- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
- ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องฝึกและบริหารการทรงตัว รวมถึงเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- เพื่อสร้างร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ทำไมเราต้องทดสอบการทรงตัว
คนเราเมื่อมีอายุมากขึ้น ทำให้เกิดความเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบการมองเห็น ระบบการได้ยิน ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ความเสื่อมต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เรามีความแข็งแรงลดลง ความสามารถในการทรงตัวลดลง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้น การหกล้มจะนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ภาวะกระดูกหัก กระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท และความพิการ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทดสอบการทรงตัว เพื่อให้ทราบถึงระดับความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
การทดสอบการทรงตัว
The Time Up and Go Test (TUG)
Note: ลุกจากเก้าอี้ที่จุดตั้งต้น เดินตรงไประยะทาง 3 เมตร แล้วหมุนตัวและเดินกลับมานั่งที่เดิม
คนไข้กลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้เวลามากกว่า 12 วินาทีในการตรวจ จะมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
...
The 30-Second Chair Stand Test
Chair Stand—Below Average Scores
ช่วงอายุ (ปี) / ชาย (จำนวนครั้ง) / หญิง (จำนวนครั้ง)
60-64 /<14 /<12
65-69 /<12 /<11
70-74 /<12 /<10
75-79 /<11 /<10
80-84 /<10 /<9
85-89 /<8 /<8
90-94 /<7 /<4
Note: ให้ผู้สูงอายุประสานมือทั้งสองข้างไว้ที่หน้าอก นั่งค่อนมาทางด้านหน้าเก้าอี้ ลุกยืนตรงและนั่งลง จับเวลา 30 วินาที นับจำนวนครั้งที่ทำได้ ถ้าต่ำกว่าตาราง ถือว่ามีความเสี่ยงการหกล้ม
การทดสอบการทรงตัว
The 4-Stage Balance Test
ขั้นตอนในการทดสอบ : ในแต่ละฐาน คนไข้จะต้องควบคุมการยืนในท่าทางต่างๆ เป็นเวลา 10 วินาที และคนไข้ที่สามารถควบคุมการยืนในฐานที่ 3 (ยืนต่อเท้า) ได้น้อยกว่า 10 วินาที จะมีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม
ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ทำท่าละ 10 ครั้ง/set ให้ทำ 2 set
ท่าบริหารเพื่อเพิ่มการทรงตัว
ท่าที่เป็นท่าเดินให้เดิน 10 ก้าว/set ทำ 2 set
...
“หากทำตามขั้นตอนการทดสอบตามข้างต้นแล้ว มีอาการเซ หรือมีอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุ และประเมินความเสี่ยงอีกครั้ง ภายใต้ความควบคุมของแพทย์”
ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
ปัจจัยที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้ม
ปัจจัยภายใน
- อายุที่เพิ่มขึ้น
- เคยมีประวัติล้มมาก่อน
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวหรือการเดิน
- มีปัญหาในการมองเห็น
- ภาวะความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่า
- โรคเรื้อรัง เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคพาร์กินสัน เบาหวาน ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ กลัวการล้ม
ปัจจัยภายนอก
- ไม่มีราวจับ
- ขั้นบันไดสูงไปหรือแคบไป
- มีสิ่งกีดขวางทางเดิน
- แสงสว่างไม่เพียงพอหรือจ้าเกินไป
- พื้นลื่นหรือทางต่างระดับ
- การใช้เครื่องช่วยเดินที่ไม่เหมาะสม
- ยาที่มีผลต่อระบบประสาท
...
บทความโดย : ผศ.นพ.วิศาล คันธารัตนกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์