• Future Perfect
  • Articles
  • ชี้พิกัดจุดทิ้ง "ขยะ E-Waste" เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

ชี้พิกัดจุดทิ้ง "ขยะ E-Waste" เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

Sustainability

ความยั่งยืน29 พ.ย. 2566 15:00 น.
  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Waste) หรือ (E-waste) หรือที่เรียกกันว่า WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment)
  • E-waste ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถูกจำแนกออกเป็น 10 ประเภท
  • ถังขยะ e-Waste ถูกติดตั้งที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 50 เขต

เนื่องด้วยในยุคปัจจุบัน เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า "โทรศัพท์มือถือ" หรือ "สมาร์ทโฟน" นั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว มีรุ่นใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะ นอกจากจะแข่งขันกันด้วยเรื่องของคุณภาพแล้ว ราคายังสามารถจับต้องได้ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่มีตัวเลือกเยอะมากจริงๆ จนทำให้อดนึกถึง "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ไม่ได้ เพราะขยะเหล่านี้ ถือเป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ 

เมื่อพูดถึง ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Waste) หรือ (E-waste) หรือที่เรียกกันว่า WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment) หมายถึง ซากเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้า หรือสนามแม่เหล็กในการทำงานที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน (Off-spec) หรือหมดอายุการใช้งานหรือล้าสมัย ซึ่งซากอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกทิ้งเป็นขยะ หรือส่งต่อไปยังร้านรับซื้อของเก่า รถรับซื้อของเก่า ที่จะได้นำไปคัดแยกชิ้นส่วน และนำไปกำจัด 

ตามระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษซากเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ WEEE (Waste from Electrical and Electronic Equipment) ที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ได้จำแนกขยะอิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่

  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ภายในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า ฯลฯ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กภายในครัวเรือน เช่น เตารีด เครื่องดูดฝุ่น หม้อหุงข้าว เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องเป่าผม ฯลฯ 
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคภายในบ้าน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป 
  • เครื่องดนตรีไฟฟ้า ฯลฯ
  • อุปกรณ์ให้แสงสว่าง เช่น หลอดไฟประเภทต่างๆ
  • เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สว่านไฟฟ้า เลื่อยไฟฟ้า ฯลฯ
  • ของเล่นหรืออุปกรณ์กีฬาที่ใช้ไฟฟ้า 
  • อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์
  • เครื่องมือตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น เครื่องตรวจจับควัน เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ฯลฯ
  • เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ และตู้ ATM

ขณะที่ สำนักสิ่งแวดล้อม ได้จัดตั้งถังขยะ e-Waste ซึ่งถูกติดตั้งที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต เขตละ 1 จุด และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า และดินแดง แห่งละ 1 จุด รวมเป็น 52 จุด เพื่อให้ทุกคนสามารถทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยที่ถังรับ 

สำหรับขยะ e-Waste ที่รับทิ้ง ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด, ลิเทียมแบตเตอรี่ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ, แล็ปท็อป, ตู้เย็น, คอมพิวเตอร์, รถยนต์ไฟฟ้า, ตลับหมึกเครื่องพิมพ์

ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่รับ ได้แก่ จอมอนิเตอร์รุ่นเก่า หรือจอซีอาร์ที ที่มีหลอดไอโอโดส, ถ่านอัลคาไลน์, หลอดไฟ โดยการรวบรวม e-Waste ครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนนโยบายส่งเสริมการแยกทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นขยะอันตรายจากชุมชน และซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนำไปรีไซเคิล หรือกำจัดอย่างถูกวิธี

ทั้งนี้ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อม กับ บริษัท โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ จำกัด และ บริษัท คิดคิด จำกัด ที่เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ และนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี.

SHARE

Follow us

  • |