ดาวแคระขาว (White dwarfs) เคยเป็นดาวฤกษ์ปกติที่คล้ายกับดวงอาทิตย์ มีรัศมีราว 1% ของดวงอาทิตย์ พวกมันมีมวลเท่ากัน นั่นหมายความว่าพวกมันมีความหนาแน่นประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อดาวแคระขาวยุบตัวลงหลังจากปลดปล่อยพลังงานจนหมด พอเย็นลงจนถึงจุดที่หยุดเปล่งแสงที่มองเห็นได้และกลายเป็นดาวแคระดำ (Black dwarfs) เศษซากของดวงดาวเหล่านี้ยากต่อการศึกษาในอดีต แต่เมื่อเร็วๆนี้มีผลศึกษาของนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลุนด์ในสวีเดน เผยข้อมูลใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการเคลื่อนที่ของดวงดาวเหล่านี้
เป้าหมายของการศึกษาคือดาวแคระขาวชื่อ 40 Eridani A. เป็นเทหวัตถุในท้องฟ้าที่ส่องสว่าง ห่างจากโลก 16.2 ปีแสง ล้อมรอบด้วยระบบดาวคู่ ซึ่งประกอบด้วยดาวแคระขาว 40 Eridani B และดาวแคระแดง 40 Eridani C. นับตั้งแต่ค้นพบในปี 2326 นักดาราศาสตร์พยายามเรียนรู้ดาวแคระขาวพวกนี้เพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราให้ลึกซึ้งขึ้น การศึกษาล่าสุดเผยว่าด้วยการสังเกตการณ์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศไกอาทำให้วัดตำแหน่งและความเร็วของดาวฤกษ์ถึง 1,500 ล้านดวง เมื่อทำแผนที่ความเร็วและรูปแบบการเคลื่อนที่ของดาวแคระขาวได้แล้ว ก็พบว่าพวกมันมีการเคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ นั่นคงเป็นเพราะมีมวลและอายุขัยต่างกัน
ผลได้เชื่อว่าจะนำไปใช้พัฒนาแบบจำลองใหม่ๆ เพื่อทำแผนที่ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของทางช้างเผือก และด้วยข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนักดาราศาสตร์หวังว่าจะช่วยระบุถึงการกำเนิดทางช้างเผือกได้ในอีกไม่ช้านาน.
(ภาพประกอบ Credit : NASA, ESA, STScl, and G. Bacon (STScl))