ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐาน 15 พื้นที่ อยู่ในเกณฑ์สีส้ม เริ่มกระทบสุขภาพ แนวโน้มสูงขึ้นถึง 28 ต.ค.
วันที่ 24 ต.ค. 66 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM 2.5 เมื่อเวลา 05.00-07.00 น. โดยตรวจวัดได้ 18.1-54.4 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 32.5 มคก./ลบ.ม. ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 15 พื้นที่ ได้แก่
1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 54.4 มคก./ลบ.ม.
2.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 49.1 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 46.8 มคก./ลบ.ม.
4.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 46.1 มคก./ลบ.ม.
5.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 42.0 มคก./ลบ.ม.
6.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
8.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 41.6 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 41.0 มคก./ลบ.ม.
10.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 40.7 มคก./ลบ.ม.
11.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.
12.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 38.9 มคก./ลบ.ม.
13.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 38.9 มคก./ลบ.ม.
14.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 38.5 มคก./ลบ.ม.
15.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 38.2 มคก./ลบ.ม.
ทั้งนี้ ค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ สำหรับบุคคลทั่วไปควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์
ขณะที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) ในช่วงวันที่ 24-28 ต.ค. 2566 การระบายอากาศไม่ดีถึงอ่อน อาจส่งผลต่อค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่สูงขึ้นในบางพื้นที่ และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่
จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร.