รู้จัก สโตโจ ‘Stojo’ แบรนด์ถ้วยกาแฟพับได้ที่ตั้งใจช่วยโลกลดขยะ แก้วใช้แล้วทิ้งกว่าหลายพันใบต่อปี

Business & Marketing

Corporates

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รู้จัก สโตโจ ‘Stojo’ แบรนด์ถ้วยกาแฟพับได้ที่ตั้งใจช่วยโลกลดขยะ แก้วใช้แล้วทิ้งกว่าหลายพันใบต่อปี

Date Time: 18 พ.ย. 2566 13:16 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • Thairath Money BrandStory ซีรีส์ Brand Sustainable พาไปทำความรู้จักกับ สโตโจ “Stojo” แบรนด์ถ้วยกาแฟพับได้ หนึ่งในสินค้ายอดฮิตในยุคนี้ด้วยยอดขายกว่าพันล้านใบทั่วโลก ย้อนจุดเริ่มต้นจากการรู้ตัวว่าตนเองสร้างขยะมหาศาลให้กับโลก ตลอดจนเบื้องหลังการเปลี่ยนพฤติกรรมใช้แล้วทิ้งของผู้คน ที่ทำให้เชนร้านกาแฟและธุรกิจระดับโลกอยากมีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์นี้

Latest


ปัจจุบันการผลักดันให้เห็นถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้คนเริ่มเห็นถึงผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ที่บ่งบอกว่า มนุษย์คือตัวการสำคัญที่ทำร้ายโลกโดยที่เราไม่รู้ตัว...

ช่วงสามปีให้หลังมานี้ กระแสรักษ์โลกกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนขับเคลื่อน โดยเฉพาะการสนับสนุนระดับปัจเจกบุคคลให้ลองปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ปรับพฤติกรรมง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ฉันไม่ทำร้ายโลกไปมากกว่านี้ ยกตัวอย่าง ปัจจุบันคนหันมาใช้แก้วน้ำของตัวเองแทนการใช้แก้วน้ำพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งกันมากขึ้น เพราะเพียงแค่เปลี่ยนภาชนะที่ใช้ดื่มกินในทุกๆ วัน ก็สามารถช่วยลดปริมาณขยะได้อย่างมหาศาล 

ทำให้ช่วงที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์แก้วน้ำกระบอกน้ำรักษ์โลกกลายเป็นสินค้ายอดฮิต และหนึ่งยี่ห้อแก้วรักษ์โลกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนรุ่นใหม่ทั่วโลกขณะนี้ ได้รับความสนใจจากแบรนด์ธุรกิจและเชนกาแฟระดับโลกอย่าง สตาร์บัคส์ อยากจับมือเป็นพาร์ตเนอร์รักษ์โลกด้วย 

นั่นก็คือ สโตโจ “Stojo” แก้วน้ำซิลิโคนไซส์กะทัดรัดหลากสี ที่ช่วยโลกลดแก้วใช้แล้วทิ้งไปได้หลายพันใบต่อปี กับเสน่ห์เฉพาะตัวที่โดดเด่นในการเป็น Collapsible Cups สามารถพับเก็บได้ในจุดที่พอดีกับพื้นที่ที่เล็กที่สุด แม้แต่กระเป๋าเสื้อ 

เจอร์เรียน สวอร์ตส (Jurrien Swarts) ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง หนึ่งในแก๊งคุณพ่อคอกาแฟผู้ก่อตั้งที่ต้องการแก้ปัญหาแก้วพลาสติกล้นโลก หลังจากค้นพบว่า คนอเมริกันโยนแก้วกาแฟที่กินแล้วทิ้งถึง 58 พันล้านใบต่อปี การกินกาแฟกว่า 5-6 แก้วต่อวันของเขา ทำให้เขาตระหนักว่าตนคือตัวการหลักในการสร้างขยะกองโตให้กับโลกใบนี้ด้วยนั่นเอง เขาเลยตั้งใจบอกผู้คนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

“กาแฟเติมพลังให้กับชีวิตของเรา ในวันธรรมดา เราจะดื่มหนึ่งแก้วก่อนที่ลูกจะตื่น อีกแก้วหนึ่งสำหรับเดินทางในตอนเช้า หยิบอีกหนึ่งหรือสองแก้วจากที่ทำงาน เมื่อนับรวมวันหยุดแล้ว เท่ากับเราดื่มกาแฟเกือบ 1,000 แก้วต่อปี”

Sorry, planet…

ทำตัวเป็น “Tupperware 2.0” ภาชนะที่คนรุ่นใหม่ภูมิใจที่ได้ใช้ 

อย่างที่เราเห็นว่า แก้วสโตโจ มีความโดดเด่นอย่างมากในเรื่องวัสดุที่นำมาใช้ นั่นก็คือ ‘ซิลิโคนที่ได้รับการรับรอง’ (LFGB Certified silicone) ปลอดภัยต่ออาหารและรีไซเคิลได้ และออกแบบมาให้ป้องกันการรั่วซึมเป็นอย่างดี ทำให้ตัวแก้วมีความยืดหยุ่น คงทน ไม่เสียหายง่าย ปราศจากส่วนประกอบของกาว บวกกับการออกแบบให้มีคุณสมบัติพิเศษในการพับเก็บได้ในทีเดียว ทำให้เราสามารถพกพาแก้วสโตโจ ใส่กระเป๋าเล็กใหญ่ไปได้ทุกที่ วางซ้อนกันได้ กระทบกระเทือนได้ แถมยังมั่นใจได้อีกว่า เครื่องดื่มจะไม่รั่วซึม และยังกักเก็บอุณหภูมิได้อีกด้วย 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า แก้วสโตโจ ตอบโจทย์ผู้ที่เดินทางเป็นประจำมากขึ้น เพราะบางครั้งการพกแก้วน้ำขนาดใหญ่ก็อาจจะไม่สะดวกสบาย และกลายเป็นอุปสรรคในการเดินทางได้จริงๆ และมากไปกว่านั้น แก้วสโตโจ ยังสามารถสั่งอะไหล่ทดแทนได้ หากมีชิ้นส่วนไหนเสียหายอีกด้วย  

ถูกใจสายรักษ์โลกที่ไม่ต้องการใช้แก้วแบบครั้งเดียวทิ้ง

แม้ว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมการ ‘ใช้แล้วทิ้ง’ (Disposable culture) ของผู้คน ด้วยทำภาชนะที่นำกลับมาใช้ได้ซ้ำๆ จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ต้องยอมรับว่า การเพิ่มคุณสมบัติพับได้ และดีไซน์แก้วสุดเก๋ มีความสมัยใหม่แปลกตา สีสันหลากหลาย โดย สวอร์ตส เคยให้สัมภาษณ์ว่า ตั้งใจทำให้ แก้วสโตโจ เตะตาผู้บริโภครุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z ภาพรวมแก้วสโตโจจึงออกมามีความโดดเด้ง แปลกใหม่ 

แน่นอนว่าจุดแข็งที่เหมาะเจาะเหล่านี้ ทำให้ แก้วสโตโจ หนีภาพจำการเป็นแก้วน้ำกระบอกน้ำแบบเดิมได้ ทำให้สโตโจได้คะแนนภาพลักษณ์และการใช้งานที่ตอบโจทย์ pain point ไม่แพ้แก้วน้ำยี่ห้อ เยติ ‘Yeti’ ที่มีจุดขายในการกักเก็บอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีนั่นเอง  

แก้วสโตโจ วางขายครั้งแรกในเว็บไซต์ Kickstarter ปี 2014 และเริ่มติดตลาดอย่างรวดเร็ว ด้วยโมเดล Omni-Channel จำหน่ายหลายช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ของตนเอง Amazon และในร้านค้าปลีก โดยยังเปิดให้ตัวแทนจัดจำหน่ายทั่วโลกนำไปวางขายอีกด้วย  

ปัจจุบัน Stojo ผลิตแก้วหลายไซส์ ตั้งแต่ 8-24 ออนซ์ และเพิ่มการผลิตภาชนะรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากแก้วที่ยังคงคุณสมบัติพับได้ พกพาสะดวก ตั้งแต่ขวดน้ำ กล่องใส่อาหาร จานชาม ไปจนถึงหลอด และยังวางแผนระยะยาวที่จะมีบทบาทในการสร้างนิสัยใหม่ให้กับผู้คน โดยมีจุดยืนที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่าที่เป็นไปได้ 

โดยล่าสุดเชนกาแฟระดับโลกอย่าง สตาบัคส์ ก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งสนับสนุนการแก้ไขปัญหาแก้วใช้แล้วทิ้ง ประกาศแคมเปญลดผลิตภัณฑ์พลาสติก "BYOC" (Bring Your Own Cup) เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้านำแก้วมากาแฟมาเอง นอกจากนี้ยังวางขายแก้ว Starbucks Stojo อีกด้วย แน่นอนว่ายังทำให้ แก้วสโตโจ สามารถเข้าไปวางขายในร้านสตาบัคส์ 23,000 แห่งทั่วโลกได้อีกด้วย

"ถ้าแต่ละสาขาขายแก้วได้ 4 ใบต่อ 1 สัปดาห์ นั่นเท่ากับ แก้วสโตโจจะถูกได้จำนวน 4.6 ล้านใบเลยทีเดียว ซึ่งนั่นหมายความว่าเราช่วยลดแก้วใช้แล้วทิ้งไปได้มากกว่าครึ่ง"  

 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ