และเครนถล่ม จนนำไปสู่การตรวจสอบโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและคำสั่งให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย
“บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,530 ล้านบาท เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มีประเภทธุรกิจเป็นโรงงานผลิตเหล็ก ที่ผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานขั้นต้นและขั้นกลาง (ตามข้อมูลการจดทะเบียน) โดยมีที่ตั้งของโรงงานและบริษัทอยู่ที่อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
สำหรับบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดคือ นายเจี้ยนฉี เฉิน (สัญชาติจีน) ถือหุ้น 64.91% (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2567) ผู้ถือหุ้นรายอื่น ได้แก่ นายจิโรจน์ โรจน์รัตนวลี (สัญชาติไทย), นายวิรุฬห์ สุวรรณนทีกุล (สัญชาติไทย) และนายซู่หยวน หวัง (สัญชาติจีน) และมีกรรมการบริษัท ได้แก่ นายเจี้ยนฉี เฉิน, นายสู้ หลงเฉิน และนายสมพัน ปันแก้ว
จากรายงานทรัพย์สินและงบประมาณของ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ในปีงบประมาณ 2566 พบว่า มี
นอกจากนี้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 ยังได้มีการก่อตั้งบริษัทอีกแห่งในชื่อที่คล้ายคลึงกัน คือ “บริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 6,000 ล้านบาท เป็นธุรกิจขนาดกลาง ทำหน้าที่ผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่น ๆ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
สำหรับบริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด มีรายชื่อผู้ถือหุ้นคล้ายคลึงกับ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดเป็นรายเดียวกัน คือ นายเจี้ยนฉี เฉิน (สัญชาติจีน) ถือหุ้น 73.63% (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2568) ผู้ถือหุ้นรายอื่น ได้แก่ นายชวู้หยวน หวง (สัญชาติจีน), นายจิโรจน์ โรจน์รัตนวลี (สัญชาติไทย), นายวิรุฬห์ สุวรรณนทีกุล (สัญชาติไทย), นายจื่อเจีย เฉิน (สัญชาติจีน), นายสันติ เกษมอมรกิจ (สัญชาติไทย), นายหลี่ เล่อเซิง (สัญชาติจีน) และนายเส้า กั๋วฮุย (สัญชาติจีน) และมีกรรมการบริษัทเป็นคนกลุ่มเดียวกัน ได้แก่ นายสู้ หลงเฉิน, นายเหลินจง เฉิน และนายสมพัน ปันแก้ว
และจากรายงานงบประมาณปี 2566 พบว่า บริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด มีผลประกอบการ ดังนี้
นอกจากนี้ นายเจี้ยนฉี เฉิน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัท ซิน เคอ หยวน ยังเป็นกรรมการในบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่ง ได้แก่
อย่างไรก็ตาม บริษัทที่กำลังตกเป็นประเด็นและถูกสั่งตรวจสอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คือ “บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด” จากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานจนลามไปสู่การตรวจสอบคุณภาพเหล็กที่นำมาจำหน่าย
เหตุเพลิงไหม้โรงงาน - ธันวาคม 2567
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงงานของ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ในอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง จนนำมาสู่การตรวจสอบของกระทรวงอุตสาหกรรม และพบว่าบริษัทมีการละเมิดด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของการผลิตเหล็กไม่ได้มาตรฐานด้านคุณภาพ โดยเฉพาะด้านความแข็งแรง
จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทได้ทำการจัดซื้อวัตถุดิบจากผู้จำหน่ายที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน ตามมาด้วยการยึดเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานจำนวน 2,441 ตัน มูลค่าประมาณ 49.2 ล้านบาท พร้อมกับมีประกาศจะมีการดำเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัทและกรรมการในข้อหาผลิตและจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน และแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ซึ่งมีบทลงโทษรวมถึงจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ บริษัทก็ถูกสั่งให้เรียกคืนเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานทั้งหมดที่จำหน่ายไปแล้วกลับมาอีกด้วย
ภายหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้ในเดือนธันวาคม 2567 กระทรวงอุตสาหกรรมได้เข้าดำเนินการตรวจสอบและทดสอบเหล็กที่ผลิตโดย บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด เพิ่มเติม ซึ่งผลการทดสอบยืนยันว่าเหล็กไม่ได้มาตรฐานด้านความแข็งแรง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้าง โดยเหล็กที่ยึดได้ มีทั้งเหล็กข้ออ้อยที่มีปัญหาเรื่องความสูงของบั้ง ซึ่งส่งผลต่อการยึดเกาะกับคอนกรีต และมีความผิดปกติทางเคมี (มีโบรอนมากเกินไป) ณ ตอนนั้น บริษัทได้รับเวลา 30 วันในการแก้ไขข้อบกพร่องในการผลิต มิฉะนั้นอาจถูกพักใบอนุญาต
เหตุเครนถล่ม - มีนาคม 2567
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 ที่บริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ได้เกิดเหตุเครนพังถล่มที่โรงงาน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้คนงานเสียชีวิต 7 ราย เป็นชาวจีน 1 ราย และชาวเมียนมา 6 ราย
จากเหตุการณ์นั้น นำไปสู่การประท้วงของคนงานกว่า 400 คนเพื่อกดดันเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง จนในที่สุดนายจ้างตกลงที่จะจ่ายค่าชดเชยให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตรายละ 1.6 ล้านบาท
และก็ไปสู่การตรวจสอบของคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม และสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้เริ่มการสอบสวนเหตุการณ์เครนถล่ม โดยขยายผลไปถึงการละเมิดอื่น ๆ ในบริษัทที่มีชาวจีนเป็นเจ้าของในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต การดำเนินธุรกิจที่ไม่จดทะเบียน มลพิษ และการขนส่งกากแร่โดยผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังมีความกังวลอีกว่าเหตุการณ์นี้ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นที่โรงงานแห่งนี้
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเหล็กของจีนมีบทบาทสำคัญต่อสมดุลอุปสงค์-อุปทานและราคาตลาดเหล็กทั่วโลก จากความได้เปรียบของการเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่และมีการอุดหนุนของทางภาครัฐ ทำให้จีนสามารถส่งออกเหล็กในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง จนเกิดภาวะ “Price Dumping” และข้อพิพาททางการค้าอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงระหว่างปี 2023 ถึง 2024 การผลิตเหล็กของจีนลดลงที่ประมาณ 1.7% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของภาคการก่อสร้างและอุตสาหกรรมในประเทศจีนเอง และเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไป จีนจึงเพิ่มการส่งออกเหล็กไปต่างประเทศขึ้น 22.7%
โดยในปี 2023 จีนส่งออกเหล็กไปมากถึง 94.5 ล้านตัน มากกว่าทุกปีในช่วง 3 ปีก่อนหน้า และในปี 2024 จีนทำสถิติใหม่ ส่งออกเหล็ก 110.72 ล้านตัน ถือเป็นปริมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ด้วยปริมาณการส่งออกที่สูงลิ่วนี้ จีนจึงถูกมองว่ามีพฤติกรรม “Dumping” หรือเทขายเหล็กราคาถูกในตลาดโลก เพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตในประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ จีนพยายามหาตลาดใหม่ ๆ สำหรับส่งออกเหล็ก และเสนอราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งเพื่อดึงดูดผู้ซื้อ ในขณะที่อุปสงค์ทั่วโลกอ่อนแอลง ส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กของประเทศอื่น ๆ ต้องเผชิญแรงกดดันอย่างหนักจากเหล็กราคาถูกของจีน
แม้การผลิตเหล็กของจีนในปี 2024 จะลดลง เนื่องจากความต้องการภายในประเทศชะลอตัว และมาตรการต่อต้านการเทขายสินค้าในตลาดจากหลายประเทศ แต่การส่งออกของจีนก็ยังไม่หยุดลง
ที่มา: BOL, Investopedia, SEAISI
ติดตามเพจ Facebook: Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney