ไฟฟ้าที่เกิดจากความร้อน (thermoe lectricity) จัดเป็นหนึ่งในทางเลือกของการพัฒนาด้านพลังงานสีเขียว โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวียน เราจะพบว่าพลังงานต่างศักย์ (potential difference) ซึ่งส่งผลต่อการถ่ายเทความร้อนในตัวกลางที่อยู่นิ่ง สิ่งเหล่านี้มีอยู่ล้อมรอบตัวเราทุกหนทุกแห่ง เช่น อาคารที่ร้อนจากแสงแดด
นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าที่เกิดจากความร้อนให้หลากหลายและกว้างขวาง ล่าสุด ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ MISIS ในรัสเซีย ได้พัฒนาอุปกรณ์ประหยัดพลังงานชนิดใหม่ นั่นคือเธอร์โมเซลล์ (thermocell) ที่เปลี่ยนความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้า เทอร์โมเซลล์ชนิดใหม่นี้ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าที่เป็นโลหะออกไซด์และอิเล็กโทรไลต์ สารแตกตัวเป็นไอออนอิสระเมื่อละลายน้ำหรือหลอมเหลวทำให้นำไฟฟ้าได้ ส่วนประกอบเหล่านี้จะเพิ่มอัตราการไหลของกระแสไฟ ขณะเดียวกันก็ลดความต้านทานภายในขององค์ประกอบเช่นกัน การใช้น้ำจะทำให้ผลผลิตที่ส่งออกมามีกำลังเพิ่มขึ้น 10-20 เท่าเมื่อเทียบกับสิ่งอื่นที่คล้ายกัน
วิธีนี้จะทำให้สามารถ สร้างแบตเตอรี่แบบพกพาที่ใช้ได้กับแทบทุกพื้นผิว เช่น เสื้อผ้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรงจากพื้นผิวของร่างกาย และในอนาคตมีความเป็นไปได้ ที่จะสร้างตัวเก็บประจุยิ่งยวด (supercapacitor) ที่จะเก็บประจุไฟฟ้าได้เป็นเวลานาน.
Credit : The National University of Science and Technology MISIS