• Future Perfect
  • Articles
  • เชฟรอนฯ ร่วมศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ เดินหน้าสร้างป่าชุมชน เพิ่มพื้นที่ซับคาร์บอน

เชฟรอนฯ ร่วมศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ เดินหน้าสร้างป่าชุมชน เพิ่มพื้นที่ซับคาร์บอน

Sustainability

ความยั่งยืน29 ก.ย. 2566 12:22 น.

"เชฟรอนสุขอาสา" ร่วมกับศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ เดินหน้าสร้างผืนป่าชุมชนนครนายก สานการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพิ่มพื้นที่ป่าดูดซับคาร์บอน  

"เชฟรอนสุขอาสา" (Together We Volunteer) กิจกรรมที่จัดขึ้นโดยพนักงานจาก 3 องค์กร ได้แก่ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด บริษัท เชฟรอน (ไทย) จํากัด และ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ นครนายก ในพื้นที่ของนางสาวอุไรวรรณ ใจสงัด มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการปลูกป่า สร้างความรู้และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันปลูกต้นไม้กว่า 500 ต้น ตามแนวคิด "ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง" หรือการปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้ และไม้เศรษฐกิจ ที่นอกจากจะช่วยสร้างพื้นที่สีเขียวที่ช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นปอดให้คนในพื้นที่แล้ว ยังเป็นผืนป่าที่คนในชุมชนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีกสิกรรมธรรมชาติ ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งการทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจาน และการทำน้ำยาอเนกประสงค์

นายอรรจน์ ตุลารักษ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายโครงการร่วมทุน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า เชฟรอน มีเป้าหมายระยะยาวในการจัดหาพลังงานที่สะอาด ปลอดภัย และเชื่อถือได้ให้กับประเทศไทย เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของประเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานที่สะอาดมากขึ้น และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero

โดยกิจกรรมนี้ เป็นการสนับสนุนให้พนักงานและชุมชนมีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่จะช่วยทั้งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มความชื้นในอากาศ เพิ่มออกซิเจน และลดมลพิษในอากาศ โดยนอกจากการปลูกต้นไม้กว่า 500 ต้นในพื้นที่กว่า 30 ไร่ของคุณอุไรวรรณ บุคคลต้นแบบที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ของตัวเองให้เป็นป่าที่สร้างสรรค์ประโยชน์ให้ชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความรู้และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมปลูก อนุรักษ์ และอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน

ด้าน อาจารย์ปัญญา ปุลิเวคินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ กล่าวถึงการสานพลังความร่วมมือว่า ศูนย์ภูมิรักษ์ฯ เน้นหลักสูตรกสิกรรมธรรมชาติที่ ช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยที่ตั้งของศูนย์ภูมิรักษ์ฯ เดิมเป็นผืนดินของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมุ่งพลิกผืนดินแห่งนี้สู่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ผ่านการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า ให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนได้เห็นความสำเร็จที่พิสูจน์ได้จริง ซึ่งแน่นอนว่าการจะพัฒนาศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้นั้น ในฐานะผู้อำนวยการ จึงได้มุ่งผสานพลังความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน เพื่อเผยแพร่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนสู่สังคม สะท้อนความหมายของ "ภูมิรักษ์" ที่หมายถึงผืนแผ่นดินที่รักษาธรรมชาติจากรุ่นสู่รุ่น.

SHARE

Follow us

  • |