เนื่องในวันคุ้มครองโลก (Earth Day 2024) ซึ่งตรงกับวันที่ 22 เมษายน กูเกิล ดูเดิล ร่วมเฉลิมฉลองวันสำคัญนี้ พร้อมแสดงภาพถ่ายทางอากาศ เผยภาพธรรมชาติอันงดงามและความหลากหลายทางชีวภาพของโลก เพื่อเตือนให้เห็นถึงความสำคัญของการปกป้องโลกแก่คนรุ่นต่อไปในอนาคต
สำหรับภาพของ กูเกิล ดูเดิล ในวันคุ้มครองโลก (Earth Day 2024) เป็นการรวบรวมภาพธรรมชาติจากหลากหลายสถานที่ทั่วโลก ที่ผู้คน ชุมชน และรัฐบาล ต่างช่วยกันทำงานเพื่อปกป้องรักษาความงามตามธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรของโลก เพื่อแสดงถึงความหวังและการมองโลกในแง่ดี พร้อมทั้งเป็นเครื่องเตือนใจผู้คนทั่วโลกในการเร่งแก้ไขวิกฤติสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
...
ภาพสถานที่บน กูเกิล ดูเดิล วันคุ้มครองโลก มาจากสถานที่ดังต่อไปนี้
G: หมู่เกาะเติกส์และเคคอส เกาะเหล่านี้เป็นที่ตั้งของพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ โดยมีความพยายามในการอนุรักษ์ที่มุ่งจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังดำเนินอยู่ รวมถึงการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและแนวปะการัง และการฟื้นฟูสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เช่น อีกัวนาหินในหมู่เกาะเติร์กและเคคอส
O: อุทยานแห่งชาติ Scorpion Reef, เม็กซิโก หรือที่รู้จักกันในชื่อ Arrecife de Alacranes ซึ่งเป็นแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในอ่าวเม็กซิโกตอนใต้ และเป็นเขตสงวนชีวมณฑลของ UNESCO พื้นที่คุ้มครองทางทะเล ทำหน้าที่เป็นที่หลบภัยของปะการังที่ซับซ้อน รวมถึงนกและเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด
O: อุทยานแห่งชาติ Vatnajökull ประเทศไอซ์แลนด์ มรดกโลกขององค์การยูเนสโกแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในฐานะอุทยานแห่งชาติในปี 2008 หลังจากสนับสนุนมานานหลายทศวรรษ ปกป้องระบบนิเวศในและรอบๆ ธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป การผสมผสานของภูเขาไฟและน้ำแข็งทำให้เกิดภูมิประเทศและพืชพรรณที่หายาก
G: อุทยานแห่งชาติ Jaú, บราซิล เป็นที่รู้จักในชื่อ Parque Nacional do Jaú ที่นี่เป็นป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกาใต้ และเป็นมรดกโลกโดย UNESCO ตั้งอยู่ในใจกลางป่าฝนแอมะซอน ปกป้องสัตว์นานาชนิด รวมถึงนกมาร์เกย์ เสือจากัวร์ นากยักษ์ และพะยูนแมนนาทีแห่งแอมะซอน
L: Great Green Wall ประเทศไนจีเรีย โครงการริเริ่มที่นำโดยสหภาพแอฟริกานี้ เริ่มต้นในปี 2550 กำลังฟื้นฟูที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการแปรสภาพเป็นทะเลทรายทั่วแอฟริกา ด้วยการปลูกต้นไม้และพืชพรรณอื่นๆ ขณะเดียวกันก็ดำเนินแนวทางการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้คนและชุมชนในพื้นที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ความมั่นคงทางอาหาร และความสามารถในการฟื้นตัวของสภาพภูมิอากาศ
E: เขตอนุรักษ์ธรรมชาติหมู่เกาะ Pilbara ประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ข้างเขตอนุรักษ์ธรรมชาติเกาะ Pilbara ซึ่งเป็น 1 ใน 20 เขตอนุรักษ์ธรรมชาติในออสเตรเลียที่ช่วยปกป้องระบบนิเวศที่เปราะบาง ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติที่หายากมากขึ้น และสัตว์หลายชนิดที่ถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงเต่าทะเล นกชายฝั่ง และนกทะเลหลายสายพันธุ์
ภาพทั้งหมดนี้เอื้อเฟื้อโดย Airbus, CNES/Airbus, Copernicus, Maxar Technology และ USGS/NASA Landsat
ประวัติวันคุ้มครองโลก
วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ตรงกับวันที่ 22 เมษายน จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ตามประกาศของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (United Nations Environment Program : UNEP) เพื่อสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกในเครือข่ายกว่า 193 ประเทศทั่วโลก ประสานงานผ่านเว็บไซต์ส่วนกลางในชื่อ Earthday.org
จุดเริ่มต้นของวันคุ้มครองโลกเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2512 นาย John McConnell นักเคลื่อนไหวด้านสันติภาพ ได้เสนอให้จัดตั้งวันคุ้มครองโลกเพื่อให้เป็นเกียรติแก่โลก โดยเลือกใช้วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ ภายใน 1 เดือนต่อมา Gaylord Nelson หนึ่งในวุฒิสภาก็เสนอให้ระบุการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในหลักสูตรของสหรัฐอเมริกา โดยจ้างนาย Denis Hayes นักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประสานงาน ภายหลังใช้ชื่อวันคุ้มครองโลก (Earth Day) และในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513 ผู้คนกว่า 20 ล้านคนก็เดินทางหลั่งไหลมาตามถนน เพื่อร่วมแสดงพลังตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม วันนี้จึงกลายเป็นวันที่มีผู้ชุมนุมมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
...
กิจกรรมสำคัญในวันคุ้มครองโลก ประชาชนจะจัดงานตลอดสัปดาห์ เพื่อมุ่งเน้นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่โลกเผชิญอยู่ ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เกิดการระดมมวลชนออนไลน์ครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ เพื่อร่วมสังเกตการณ์ในรอบ 50 ปี ของวันคุ้มครองโลก