• Future Perfect
  • Articles
  • นักวิจัยชาวสวิสคิดค้น ฟองน้ำ ที่สามารถเปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้กลับมามีมูลค่าได้

นักวิจัยชาวสวิสคิดค้น ฟองน้ำ ที่สามารถเปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้กลับมามีมูลค่าได้

Sustainability

ความยั่งยืน22 มี.ค. 2567 15:23 น.

นักวิทยาศาสตร์จาก ETH Zurich คิดค้น ฟองน้ำ สามารถเปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นทองคำ ที่กลับมามีมูลค่า และนำมารีไซเคิลเป็นส่วนประกอบของเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ โดยไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่เสียหาย เป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และมีสารพิษต่างๆ รวมอยู่มากมาย แต่รู้หรือไม่ว่าในซากขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีสารประกอบที่เป็น ‘ทองคำ’ ซ่อนอยู่ เนื่องมาจากทองคำส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากทองคำเองนั้นมีคุณสมบัติที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นขยะที่สร้างประโยชน์ สร้างมูลค่า ที่สามารถนำมาใช้ต่อยอดได้ ซึ่งเป็นการร่นระยะเวลาในการทำลายสภาพแวดล้อมได้เพิ่มมากขึ้นของขยะชนิดนี้

ล่าสุด มีการศึกษาค้นคว้าวิธีในการนำ ฟองน้ำ มาแปรรูปเพื่อดูดซับทองคำ จากเมนบอร์ดเก่า ซึ่งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาใช้ต่อบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นใหม่ได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์โทรศัพท์ และแผงโซลาร์เซลล์

กระบวนการนี้เกิดจากการศึกษาค้นคว้าของ ETH Zurich ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้คิดค้นฟองน้ำที่มาจากเวย์ (whey) โปรตีนในน้ำนมที่เป็นของเสียส่วนใหญ่จากอุตสาหกรรมอาหาร โดยใช้ความร้อนมาสลายเวย์โปรตีนจนกลายเป็นเส้นใยเล็กๆ ที่เรียกว่า ‘นาโนไฟบริล’ โดยใช้เส้นใยนี้มาประกอบรวมกันเป็นฟองน้ำอีกทีนึง

พวกเขาได้นำเมนบอร์ดเก่า จำนวนทั้งหมด 20 ตัว มาทดลอง โดยนำส่วนประกอบที่เป็นเหล็กออก ก่อนนำไปละลายในกรด และนำฟองน้ำจากนาโนไฟบริลลงไปแช่ไว้ในสารละลายนี้ โดยตัวฟองน้ำนี้จะดูดเศษทองที่ไม่ย่อยสลายไปมารวมไว้ โดยเมนบอร์ดเก่า 20 ตัวนี้ สามารถดูดซับทองคำได้ 450 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ถึง 91% (22 กะรัต)

การศึกษาค้นคว้านี้ จะเป็นตัวช่วยอย่างมากในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นปัญหา ซึ่งมีจำนวนรวมเท่ากับ 50 ล้านตันต่อปี เฉลี่ยเท่ากับ 7 กิโลกรัมต่อคนบนโลก และมี 1ใน 5 ของจำนวนที่กล่าวมานี้ถูกนำไปรีไซเคิล

แน่นอนว่านอกจาก ทองคำ ที่กล่าวมาแล้ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์นี้ยังมีสารที่เป็นโลหะ โคบอลต์ และทองแดงที่สามารถนำไปสร้างมูลค่าต่อได้ รวมๆ แล้วเป็นมูลค่า 62.5 ล้านดอลลาร์ต่อปี (2,274,250,000 บาท) 

อย่างไรก็ตามวิธีการกู้คืนเศษซาก หรือสารต่างๆ ในขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นในปัจจุบันยังต้องแลกมาด้วยพลังงานต่างๆ เป็นจำนวนมาก และสารพิษที่อันตรายเช่นกัน 

การศึกษาค้นคว้านี้จึงกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และนำไปต่อยอดได้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีหลายๆ บริษัทเทคโนโลยี กำลังค้นคว้า และควบคุมต้นทุนในการนำขยะจากอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ใหม่อีกครั้ง ด้วยการรบกวนการใช้พลังงาน และก่อสารพิษที่น้อยลงให้มากที่สุด เช่น การใช้จุลินทรีย์ที่มาจากธรรมชาติ หรือสารเคมีที่มีราคาไม่แพง และส่งผลกระทบที่น้อยลง

ข้อมูล : worldeconomicforum

ภาพ : istock

SHARE
06:42

เปิดสาเหตุสาวโพสต์ลูกหาย เพราะถูกบุคคลปริศนาแชทไลน์ข่มขู่ จึงสร้างเรื่องขึ้นมา

Follow us

  • |