ผู้ที่เป็นโรคตาบอดสี (Color Blindness) จะเกิดปัญหาในการแยกแยะสีของวัตถุบางอย่าง ทั้งนี้ บางคนมักเข้าใจผิดว่าผู้ที่เป็น โรคตาบอดสีจะไม่สามารถรับรู้สีใด ๆ ได้เลย ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ที่มีภาวะตาบอดสีอย่างรุนแรงจนกระทั่งเห็นภาพต่าง ๆ เป็นเพียงสีขาวดำนั้นสามารถพบได้น้อยมาก ๆ ส่วนมากแล้วคนที่ตาบอดสีจะรับรู้สีได้ แต่สามารถแยกสีมีความคล้ายกันได้น้อย อย่างไรก็ตาม คนที่ตาบอดสีที่สามารถบอกสีได้ถูกต้อง เช่น ตาบอดสีแดง จะสามารถบอกชื่อสีแดงได้ถูกต้อง ซึ่งในความเป็นจริง มองเห็นสีแดงแตกต่างไปจากคนปกติ  เพราะได้รับการสอนให้เรียกสีที่เค้ามองเห็นจากวัตถุนั้นๆ ว่า นี่คือสีแดง จึงมักจะบอกสีได้ถูกต้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้หากประกอบอาชีพในบางอาชีพที่ต้องใช้สีในการบอกสัญลักษณ์

สาเหตุของโรคตาบอดสี

โดยปกติในจอประสาทตาของคนเราจะมีเซลล์ 2 ชนิดที่ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ เซลล์รูปแท่ง และเซลล์รูปกรวย โดยเซลล์ทั้งสองชนิดนี้จะมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
เซลล์รูปแท่ง : เป็นเซลล์ที่ช่วยในการมองเห็นในที่สลัว ภาพที่เห็นจากเซลล์รูปแท่งนี้จะมีลักษณะเป็นสีขาวหรือดำขึ้นอยู่กับความสว่างของแสง ในดวงตาของคนปกติ เซลล์รูปแท่งนี้จะช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุในที่มืดได้ในระดับหนึ่ง

...


เซลล์รูปกรวย : เป็นเซลล์ที่ช่วยให้มองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ซึ่งจะทำหน้าที่เฉพาะในที่สว่าง โดยเซลล์รูปกรวยนี้จะมี 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยสีแดง เซลล์รูปกรวยสีเขียว และเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน ซึ่งเมื่อแสงผ่านเข้าสู่ดวงตาจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ทั้งสามให้ส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อผสมผสานและแปลสัญญาณออกมาเป็นสีต่างๆ

ในภาวะที่มองเห็นสีได้อย่างปกติ เซลล์ทั้งสามส่วนจะถูกกระตุ้นส่งสัญญาณและแปลสัญญาณสีออกมาได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Trichromatism บางรายอาจจะมีเซลล์ดังกล่าวไม่ครบทั้ง 3 ชุด หรือชุดใดชุดหนึ่งทำงานผิดปกติ ทำให้เห็นสีเพี้ยนไปจากคนอื่น ๆ ภาวะนี้เรียกว่า Dichromatism ผู้ที่มีภาวะแบบนี้มักจะไม่รู้ตัวว่ามองเห็นเพี้ยนจากคนอื่น เพราะจะเกิดการรับรู้สีในแบบของตัวเอง

สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสีอย่างรุนแรง จะมีเซลล์รับสีเพียงชุดเดียว เรียกว่า Monochromatism ซึ่งผู้มีอาการเช่นนี้จะมองเห็นภาพเป็นขาวดำ
โรคตาบอดสีเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ พบได้ประมาณ 8% ของประชากร และจะพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
การทดสอบตาบอดสี

ผู้ที่ต้องการตรวจว่าเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจและปรึกษาจากจักษุแพทย์ ซึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้ในการตรวจโรคตาบอดสี ได้แก่ แผ่นภาพ Ishihara Chart ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะเคยรู้จักลักษณะของแผ่นภาพชนิดนี้จะมีจุดวงกลมวงใหญ่และมีจุดวงกลมเล็กๆ ข้างใน ซึ่งจะซ่อนตัวเลขไว้และใช้สีที่แตกต่างกันเพื่อใช้ทดสอบซึ่งหากเป็นคนตาบอดสีจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถแยกสีและอ่านตัวเลขได้ถูกต้อง แต่หากอ่านได้ถูกต้องก็ถือว่า มีอาการปกติ

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะตาบอดสี

เนื่องจากเป็นอาการที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางป้องกันที่จะทำให้เกิดภาวะตาบอดสีในเครือญาติในกรณีที่ไม่ได้เป็นโรคตาบอดสีแต่กำเนิด แต่มาเกิดอาการขึ้นภายหลังควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ และแนวทางในการรักษาผู้ที่มีภาวะตาบอดสีสามารถสอบใบขับขี่ได้ และสามารถบอกความแตกต่างของสัญญาณไฟจราจรได้งานที่ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีควรหลีกเลี่ยงได้แก่ งานด้านเคมี จิตรกร นักบิน ช่างอิเล็กทรอนิกส์ หรืองานที่ต้องมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสิ่งต่าง ๆ


ผู้ที่เป็นโรคตาบอดสีสามารถทำเลสิค LASIK ได้หรือไม่?

คำถามที่มักถามกันบ่อยๆว่าผู้ที่โรคตาบอดสีสามารถที่จะทำ เลสิค (LASIK ) ได้หรือไม่ คำตอบคือผู้ที่เป็นโรคตาบอดสี สามารถทำเลสิคได้เช่นเดียวกับผู้ที่มีสภาวะตาปกติทั่วๆไป แต่ทั้งนี้การรักษาด้วยวิธี เลสิค หรือ เลสิก LASIK เป็นการรักษาภาวะอาการสายตาผิดปกติ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงเท่านั้นไม่สามารถช่วยรักษาโรคตาบอดสีได้


ที่มาข้อมูล : Laser Vision International LASIK Center
www.laservisionthai.com