การรักษามะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาแบบผสมผสานกันหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิด ระยะของโรค และความเหมาะสมใน ผู้ป่วยแต่ละราย

1. การผ่าตัด ถือเป็นการรักษาหลัก

2. การรักษาด้วยยา เช่น การให้ยาเคมีบำบัด และยาต้านฮอร์โมน

3. การฉายรังสี ถือเป็นการรักษาเฉพาะที่เพื่อควบคุมโรค ป้องกันการเกิดซ้ำของโรค

การฉายรังสี

⸰ จะใช้ในผู้ป่วยที่ตัดเฉพาะก้อนเนื้องอกหรือบางส่วนของเต้านมออกไป

⸰ รังสีจะไปกำจัดเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ใกล้ๆ กับบริเวณที่เป็นเนื้องอก หรือบริเวณอื่นในเต้านม

⸰ ใช้ในผู้ป่วยบางรายที่ตัดเต้านมทิ้ง ซึ่งก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่และกระจายไปต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ซึ่งมีจำนวนมาก

รังสีที่ฉาย คือ เอกซเรย์พลังงานสูง ไม่ร้อน ไม่เจ็บ และไม่มีรังสีใด ๆ ตกค้างในตัวของผู้ป่วย และ รังสีไม่มีอันตรายกับคนรอบข้าง ไม่ว่าเด็กหรือคน ท้อง

การดูแลตัวเองระหว่างฉายรังสี

1. ดูแลผิวบริเวณที่ฉายรังสีไม่ให้เกิดแผล

- สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ โปร่ง ๆ เพื่อลดการเสียดสี

- สามารถอาบน้ำได้แต่ห้ามฟอกสบู่ ห้ามขัดถู ห้ามทาแป้ง ให้ราดน้ำผ่าน ๆ แล้วใช้ผ้านุ่ม ๆ ซับให้แห้งตรงบริเวณที่ฉายรังสี

2. ผู้ป่วยควรอยู่ที่เย็นสบาย หลีกเลี่ยงการทำงาน หรือออกกำลังกายหนักๆ เพราะเหงื่อจะออกมาก ห้ามว่ายน้ำ

3. หลีกเลี่ยงการโดนแดดจัด เพราะจะเกิดการระคายเคืองบริเวณผิวที่ฉายรังสี ถ้าจำเป็นต้องออกแดดควรสวมหมวก หรือใช้ร่ม

4. สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ไม่ควรหนักมาก

5. พักผ่อนให้เพียงพอ

6. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่มีอาหารแสลง หรืออาหารที่ห้ามใด ๆ

...

7. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

8. ในรายที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถรับประทานยาประจำได้ตามปกติ

9. ถ้ามีไข้ ปวดศีรษะ เป็นหวัดสามารถรับประทานยาแก้ปวดลดไข้ได้ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงต้องแจ้งแพทย์ที่รักษาขอตรวจก่อนไปฉายรังสี

10. ขณะรักษาห้ามตั้งครรภ์ เพราะรังสีมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ จึงต้องคุมกำเนิดแต่ห้ามใช้ยาคุมกำเนิด ทั้งชนิดเม็ดหรือยาฉีด หรือแบบฝัง เพราะอาจส่งผลต่อมะเร็งเต้านมได้

11. ถ้ามีอาการคัน ระคายเคือง ต้องแจ้งแพทย์ผู้ดูแล อาจให้ยาทาบริเวณที่ฉายรังสีเพื่อบรรเทาอาการ

12. บางรายที่มีอาการเจ็บคอ ระคายคอจากหลอดอาหารอักเสบ ต้องแจ้งแพทย์ผู้ดูแลอาจให้ยารับประทานเพื่อบรรเทาอาการ และให้รับประทานอ่อน ๆ รสไม่จัด อาการดังกล่าวจะหายเป็นปกติภายหลังจากฉายรังสีครบ

13. เนื่องจากผู้ป่วยจะรู้สึกตึงบริเวณหน้าอก หรือรักแร้ได้ตั้งแต่หลังผ่าตัด การบริหารแขนและไหล่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและควรทำทุกวัน

สัปดาห์หน้ายังมีการดูแลหลังการฉายรังสี รอติดตามกันนะคะ

@@@@@

แหล่งข้อมูล
พว.สุธีรา สิงห์เพชรส่อง สาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี