ชาวระยองกับวิถีชีวิตที่ผูกพันระหว่างอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม.

หลาย คนที่เคยเอ่ยปากชวนให้ไปเที่ยวทะเลระยองด้วยกันต่างเบ้หน้า อ้างว่าทะเลแถบนั้นมีมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทั้งที่ความจริงยังไม่มีผลการวิจัยใดๆออกมายืนยันชัดเจน ปัญหาความขัดแย้งของสังคมจากผลกระทบของโรงงานอุตสาหกรรม กำลังถูกยกระดับจากท้องถิ่นสู่ระดับชาติ และขยายวงกว้างไปสู่ระดับสากล


ร้านค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้มาตรฐานสากล.

แนวทาง การแก้ปัญหาด้วยการสั่งปิดโรงงานเพื่อหยุดกระบวนการผลิต ดูจะเป็นการแก้ไขแค่ที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะทุกวันนี้มนุษย์ไม่อาจปฏิเสธการมีอยู่ของผลิตผลจากอุตสาหกรรม ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันด้วยปัญญาน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า


ด้านหน้าศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายชุมชน.

ความ สำเร็จของ ชุมชนสมุทรเจดีย์ เขตเทศบาลนครระยอง ที่ตั้งอยู่หลังโรงงานผลิตปิโตรเคมี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เป็นตัวอย่างหนึ่งของการอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ระหว่างภาคอุตสาหกรรมหนักและชุมชน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  ชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้และชุมชนใกล้เคียงอีก 6 แห่ง ได้ร่วมกับโรงงานฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนในชุมชนที่เคยเสื่อมโทรมให้กลับมามี ความอุดมสมบูรณ์ และอนุรักษ์ไว้เพื่อลูกหลานของคนในชุมชนได้ใช้สอยประโยชน์ร่วมกัน


บรรยากาศภายในศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายชุมชน.

กนก กร จำปาทอง ผู้นำชุมชนสมุทรเจดีย์เล่าว่า  แต่ก่อนสภาพป่าชายเลนแถบนี้ไม่ดี  น้ำเสีย  ป่าเสื่อมโทรม มีคนบุกรุกเข้ามาตัดไม้กันเยอะมากจนแทบไม่มีเหลือ และยังมีแรงงานต่างด้าวจากนอกพื้นที่เข้ามาแย่งชิงทรัพยากร ของชุมชนอีก ชาวบ้านโดย

เฉพาะชาวประมงพื้นบ้านหากินฝืดเคืองมาก บางวันออกเรือไปจับสัตว์น้ำแทบไม่มีอะไรติดไม้ติดมือกลับมา หากปล่อยไว้ต่อไปจะส่งผลกระทบสะท้อนกลับมาถึงชาวบ้านในชุมชนโดยรอบทั้งหมด เพราะเราจะหากินกันลำบาก กุ้ง หอย ปู ปลา เริ่มร่อยหรอลง

เราจึง ประชุมร่วมกันว่า ต้องทำอะไรสักอย่าง กระทั่งมีแนวคิดร่วมกันว่าควรจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้ ระบบนิเวศป่าชายเลนชุมชนสมุทรเจดีย์ ขึ้น เพื่อให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ แรกๆเราได้ ระดมชาวบ้านและนักเรียนมาช่วยกันปลูกป่าชายเลน เก็บขยะและฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างจริงจัง มีการประเมินผลในระยะ 3 เดือน ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

...


ปูก้ามเทียน สัตว์น้ำสีสวยประจำถิ่น.

ต่อ มาก็คิดสร้างสะพานทางเดินเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาระบบนิเวศ ป่าชายเลน แต่ชาวบ้านไม่มีเงินจะไปซื้อไม้มาสร้างสะพาน จึงไปขอสนับสนุนจากภาคเอกชน ซึ่งทางบริษัทไออาร์พีซี ก็ให้ไม้เก่าที่เหลือใช้จากในโรงงานมาสร้างสะพาน โดยใช้แรงงานชาวบ้านในท้องถิ่น นี่คือจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันระหว่างชาวบ้านและโรงงาน จากนั้นทางโรงงานยังได้สนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาอาชีพ อาทิ กระชังเลี้ยงปลาและธนาคารปู เพื่อให้ชาวบ้านได้มีอาชีพเพิ่มขึ้นอีกทางเลือกหนึ่ง

ตอนนี้เราได้ ปลูกพันธุ์ไม้ไว้หลายอย่าง ทั้งโกงกาง แสม ประสัก ตะปูน โปร่งขาว ซึ่งต้นไม้พวกนี้จะช่วยฟอกน้ำเค็มจากทะเลให้เป็นน้ำกร่อยได้


สภาพป่าโกงกางที่ได้รับการฟื้นฟู.

พอมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ไว้ให้ สัตว์น้ำใช้เป็นแหล่งแพร่พันธุ์

ออกลูก ออกหลาน กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เคยหายไปก็เริ่มกลับมา ปลากระบอก ปลาใบขนุน ปูก้ามเทียน ปูก้ามดาบ ปูแสม ปูดำ ปูทอง– หลาง หอยพอก หอยตลับ ที่เคยหายไปก็เริ่มมีให้เห็นแล้ว


เส้นทางเดินศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน.

ที่ สำคัญสาหร่ายสีเขียว เป็นสาหร่ายน้ำเค็ม เป็นแหล่งอาศัยของกุ้งตะกราด ที่เราเอาไปทำกุ้งหวานก็เจริญเติบโตได้ดี แสดงว่าพื้นที่ป่าชายเลนของเราเริ่มอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ  ต่อไปเราจะขยายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เพิ่มขึ้นไปอีก จากทุกวันนี้ที่มีอยู่ราว 300 ไร่ มันจะกลายเป็นป่าชายเลนที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวของตัวเมืองระยอง เป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านที่มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์

จากความร่วม แรงร่วมใจกันของชาวชุมชนและภาคเอกชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ปัญหาความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรลดลง และพัฒนาไปสู่การร่วมมือกันยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ ดีขึ้น โดยล่าสุดได้มีการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายชุมชน (Community Center) ขึ้นบนพื้นที่กว่า 2 ไร่ บริเวณโรงกลั่นน้ำมันไออาร์พีซี ต.เชิงเนิน อ.เมืองระยอง ด้วยงบประมาณกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งภายในศูนย์ฯได้จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สอยสำหรับประชาชนใน ชุมชนทุกเพศทุกวัย อาทิ ลานอเนกประสงค์ ห้องประชุม คลินิกสุขภาพ ห้องสมุด ร้านกาแฟ ร้านค้าชุมชน เป็นต้น

ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร  กรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯประกอบธุรกิจปิโตรเคมีและการ
กลั่น ครบวงจร ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง ดังนั้นเราจึงมีความตั้งใจจริง ที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ และแบ่งปันสิ่งดีๆให้กับสังคม โดยเฉพาะกับชาวระยอง สำหรับศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายชุมชนแห่ง


กระชังเลี้ยงปูนิ่มของธนาคารปู.

นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้ใช้ ประโยชน์ร่วมกัน เป็นศูนย์รวมการเรียนรู้ ส่งเสริม พัฒนาด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และช่วยเหลือกลุ่มอาชีพในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนใช้ เป็นที่พบปะสังสรรค์  เพื่อกระชับความสัมพันธ์  ทั้ง ระหว่างสมาชิกของชุมชน และระหว่างชุมชนกับบริษัทให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เราเชื่อว่าที่นี่จะเป็นโครงการต้นแบบของการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรม และชุมชนต่อไป

ปัญหาทุกปัญหาย่อมมีทางออก ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่เข้าไปร่วมอยู่ในวังวนแห่งปัญหา พร้อมจะหันหน้าเข้าหากันเพื่อแก้ไขปัญหานั้นด้วยสันติวิธีหรือไม่ แต่ตราบใดที่มนุษย์ยังถูกอคติครอบงำ แสงสว่างแห่งปัญญาคงยากจะเกิด และประตูแห่งการแก้ปัญหาก็จะถูกปิดตายไปตลอดกาล.