ฮีตสโตรก (Heat Stroke) มักเกิดกับเราเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง อากาศร้อนจนเกินไป อาการที่พบเห็นบ่อยคือเป็นลมกลางแดด ซึ่งเกิดจากร่างกายขาดน้ำ เพราะระบบร่างกายทำงานผิดปกติ ดังนั้นเมื่อต้องออกไปเจอแดด ควรสวมเสื้อผ้าป้องกันความร้อน หรือหลีกเลี่ยงการปะทะแดดจ้า เพื่อป้องกันการหมดสติ และหัวใจเต้นผิดจังหวะจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการฮีตสโตรก (Heat Stroke)

เมื่อพบเห็นผู้ป่วยที่เป็นลมในสถานที่แดดจ้าๆ อาจมีสาเหตุมาจากผู้ป่วยอยู่กลางแดดนานๆ และมีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ต้องรีบปฐมพยาบาลเพื่อป้องกันการชักและหมดสติ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการเป็นลม คือ ผู้ป่วยอยู่ในสถานที่อากาศร้อน ไม่มีลมช่วยถ่ายเทความร้อน ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคลมแดด ได้แก่

  • ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง เช่น เกษตรกร, คนงานก่อสร้าง, นักกีฬา เป็นต้น
  • ผู้สูงอายุ เด็ก เพราะมีร่างกายที่สูญเสียความร้อนที่ง่ายกว่าวัยรุ่น
  • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, ผู้ป่วยพาร์กินสัน และผู้ป่วยโรคอื่นที่ต้องใช้ยาโรคประจำตัว

...

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยฮีตสโตรก

ฮีตสโตรกเกิดได้ในทุกที่ ทุกเวลา และมีอันตรายถึงชีวิต ผู้พบเห็นควรปฐมพยาบาลผู้ป่วย ดังนี้

1. พาเข้าที่ร่ม
2. คลำดูชีพจรว่ายังรู้สึกตัวหรือหายใจผิดปกติหรือไม่
3. ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเยอะๆ
4. ใช้น้ำแข็ง หรือให้ผู้ป่วยนอนลงบน Cool Blanket คือผ้ายางใส่น้ำแข็ง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
5. เช็ดตัวด้วยวการเช็ดสวนทางเดียว เช็ดเข้ามาทางหัวใจ

วิธีการป้องกันฮีตสโตรก

หากต้องเดินทางไปกลางแจ้ง หรืออยู่บ้านคนเดียว ก็ไม่ควรอยู่ที่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ระหว่างวันเมื่อเจอแสงแดดจ้าๆ ควรป้องกันตัวเอง ดังนี้

1. สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกาย ใส่หมวกหรือกางร่ม เมื่อต้องเดินกลางแดด
2. ดื่มน้ำให้มากๆ ทานน้ำแข็ง หรือไอศกรีม ช่วยให้ร่างกายเย็น
3. เมื่อรู้ว่ามีโรคประจำตัว ไม่ควรออกไปอยู่กลางแดดนานเกินไป
4. อย่าอยู่ในห้องปิด เพราะอากาศจะไม่ถ่ายเท เกิดความร้อนสะสม

ช่วงฤดูร้อน โรคลมแดด หรือ ฮีตสโตรก มักเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าฤดูอื่น ควรเตรียมน้ำดื่มให้เพียงพอ นอกจากมนุษย์แล้ว สัตว์เลี้ยงก็เป็นฮีตสโตรกได้ ควรป้องกันด้วยการปรับพื้นที่บ้านให้ร่มรื่น และจัดเตรียมน้ำดื่มให้สัตว์เลี้ยงเดินหาได้ง่าย

ที่มา : www.rama.mahidol.ac.th