ในวงวิชาการโดยเฉพาะทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์จะใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence based medicine–EBM) ในการอ้างอิง เช่น ในเวชปฏิบัติ ในการให้การวินิจฉัย การเลือกที่จะใช้เครื่องมือในการตรวจและกระบวนการวิธีการรักษาต่างๆ

ทั้งนี้ โดยจุดประสงค์เพื่อต้องการที่จะให้เข้าตรงประเด็น ไม่ยืดเยื้อและเป็นการประหยัดทรัพยากร โดยเช่น ไม่มีการส่งตรวจมากเกินไป หรือเพื่อลดการใช้ยาอะไรต่างๆที่ไม่จำเป็น ทั้งนี้ โดยเป้าหมายไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

และ EBM ก็ยังเป็นหลักสูตรของนิสิตแพทย์เพื่อให้อ่านวารสารต่างๆเป็น รวมกระทั่งถึง ยึดถือการวิเคราะห์อภิธาน หรือ meta-analysis เป็นบรรทัดฐานโดยเป็นการรวบรวมข้อมูลวารสารที่ตีพิมพ์และอยู่ในมาตรฐานการวิจัยหลายรายงานเข้าด้วยกัน และได้บทสรุปที่ชัดเจนขึ้นและควรจะเชื่อถือได้

แต่แล้วสิ่งที่เป็นผลตามก็คือ การขาดความใส่ใจที่จะรู้ถึงสมุฏฐานของการเกิดโรคการดำเนินโรคต่างๆ และขาดความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องของกลไก (mechanistic studies) และมองหลักฐานรอบด้าน (totality of evidence) ที่เกิดขึ้นในสภาพการณ์จริง โดยที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยหรือตัวแปรได้ทั้งหมดและยังขาดการดูหลักฐานที่ได้จากการสังเกตพิจารณาอย่างรอบคอบ

...

คำแนะนำเวชปฏิบัติที่ออกมาหลากหลาย และมีข้อท้วงติงจาก เช่น U.S. preventive services task force ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระโดยรวบรวม ผู้เชี่ยวชาญในหลายแขนง ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล และการป้องกันและประเมินหลักฐานที่ชัดเจน ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยใน รูปแบบของการรักษา การป้องกันและการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม

เช่น ในปี 2014 ได้ชี้ให้เห็นถึงการใช้ยาสมองเสื่อมว่า ไม่ได้มีประโยชน์เพราะเป็นเพียงแต่การกระตุ้นสมอง โดยผลลัพธ์ที่ออกมานั้น เมื่อคิดเป็นแต้มคะแนนดีขึ้นไม่มากและไม่ได้ส่งผลที่ทำให้มีการชะลอโรค รวมกระทั่งถึง ไม่ได้ทำให้ภาระของผู้ดูแลลดลง อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงและแทรกซ้อน เป็นต้น

ทั้งนี้ หน่วยงานอิสระเช่นนี้จะไม่ขึ้นตรงกับสมาคมผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆในสหรัฐฯ ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทที่เป็นผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ

บทความที่ตอกย้ำเกี่ยวกับเรื่องนี้ตีพิมพ์ในวารสารขององค์กรแพทย์อังกฤษ (British Medical Journal) ในวันที่ 16 มีนาคม 2022 โดย Jon Jureidini และ ศาสตราจารย์ Leemon B. McHenry ทั้งคู่เป็นคนแต่งหนังสือตีแผ่วิกฤติความน่าเชื่อถือของการวิจัยทางคลินิก โดยสำนักพิมพ์ Adelaide : Wakefield Press 2020

รวมทั้งมีการวิเคราะห์และวิจารณ์การศึกษาของบริษัท Glaxo Smith Kline โครงการยา Paroxetine 329 และ Forest Laboratories citalopram CIT-MD-18 และแสดงตนเองว่าได้รับค่าตอบแทนจากสำนักงานทางกฎหมาย แต่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอื่นใดอีก

บทความดังกล่าวได้เน้นย้ำว่า หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ปัจจุบันถูกบิดเบี้ยว เบี่ยงเบน จากการมีผลประโยชน์ทับซ้อนขององค์กร และการหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ของสถาบันและจากการขาดการควบคุมตรวจ สอบที่รัดกุม

การที่จะมี EBM ที่ดีและเชื่อถือได้นั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลหลักฐานจากการวิจัยในมนุษย์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ผ่านการทดสอบในหลอดทดลองและในสัตว์ระดับหนึ่งมาแล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรค แต่การศึกษาในลักษณะนี้ทำโดยบริษัทยา

และมีการรายงานทางวิชาการโดยแพทย์นักวิทยา ศาสตร์ทางวิชาการอาวุโสและนำไปสู่การส่งเสริมการขายในตลาดสู่ประชาชนและมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นมาตลอดและถูกเปิดโปง

ผลกระทบตามมาเกิดจากการที่แพทย์ผู้ใช้ยาและผลิตภัณฑ์ไม่สามารถที่จะตรวจสอบได้และเชื่อถือในรายงานจากวารสารวิชาการเท่านั้น ซึ่งข้อมูลในวารสารดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นในระดับโลกนานาชาติ ก็ตาม เป็นการศึกษาวิจัยที่ดำเนินโดยบริษัทยา และสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปแล้วก็คือ การไม่เปิดเผยข้อมูลที่ยาไม่มีประสิทธิภาพ ไม่แจ้งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในระหว่างการศึกษาวิจัย

รวมกระทั่งถึงเมื่อยามีการใช้จริงออกตลาดแล้ว และสถาบันทางวิชาการก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อตามกระแส ตามข้อมูลที่ได้ โดยขาดการติดตามที่เหมาะสม และสถาบันเองก็ต้องมีทุนสนับสนุนการพัฒนาสถาบัน และทุนวิจัยซึ่งเป็นจำนวนมากที่ได้จากบริษัทยา

นักวิชาการอาวุโสจะเป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัทเหล่านี้ โดยเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญทั้งในการเป็นผู้ใช้ยาและผลิตภัณฑ์นั้น และกลายเป็นตัวอย่างให้แพทย์ที่เป็นลูกศิษย์หรือแพทย์ที่ให้ความเชื่อถือทำตาม และบริษัทจะเรียกบุคคลเหล่านี้ว่าเป็น “Product champions”

...

โดยบุคคลเหล่านี้จะมีอภิสิทธิ์ในสถาบัน ในสมาคมผู้เชี่ยวชาญ และได้รับความเชื่อถือจาก บรรณาธิการของวารสารต่างๆ และจนกระทั่งถึงการที่ปิดบังไม่ยอมให้มีการเปิดเผยเผยแพร่ข้อมูลของการที่ยาไม่ได้มีประโยชน์จริงหรือมีผลข้างเคียงมากกว่าที่ได้แสดงไว้ตอนแรก

บุคคลอาวุโสเหล่านี้ ที่ทำการวิจัยในมนุษย์ ขณะที่ยายังไม่ได้สู่ท้องตลาด จะได้รับข้อมูลทางการศึกษาวิจัยโดยตรงจากบริษัทยาทั้งนี้โดยไม่เห็นข้อมูลดิบจริงๆ

ในบทความนี้มีข้อความที่เปิดเผยและเปิดโปงอย่างรุนแรงที่แสดงถึงวิกฤติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในทางการแพทย์อย่างเดียวมาอ้างอิงโดยมิได้ตระหนักถึงที่มาของข้อมูลและเชื่อการวิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น

อีกเรื่องที่นอกเหนือจากบทความนี้เป็นเรื่องของวัคซีนโควิด ที่มีการฟ้องสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ ที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลผลแทรกซ้อนของวัคซีนโควิด จนกระทั่งศาลสั่งให้บริษัทวัคซีนเปิดเผยข้อมูลของผลแทรกซ้อนดังกล่าว และเป็นที่มาของ Pfizer documents

เรื่องผลข้างเคียงและแทรกซ้อนดังกล่าวถึงเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ในเดือนมีนาคมของปี 2565 นี้เอง ทั้งที่เริ่มใช้วัคซีนจริงตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563

ทั้งนี้ จากการเรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสจากกลุ่ม public health pro fessions and doctors for transparency (http://phmpt.org) ซึ่งมีแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากมาย

รายงานนี้เป็นเพียงการรวบรวม 3 เดือน เท่านั้น ที่เริ่มมีการใช้วัคซีนไฟเซอร์ จาก 1 ธันวาคม 2020 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2021 โดยหลังมีการใช้วัคซีนมีผู้ได้รับผลกระทบมาก โดยเป็น case reports ถึง 42,086 ราย ตาย 1,223 ราย

สามารถอ่านรายละเอียดจาก phmpt ได้และเป็นเอกสารหลายร้อยหน้า โดยได้บรรยายถึงลักษณะของอาการที่เกิดขึ้นจากวัคซีนหลายรูปแบบและการเสียชีวิต.

...

หมอดื้อ