• Future Perfect
  • Articles
  • เช็กแนวโน้ม "การเปลี่ยนแปลงดัชนีความร้อน" ในไทย ตลอดช่วง 42 ปีที่ผ่านมา

เช็กแนวโน้ม "การเปลี่ยนแปลงดัชนีความร้อน" ในไทย ตลอดช่วง 42 ปีที่ผ่านมา

Sustainability

ความยั่งยืน13 พ.ค. 2567 10:04 น.

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เผย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดัชนีความร้อน (Heat Index) ในไทย ช่วงปี ช่วงปี ค.ศ. 1975-2017

วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 มีรายงานว่า กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อความเรื่อง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดัชนีความร้อน (Heat Index) ในประเทศไทย ระบุว่า

ในช่วงที่ผ่านมานี้ สภาพอากาศร้อนจัดได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ได้มีการกล่าวถึง "ดัชนีความร้อน" หรือที่เรียกว่า "Heat Index" ให้เกิดการรับรู้สู่สาธารณะไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

ดัชนีความร้อน คำนวณได้จากอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึง "อุณหภูมิที่ร่างกายรู้สึกได้ ณ ขณะนั้น (Feel like)" ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับบ่งชี้ความเสี่ยงที่ร่างกายได้รับผลกระทบจากความร้อน มากกว่าการใช้ค่าอุณหภูมิสูงสุดเพียงตัวแปรเดียว

ในเบื้องต้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เกณฑ์ระดับผลกระทบต่อสุขภาพจากดัชนีความร้อนของประเทศไทยนั้น ได้มีการปรับช่วงค่าในปี 2567 นี้ แต่ยังคงไว้ซึ่ง 4 ระดับ 4 เฉดสี ทั้งนี้ แต่ละระดับนั้นจะกล่าวถึงโรค อาการ/การเจ็บป่วยจากความร้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยเริ่มจากรุนแรงน้อยไปสู่รุนแรงมากและอาจร้ายแรงจนก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้

ระดับผลกระทบต่อสุขภาพจากดัชนีความร้อน 

  • เฝ้าระวัง อดีต : 27-32 / ปัจจุบัน : 27.0-32.9
  • เตือนภัย อดีต : 32-41 / ปัจจุบัน :  33.0-41.9
  • อันตราย อดีต : 41-54 / ปัจจุบัน :  42.0-51.9
  • อันตรายมาก อดีต : >54 / ปัจจุบัน : ≥52

บทความนี้ขอแชร์ผลงานวิชาการของนักวิจัย ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่ได้วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของดัชนีความร้อนในประเทศไทย โดยใช้ฐานข้อมูลภูมิอากาศ (อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์รายวัน) จากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา 74 สถานี ช่วงปี ค.ศ. 1975-2017 โดยสรุป พบว่า

  • ดัชนีความร้อนในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่มีค่าระหว่าง 27-35°C [รูปที่ 1]
  • เดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม เป็นช่วงที่ดัชนีความร้อนสูงกว่าระดับเตือนภัย (32 - 41°C) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาคอย่างมีนัยสำคัญ (เกณฑ์เก่า) [รูปที่ 2]
  • พื้นที่ภาคกลางและตะวันออกมีการเพิ่มขึ้นของดัชนีความร้อนสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ [รูปที่ 3]
  • ดัชนีความร้อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอัตรา 0.53°C/decade หรือเพิ่มขึ้น 2.3°C ในรอบ 43 ปีที่ผ่านมา [รูปที่ 4]
  • ค่าดัชนีความร้อนในช่วงสองคาบเวลา ค.ศ. 1976-1996 และ ค.ศ. 1997-2017 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [รูปที่ 5]
  • การเปลี่ยนแปลงความถี่ของดัชนีความร้อน เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก และยังพบในภาคกลางบางสถานี [รูปที่ 6]
  • ดัชนีความร้อนที่เพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปลี่ยนแปลงประชากรและสุขภาพบางตัวแปร อาทิเช่น ประชากรรวม ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 

บ่งชี้ถึงความเสี่ยงและผลกระทบที่เพิ่มขึ้นต่อสุขภาพของคนไทย กลุ่มแรงงาน และนักท่องเที่ยวต่างชาติจากสภาพอากาศร้อนจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย อ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่นี่ (คลิก

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

SHARE
00:51

"เมฆสีขาว" ลอยไหลข้ามเทือกเขาตาง๊อก จ.สระแก้ว ปรากฏการณ์ธรรมชาติสุดงดงาม

Follow us

  • |