• Future Perfect
  • Articles
  • ชป.ปรับเปลี่ยนภารกิจ ร่วมขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ

ชป.ปรับเปลี่ยนภารกิจ ร่วมขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ

Sustainability

ความยั่งยืน26 ต.ค. 2566 07:15 น.

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า จากการที่กรมชลประทานได้กำหนดนโยบายมุ่งเน้นการทำงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) มีเป้าหมายให้กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2580 ฉะนั้นนอกจากภารกิจเรื่องระบบชลประทานและน้ำใช้ทางการเกษตรของพี่น้องเกษตรกรแล้ว อีกภารกิจคือ ทำเกษตรกรให้มีความมั่นคงทางน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยพัฒนาให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์

“การนำพากรมชลประทานให้เป็นองค์กรอัจฉริยะได้นั้น ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพทันสมัยต่อบริบท และสถานการณ์ในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำ โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม อันสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล BCG Model ที่มีเป้าหมายให้ภาคการเกษตรมีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น และมาตรฐานสินค้าเกษตรสูงขึ้น”

รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานจึงได้นำร่องโครงการชลประทานอัจฉริยะในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบจัดการการเพาะปลูกอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์มด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และการบริหารจัดการน้ำด้วยระบบ Internet of thing (IoT) พร้อมกับดำเนินการจัดรูปแปลงของเกษตรกร และปรับปรุงระบบส่งน้ำในไร่นาให้เป็นแบบอัตโนมัติ เพื่อบริหารจัดการน้ำและปุ๋ยสำหรับพืชตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ในพื้นที่จัดการน้ำเพื่อการเกษตรนำร่อง 337 ไร่ ตามแนวคิดการจัดการน้ำแบบองค์รวม (Total Water Management) ที่เน้นถึงการจัดการตามความต้องการของผู้ใช้น้ำ โครงสร้างพื้นฐานระบบชลประทาน และแหล่งทรัพยากรน้ำในพื้นที่ รวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

“นอกจากนี้ กรมชลประทานได้ส่งเสริมการทำนาแบบเปียกสลับแห้งในพื้นที่ อันจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการใช้น้ำลงได้ประมาณ 30-50% และจากการดำเนินการในพื้นที่โครงการนำร่อง กรมชลประทานมีแผนงานที่จะขยายผลไปสู่ทุกพื้นที่ชลประทาน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำของโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาเดิมของกรมชลฯ โดยใช้เทคโนโลยีการวัดระยะไกลและระบบ IoT เพื่อช่วยในการควบคุมปริมาณน้ำ ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้น้ำตั้งแต่หัวงานชลประทานไปจนถึงแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำในภาคการเกษตรต่อไปในอนาคต และสร้างรายได้ให้เกษตรกรสูงขึ้น 3 เท่าภายใน 4 ปี” นายวิทยา กล่าว.

คลิกอ่านคอลัมน์ “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม

SHARE
02:26

นาทีช็อก! “หนุ่มจีน” ลื่นตกหน้าผา ระหว่างเดินป่าฝนตก กล้อง 360 องศา จับภาพนาทีเฉียดตายไว้ได้

Follow us

  • |