• Future Perfect
  • Articles
  • CPAC พลิกโฉมใหม่ใส่ใจโลกด้วย "คอนกรีตรักษ์โลก" พร้อมบรรลุเป้าหมาย Net Zero

CPAC พลิกโฉมใหม่ใส่ใจโลกด้วย "คอนกรีตรักษ์โลก" พร้อมบรรลุเป้าหมาย Net Zero

Sustainability

ความยั่งยืน21 มิ.ย. 2567 07:55 น.

CPAC พลิกโฉมใหม่ใส่ใจโลกด้วย "คอนกรีตรักษ์โลก" CPAC Low Carbon เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero พร้อมสร้างสังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน 

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วและรุนแรง ส่งผลให้ในปัจจุบันโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค "ภาวะโลกเดือด" (Global Boiling) โดยต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างนั้นคือส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิต 

CPAC ในฐานะผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จและคอนกรีตสำเร็จรูประดับแถวหน้าของเมืองไทย ที่มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรมและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว โดยเล็งเห็นถึงปัญหานี้เป็นสำคัญ และจากความตั้งใจที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดผลกระทบทั้งจากฝุ่น PM 2.5 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด ตามการดำเนินธุรกิจภายใต้ เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน ที่มีนโยบายด้านผลิตภัณฑ์สีเขียวมุ่งพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

ทั้งนี้ จึงเดินหน้าพลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหม่ด้วย CPAC Low Carbon คอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค ภายใต้คอนเซปต์ CPAC โฉมใหม่ใส่ใจโลก ที่สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างน้อย 25 กิโลกรัมต่อ 1 คิว เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ได้ถึง 2.5 ต้น (เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคอนกรีตที่ใช้ปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี คาร์บอนต่ำที่ผสมเถ้าลอยทดแทนปูนซีเมนต์กับคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1. ตอกย้ำจุดยืนสู่การเป็น Green Construction อย่างแท้จริง

สำหรับตลอดระยะเวลากว่า 70 ปีในการดำเนินธุรกิจ CPAC มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมสีเขียวตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่กระบวนการผลิตสีเขียว (Green Process) ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) ไปจนถึงการก่อสร้างสีเขียว (Green Construction) ซึ่งจะสามารถช่วยยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

ส่วนการพลิกโฉมแบรนด์ใหม่ในครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการผลักดันให้สามารถเดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero ในปี 2050 ตามเป้าหมายที่วางไว้ ความท้าทายในครั้งนี้ CPAC ไม่ได้มองเฉพาะในแง่ของการพัฒนาสินค้า "คอนกรีตคาร์บอนต่ำ" เท่านั้น แต่ยังใส่ใจในทุกๆ รายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ฉลากบนรถโม่ อาทิ การพิมพ์ด้วยน้ำหมึก HP-Latex ที่มีส่วนประกอบของน้ำมากถึง 65% การใช้สติกเกอร์และฟิล์มจาก 3M ประเภทเคลือบ non-PVC ที่ผลิตจากพืช เช่น ข้าวโพด ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ฯลฯ 

อีกทั้งเรายังให้ความสำคัญถึงกระบวนการจัดส่งสินค้าตามแนวคิดการขนส่งสีเขียว (Green Fleet) ด้วยการนำรถโม่พลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้ในการจัดส่งคอนกรีต ซึ่งเมื่อเทียบกับรถโม่ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซลแล้วสามารถลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 และ PM 10 ได้ถึง 45 กรัม ต่อการขนส่ง 1 เที่ยว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) กลุ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ถึง 26.5 ตัน/ปี/คัน หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ได้เพิ่มขึ้น 2,800 ต้น/ปี/คัน ทั้งนี้ ก็เพื่อลดมลพิษให้กับสังคมและชุมชนโดยรอบ

สำหรับ CPAC Low Carbon คอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค นอกจากจะสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลดโลกร้อน ยังมีความโดดเด่นสามารถตอบโจทย์การใช้งานแต่ละหน้างานได้เทียบเท่าหรือดีกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น "คอนกรีตชายเล ซีแพค" และ "คอนกรีตมารีน ซีแพค" สำหรับพื้นที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ที่เน้นงานป้องกันโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างใกล้ชายฝั่งทะเล "คอนกรีตซีแพค ซูเปอร์ ทนดินเค็ม" สำหรับพื้นที่ภาคอีสานที่เป็นพื้นที่ดินเค็ม สามารถต้านทานการซึมผ่านของคลอไรด์และซัลเฟตที่สะสมใต้ดินได้เป็นอย่างดี โดยผ่านการรับรองจาก 3 ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 

1. SCG Green Choice ฉลากสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานของ เอสซีจี ที่ให้ความสำคัญเรื่องประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน (Climate Resilience), ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และยืดอายุการใช้งาน (Circularity) และส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี (Well-Being)              

2. Carbon Footprint Reduction of Product Label ฉลากแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งฉลากมีอายุการรับรองเป็นเวลา 3 ปี โดยคอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพคได้รับรองมาตรฐานกำลังอัดของคอนกรีตตั้งแต่ 180-650 ksc. (กำลังอัดคอนกรีตกิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร)  

3. Carbon Footprint Reduction Label ฉลากแสดงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเปรียบเทียบคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ในปีปัจจุบันกับปีฐานโดยคอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพคได้รับรองมาตรฐานกำลังอัดของคอนกรีตตั้งแต่ 180-650 ksc. (กำลังอัดคอนกรีตกิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร) (ยกเว้นกำลังอัด 600 ksc.) 

อย่างไรก็ตาม การมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 ไม่ใช่แค่ภารกิจภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในการขับเคลื่อนความยั่งยืน เพื่อคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของ CPAC ที่สามารถยกระดับมาตรฐานวงการก่อสร้างของประเทศไทย เพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง.

SHARE

Follow us

  • |