แอปเปิล วอทช์ (Apple Watch) นาฬิกาอัจฉริยะที่ผู้คนทั่วโลกนิยมสวมใส่ เป็นตัวช่วยและคู่หูสำหรับการออกกำลังกาย เป็นอุปกรณ์ติดตามข้อมูล บันทึกข้อมูลตัวที่สำคัญๆ กิจกรรมออกกำลังกายของตนเอง ช่วยดูแลให้ผู้ใช้มีสุขภาพแข็งแรง
สำหรับผู้ใช้ Apple Watch หลายๆ คนที่เคยชินกับการเก็บข้อมูลทั่วไป อาทิ อัตราการเต้นของหัวใจ เวลา ระยะทาง การเผาผลาญไขมัน แผนที่ และอื่นๆ จนลืมไปว่าความสามารถอันน่าทึ่งและฟีเจอร์สุดล้ำของ Apple Watch ที่ถูกพัฒนามาโดยตลอดนั้นเป็นมากกว่าการวัดค่า ข้อมูลที่ละเอียดยิบในกิจกรรมการออกกำลังกายของเรา บ่งบอกอะไรบ้างและใช้วางแผนการดูแลตัวเองอย่างไร
ทีมงานได้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กช็อปการออกกำลังกายกับ Apple Watch โดยมี ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันดูแลศูนย์ฟื้นฟูฯให้กับโรงพยาบาลรามคำแหงและโรงพยาบาลสินแพทย์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด และ เวชศาสตร์การกีฬา มาเป็นวิทยากรให้ความรู้อย่างน่าสนใจ
ที่ผ่านมา ผศ.ดร.สิทธาเคยดูแลนักร้องชื่อดัง อาทิวราห์ คงมาลัย หรือ “ตูน บอดี้สแลม” ในกิจกรรมวิ่งคนละก้าว และภาคิน คำวิลัยศักดิ์ “โตโน่” ในกิจกรรม One Man and The River ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง
...
ก่อนอื่นจะต้องเตรียมอุปกรณ์ให้ใช้งาน ฟีเจอร์ได้ครบครัน ผู้ใช้ควรอัปเดต iOS บน iPhone และ watchOS ใน Apple Watch ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดก่อน
ผศ.ดร.สิทธากล่าวว่า แอปพลิเคชัน Health หรือสุขภาพ บน iPhone และ Apple Watch เก็บข้อมูลอาจจะไม่แม่นยำ 100% เหมือนการทดสอบกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่บ่งบอกได้ในระดับหนึ่ง โดยปกติแล้วข้อมูล 7 วันย้อนหลังถือว่าบ่งบอกถึงสุขภาพของตนเองได้ แต่อย่าลืมสังเกตว่าระหว่างการออกกำลังกายมีอาการผิดปกติอะไรควบคู่ไปหรือไม่
เริ่มจากการเต้นของชีพจร หรือ Heart Rate โดยปกติแล้วจะเต้นอยู่ที่ 60–100 ครั้งต่อนาที (BPM) ในแอป Health ควรสังเกตที่ Cardio Recovery ในเชิงสุขภาพจะบอกถึงว่าการเต้นของชีพจรในระหว่างการออกกำลังการเหนื่อยๆ ชีพจรเต้นในระดับสูงๆ เมื่อพักแล้วภายใน 1 นาทีจะลงเท่าไร หากลงมาในระดับ 12 BPM นับว่าหัวใจทำงานมีประสิทธิภาพ แต่หากลงช้ากว่านี้ภาวะหัวใจอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต โดย เฉพาะคนเป็นโรคหัวใจ
แต่ไม่มีตายตัวให้ยึดที่อัตราเท่าไร ให้สังเกตเอาว่าระหว่างออกกำลังกายเหนื่อยสุดหัวใจเต้นในระดับสูงแล้วพัก VO2 Max สำคัญอย่างไร
ด้านฟีเจอร์ Cardio Fitness แสดงค่า VO2 Max (maximal oxygen consump tion) จะบ่งบอกถึงค่าออกซิเจนที่ร่างกายเราใช้ในช่วงที่ออกกำลังกายจนเหนื่อยสุด ความสำคัญตัวเลข VO2 Max คือ การที่เราจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นเช่น เดินเข้าห้องน้ำได้ ทำกับข้าวได้ กินข้าวเองได้
ผู้ที่มีค่าเกินระดับ 40 ขึ้นไปหรือค่าสูงๆ ผู้ใช้มั่นใจได้ว่า หัวใจและปอดมีประสิทธิภาพ อากาศที่เข้าไปในปอดมีประสิทธิภาพ
โดยปกติทั่วไปหากตัวเลขเกิน 20 ขึ้นไปถือว่าโอเคสามารถช่วยตัวเองได้ในระดับคนแก่ที่ไม่มีความฟิต หากจะให้ดี 25 ถือว่ารอดและสามารถเพิ่มค่าขึ้นได้เร็วหากออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ค่า VO2 Max ที่ต่ำกว่า 10 มีแนวโน้มว่าไม่รอดแน่ๆ ในเชิงการรักษาจะต้องเข้มข้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูปัจจัยอื่นด้วย
สำหรับแอป Electrocardiograms (ECG) บน Apple Watch สามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ตลอดเวลา เมื่อคุณรู้สึกว่ามีอาการ เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ เมื่อมีความกังวลทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ หรือได้รับการแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ ล่าสุดในประเทศไทยรองรับการใช้งาน ฟีเจอร์ AFib สำหรับผู้มีประวัติภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วแล้วฟีเจอร์ AFib รองรับการใช้งานในไทย
...
ผศ.ดร.สิทธากล่าวว่า AFib เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้การทำงานของหัวใจไม่เป็นระบบ หากเป็นบ่อยๆไม่ดีเสี่ยงต่อการที่เลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจไม่ถูกส่งออกไปห้องถัดไป จะวนเวียนอยู่ทำให้เกิดลิ่มเลือด หากหลุดไปที่สมองก็จะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ถ้าหลุดไปตันหลอดเลือดหัวใจจะทำให้หัวใจวายได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลันได้ ซึ่งฟีเจอร์นี้จะช่วยเราตรวจจับตรงนี้ได้
หัวใจเต้นผิดจังหวะ คนทั่วไปก็มีกันแต่ไม่บ่อย นานๆที อาจเกิดจากนอนไม่พอ ตรวจอีซีจีจะพบแต่มีปัจจัยอื่น คนเป็นโรคหัวใจก็เกิดได้ ดังนั้น AFib ถ้าเป็นแล้วหายไปก็ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าเป็นบ่อยๆอาจต้องไปวินิจฉัยทางแพทย์หัวใจจะรู้ สามารถนำไฟล์ PDF ออกมาให้แพทย์วิเคราะห์ได้ จะแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้น แม้ข้อมูลอาจไม่ 100% แต่อย่างน้อยช่วยให้ระวังได้
ฟีเจอร์ AFib บน Apple Watch ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ที่ไปพบแพทย์แล้ววินิจฉัยว่าเป็น ฟีเจอร์จะไม่แจ้งเตือนแต่เก็บข้อมูลประจำสัปดาห์ไว้ว่ามีภาวะช่วงไหนบ้าง แต่สำหรับคนปกติหากเกิดภาวะนี้จะทำการแจ้งเตือนให้ทราบ
ทางด้านแอปการออกกำลังกาย หรือ Workout บน Apple Watch ใน watchOS 9 รองรับดูโซนอัตราการเต้นของหัวใจที่เก็บข้อมูลด้านสุขภาพมาคำนวณอัตโนมัติ จะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ซึ่งแสดงเป็นระดับการใช้แรงโดยประมาณจากน้อยไปจนถึงมากที่นักออกกำลังกายทราบดี
...
ผศ.ดร.สิทธากล่าวว่า การพูดถึงการเผาผลาญแคลอรี เผาผลาญน้ำตาลหรือการฝึกฝนให้หัวใจแข็งแรงนั้นอยู่ที่ความเชื่อของการเรียนรู้ของแต่ละคน แต่สำหรับตนมองว่าอย่าไปสนใจมากนัก และมองไปที่การเผาผลาญให้มากๆไว้ก่อน สำหรับคนที่ชอบวิ่งยาวๆ อยู่โซน 4 มากหน่อยกำลังดี
พร้อมกับทิ้งทายว่า การออกกำลังกายเป็นยาอย่างหนึ่ง จะช่วยให้แนวโน้มสุขภาพดีขึ้น ถ้าเราเป็นโรค การออกกำลังกายจะช่วยให้แนวโน้มการรักษาดีขึ้น อย่าให้เป็นโรคก่อนแล้วมาออกกำลังกาย ส่วนใหญ่เจอแบบนี้.
คุณหมอแป๊ป–นพ.ภัทรภณ อติเมธิน แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิ่ง และอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง ใช้ Apple Watch Ultra สำหรับวิ่งและใช้ในชีวิตประจำวันด้วยเพราะแบตอึดมาก ใช้ตารางในการเทรนด์ตัวเองสำเร็จ รูปเลย มีข้อมูลวิเคราะห์และปรับตารางให้ทุกสัปดาห์ให้เหมาะกับคนที่ใช้ คำแนะนำของนักวิ่งต้องให้ความสำคัญกับการเวทเทรนนิ่ง เพื่อป้อง กันปัญหาการเกิดอาการบาดเจ็บ มีคำแนะนำจากสมาคมการออกกำลังกายทั่วโลกว่า ปกติออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที พร้อมเวทเทรนนิ่ง 2 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นการขั้นต่ำเพียงพอแล้ว แต่หากเป็นวิ่งถือว่าเป็นการออกกำลังกายหนักเพียง 75 นาที และเวทเทรนนิ่ง 2 ครั้งก็พอ แต่หากจะได้ผลสูงสุดสามารถทำได้มากกว่าแนะนำสูงสุด 3-5 เท่า จะได้ผลดีขึ้นเรื่อยๆ
...
ครูหมอ–ทพ.สมดุลย์ หมั่นเพียรการ ผู้ฝึกสอนโยคะ
จากการเป็นทันตแพทย์ที่เผชิญกับเพนพ้อยต์นั่งรักษาฟันให้คนไข้ จนปวดไปทั่วร่างกาย หันมาฝึกโยคะเพื่อบำบัดจนกลายเป็นผู้ เชี่ยวชาญ และพัฒนาคอร์สโยคะที่ปกติคนมองว่าเป็นแค่การยืดกล้ามเนื้อแต่จะทำยังไงให้การโยคะไปถึงคาดิโอ หรือเวทเทรนนิ่งได้ ใช้ Apple Watch มาวัดการกระตุ้นการเต้นของหัวใจแม้จะไม่ได้เท่ากับการวิ่งแต่ได้การโฟลว์ต่อเนื่องเพื่อดึงพลังออกมา มีการวิจัยรองรับแล้วว่าการสื่อประสาทระหว่างสมองกับกล้ามเนื้อคุยกันรู้เรื่อง เมื่อเทรนซ้ำๆสิ่งที่ได้ท่าทางจะสวยขึ้น กล้ามเนื้อชั้นนอกใช้แรงน้อยลงมีความแข็งแรงที่จะมารองรับโพสเจอร์หรือลักษณะท่าทางของมนุษย์ เราที่ไลฟ์สไตล์ปัจจุบันพังไปกับการเล่นสมาร์ทโฟน เกิดอาการปวดตึง คอ บ่า ไหล่ เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ร่างกายจะพัฒนาไปเองและจะรู้จังหวะให้ร่างกายเปลี่ยนโพสเจอร์ไม่เกิดอาการปวด
“มะนาว” ภรณี ศรีธัญ นักวิ่งมาราธอนและนักไตรกีฬา
นักกีฬาและอินฟลูเอนเซอร์ สาวสวยใช้ Apple Watch สำหรับ การฝึกฝนการเทรนนิ่ง กับแอป Workout มีประเภทกีฬาหลาก หลายให้เลือกมาก พร้อม กับตารางโค้ชส่งข้อมูล ออกมาได้เลย ช่วยได้มากและเชื่อมต่อกับแอป Strava ที่มีผู้ติดตามเข้ามาดูว่า “มะนาว” ออกกำลังกายอะไร ยังไงบ้าง และยังใช้แอปเข็มทิศเมื่อเวลาไปวิ่งเทรลในป่าเพื่อนำกลับมาจุดเดิม นอกจากนี้ยังใช้แอป Relive เอาไว้ทำคอนเทนต์ เวลาไปเทรล แวะถ่ายรูป แอปจะเก็บข้อมูลว่าไปไหนบ้างอยู่จุดไหน ถ่ายรูปออกมาเป็นวิดีโอสนุกมาก.