Grab ประเทศไทย ตั้งเป้าปี 66 ทำกำไร ชูกลยุทธ์ เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ตลาดพรีเมียมและลูกค้าองค์กร

Business & Marketing

Corporates

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Grab ประเทศไทย ตั้งเป้าปี 66 ทำกำไร ชูกลยุทธ์ เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ตลาดพรีเมียมและลูกค้าองค์กร

Date Time: 9 มี.ค. 2566 18:25 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • Grab ประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำซุปเปอร์แอป 10 ปี เผยภาพรวมความสำเร็จปี 2565 เตรียมกระตุ้นการใช้บริการ ดันรายได้เพื่อทำกำไรให้ได้ภายในสิ้นปีนี้

Latest


นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เผย ปี 2566 หมดยุคอัดโปรโมชัน เตรียมกระตุ้นการใช้บริการดันรายได้เพื่อทำกำไรให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ ด้วยการเจาะไปที่ตลาดท่องเที่ยวและตลาดพรีเมียม พร้อมดัน 'บริการสำหรับองค์กร' (Enterprise Services) ซึ่งเป็นบริการใหม่ในรูปแบบ B2B ที่มีศักยภาพทำกำไรสูงกว่าให้พัฒนาไปสู่หมวดหมู่ที่ทำรายได้หลักในอนาคต ได้แก่ Grab for Business โซลูชันช่วยบริหารจัดการทุกบริการสำหรับลูกค้าองค์กร และ GrabAds บริการสื่อโฆษณาเต็มรูปแบบบนแอปพลิเคชัน Grab

นายวรฉัตร กล่าวว่า จะรุกด้านท่องเที่ยวในทุกมิติ โดยเริ่มจากการเพิ่มจำนวนพาร์ทเนอร์คนขับให้เพียงพอการกลับมาของนักท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดหลัก ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา และภูเก็ต สร้างความร่วมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เตรียมนำเสนอคอนเทนต์ด้านการท่องเที่ยวภายในแอปฯ และอยู่ในระหว่างการทำงานร่วมกับท่าอากาศยานหลายแห่ง เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้บริการสำหรับลูกค้าภายในสนามบิน ล่าสุดได้เปิดตัว GrabMap รุ่นใหม่ที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่สูง พร้อมฟีเจอร์ GrabNavigation ในอาคาร พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชันให้ตอบรับการใช้งานของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น

สำหรับกลุ่มพรีเมียม เป็นอีกหนึ่งเซ็กเมนต์ที่มีพฤติกรรมการใช้จ่ายสูง มีอัตราการใช้บริการเรียกรถสูงมากในระดับภูมิภาค ทำให้ด้าน แกร็บ ประเทศไทย เตรียมเพิ่มพาร์ทเนอร์คนขับและจำนวนรถยนต์ในระดับพรีเมียม ขยายความร่วมมือกับภาคโรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง

นอกจากนี้เตรียมขยายการให้บริการไปยัง 'รถยนต์ไฟฟ้า' พร้อมการสนับสนุนพาร์ทเนอร์คนขับด้านสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า วางแผนเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ถึง 10% ภายในปี 2567 โดยจะประกาศเปิดตัวโครงการรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการภายในไตรมาส 2 ของปีนี้

นายวรฉัตร กล่าวว่า ภาพรวมปี 2565 แกร็บสามารถรักษาระดับการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง หลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย โดยปีที่ผ่านมามีผู้ใช้ต่อเดือนเพิ่มขึ้น 16% มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 112% จากปีก่อน ลดอัตราขาดทุนลงมาอยู่ที่ 51% จาก 64% ในปีก่อน เนื่องจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และพฤติกรรมการสั่งซื้อต่อครั้งที่เพิ่มมากขึ้นต่อบิล ช่วยลดอัตราการขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ

บริการที่โดดเด่นสุด คือ บริการการเดินทาง (Mobility Service) ซึ่งกลับมียอดใช้บริการในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด โดยยอดใช้หลักมาจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่พุ่งสูงถึง 152% นอกจากนี้ในพื้นที่ต่างจังหวัดมีอัตราการใช้งานที่เติบโตสูงมากกว่ากรุงเทพฯ ถึง 3 เท่า

ในส่วนบริการเดลิเวอรี (Deliveries Service) มีอัตราการเติบโตที่เป็นไปอย่างคงที่ มูลค่า GMV เติบโต และยังครองสัดส่วนอันดับหนึ่งของตลาดทั้งไทยและระดับภูมิภาค เข้าถึงร้านค้าในต่างจังหวัดและพาร์ทเนอร์ห้างสรรพสินค้ามากขึ้น บริการทางการเงิน (Financial Service) GrabPay และ PayLater ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ใช้บริการทั่วไป นอกจากนี้ยังมีบริการสินเชื่อเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กับพาร์ทเนอร์คนขับและผู้ประกอบการ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยคุ้มครองผู้ใช้

ด้านเป้าหมายระยะยาว แกร็บ ประเทศไทย ตั้งใจสร้างอีโคซิสเต็มของธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการจัดส่งต่อพาร์ทเนอร์คนขับและร้านค้า รวมถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี การเพิ่มฐานสมาชิกและเพิ่มความภักดีของผู้ใช้บริการ นำเสนอโปรโมชันแบบสมัครสมาชิกรายเดือน (GrabUnlimited) ด้วยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานของแกร็บ เพื่อแข่งขันในสนามซุปเปอร์แอปที่ดุเดือดต่อไปหลังจากนี้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ