• Future Perfect
  • Articles
  • "อุบลราชธานี-แม่ฮ่องสอน-เลย-สุรินทร์" คว้ารางวัล "จังหวัดสะอาด" ปี 2567

"อุบลราชธานี-แม่ฮ่องสอน-เลย-สุรินทร์" คว้ารางวัล "จังหวัดสะอาด" ปี 2567

Sustainability

ความยั่งยืน9 ส.ค. 2567 15:47 น.

"อุบลราชธานี-แม่ฮ่องสอน-เลย-สุรินทร์" คว้ารางวัล "จังหวัดสะอาด" ปี 2567 ด้านมหาดไทย ย้ำแผนปฏิบัติการฯ 3 ระยะ มุ่งขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนให้เป็นรูปธรรม

วันที่ 9 ส.ค. 67 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ผลการคัดเลือกจังหวัดที่มีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2567 ซึ่งในปีนี้คณะกรรมการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ได้พิจารณาจังหวัดที่มีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนยั่งยืน (กลุ่มต้นแบบ) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ในกลุ่มทั่วไปซึ่งประกอบด้วยกลุ่มจังหวัดขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จังหวัดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเลย และจังหวัดสุรินทร์ ตามลำดับ

นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2566 โดยมีกรอบการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จำนวน 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะและการส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยใช้หลักการ 3 ช : ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ 3 Rs : Reduce Reuse Recycle ซึ่งได้แจ้งเกณฑ์การประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2567 โดยกำหนดให้จังหวัดรวบรวมผลการดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566) และจัดทำเอกสารผลงานที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัด และส่งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อตรวจประเมินและคัดเลือกจังหวัดที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2567 แล้ว

ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อว่า คณะกรรมการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2567 ได้จัดการประชุมคณะกรรมการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2567 ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 เพื่อพิจารณาผลการตรวจประเมินและคัดเลือกจังหวัดที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2567 โดยมีผลการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินเพื่อจัดลำดับ ซึ่งจังหวัดที่มีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” (กลุ่มจังหวัดต้นแบบ) การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนยั่งยืน จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จังหวัดลำพูน และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดสตูล

"นอกจากนี้ยังได้มีการพิจารณาผลการคัดเลือกจังหวัดที่มีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” กลุ่มการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” (กลุ่มทั่วไป) 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มจังหวัดขนาดเล็ก จำนวน 5 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต และรางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท 2) กลุ่มจังหวัดขนาดกลาง จำนวน 5 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดเลย รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จังหวัดลำปาง รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย และรางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดตรัง 3) กลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ จำนวน 5 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม และรางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดลพบุรี" นายสุทธิพงษ์ กล่าว

นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทย ได้ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึงปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายให้จังหวัดบูรณาการกลไกความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ คือ ภาครัฐ ภาคศาสนา ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน ทุกระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหมู่บ้าน/ชุมชน โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะและการส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด กลางทาง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บและขนขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

สำหรับแนวทางในการบริหารจัดการขยะนั้นทุกพื้นที่ มีการแบ่งการจัดการขยะออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ “ระยะต้นทาง” โดยขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมทุกครัวเรือนเข้าร่วมเครือข่าย “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” (อถล.) จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำ “ขยะบรรจุภัณฑ์” กลับมาใช้ใหม่ จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และสุ่มตรวจสอบการดำเนินงาน

ต่อมา “ระยะกลางทาง” องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้มีพื้นที่ และถังขยะ หรือ ภาชนะที่ใช้รองรับขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทในที่สาธารณะ ในสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่ง พร้อมมีการจัดเก็บขนขยะมูลฝอยแยกประเภท ขนของเสียอันตรายชุมชนไปยังจุดรวบรวมของเสียอันตรายของจังหวัด และหมู่บ้าน/ชุมชนมีการติดตั้งถังขยะ หรือจุดรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อชุมชน

และ “ระยะปลายทาง” ส่งเสริมสนับสนุนให้ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง โดยการรวมกลุ่มพื้นที่การจัดการมูลฝอย (Clusters) และให้มีการขนขยะไปยังเจ้าภาพของกลุ่มพื้นที่ สำหรับของเสียอันตรายชุมชนและมูลฝอยติดเชื้อชุมชนให้ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง.

SHARE
00:51

"เมฆสีขาว" ลอยไหลข้ามเทือกเขาตาง๊อก จ.สระแก้ว ปรากฏการณ์ธรรมชาติสุดงดงาม

Follow us

  • |