กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เผยข้อมูล สภาพอากาศสุดขั้วของประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2513-2565 ที่ผ่านมา เกิดในช่วงไหน และแต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไร
วันที่ 29 มีนาคม 2567 เพจเฟซบุ๊ก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้เผยข้อมูล สภาพอากาศสุดขั้วของประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1970-2022 (พ.ศ. 2513-2565) พร้อมระบุว่า ปัจจุบันเราจะเห็นข่าวเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงสุดขั้วเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นพายุหมุนเขตร้อน ฝนตกรุนแรง น้ำท่วม ไปจนถึงคลื่นความร้อนและภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์
ซึ่งปรากฏการณ์นี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยมีภาวะโลกร้อนเป็นตัวขับเคลื่อน ทำให้รูปแบบสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศต่างๆ อีกด้วย ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วด้วยเช่นกัน โดยวิเคราะห์จากข้อมูลตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา 65 สถานี ดังนี้
สภาพอากาศแบบผสมระหว่างอากาศร้อนและฝนตกหนัก
- ภาคเหนือ : เกิด 2 เหตุการณ์/ปี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เกิด 2 เหตุการณ์/ปี
- ภาคกลาง : เกิด 2 เหตุการณ์/ปี
- ภาคตะวันออก : เกิด 2 เหตุการณ์/ปี
- ภาคใต้ : เกิด 1 เหตุการณ์/ปี
โดย CHPEs (อากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส บวกกับมีปริมาณฝนมากกว่า 35.1 mm.)ในภาพรวมประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (0.26 เหตุการณ์/ทศวรรษ) CHPEs ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม
จำนวนวันที่สภาพอากาศร้อน (อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส) เฉลี่ย
- ภาคเหนือ : 89 วัน/ปี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 70 วัน/ปี
- ภาคกลาง : 97 วัน/ปี
- ภาคตะวันออก : 48 วัน/ปี
- ภาคใต้ : 23 วัน/ปี
โดยจำนวนวันที่สภาพอากาศร้อน ในภาพรวมของประเทศไทย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (7 วัน/ทศวรรษ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
จำนวนวันที่ฝนตกหนัก (ปริมาณฝนมากกว่า 35.1 mm.) เฉลี่ย
- ภาคเหนือ : 30 วัน/ปี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 10 วัน/ปี
- ภาคกลาง : 9 วัน/ปี
- ภาคตะวันออก : 17 วัน/ปี
- ภาคใต้ : 16 วัน/ปี
โดยจำนวนวันที่ฝนตกหนักในภาพรวมของประเทศไทย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (0.25 วัน/ทศวรรษ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม