• Future Perfect
  • Articles
  • เอสซีไอ อีโค่ จับมือศรีตรังฯ สร้างต้นแบบอุตสาหกรรมสีเขียว จากวัสดุเหลือใช้

เอสซีไอ อีโค่ จับมือศรีตรังฯ สร้างต้นแบบอุตสาหกรรมสีเขียว จากวัสดุเหลือใช้

Sustainability

ความยั่งยืน11 พ.ค. 2566 09:00 น.

Green Circular by CPAC Green Solution ร่วมกับ ศรีตรังโกลฟส์ กู้วิกฤติสิ่งแวดล้อม ผ่านความร่วมมือสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมสีเขียว ต่อยอดและพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน 

วันที่ 10 พ.ค. 2566 จากปัญหาสิ่งแวดล้อม โลกร้อนจากภาวะเรือนกระจก กระทบต่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตโดยรวม บริษัท เอส ซี ไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด ภายใต้แบรนด์ Green Circular by CPAC Green Solution ธุรกิจด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้และให้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม สร้างการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดคุณค่าสูงสุด ผนึกกำลังกับบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ผู้ผลิตถุงมือยาง สร้างต้นแบบอุตสาหกรรมสีเขียว ขยายความร่วมมือด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาการนำวัสดุเหลือใช้และวัสดุพลอยได้อื่นๆ จากอุตสาหกรรมถุงมือยาง มาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในการผลิตซีเมนต์ (Waste to energy) เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำการเสริมสร้างด้านการจัดการทรัพยากร ตามหลักการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)    

นางสาวอุมาพร เจริญศักดิ์ (Waste Circularity Business Director) บริษัท เอส ซี ไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด กล่าวว่า สำหรับการร่วมลงนามกับทาง ศรีตรังโกลฟส์ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดในการร่วมพัฒนา ศึกษา แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน ตามนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมส่งเสริมในเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยผ่านการศึกษาแนวทางการบริหารเศษวัสดุเหลือใช้และวัสดุพลอยได้อื่นๆ จากกระบวนการผลิตถุงมือยาง อาทิ เถ้าลอย ตะกอนจากการบำบัดน้ำเสีย โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนในการจัดการวัตถุดิบ และระบบการบริหารจัดการ เพื่อช่วยลดการจัดการวัสดุเหลือใช้ให้เป็นวัสดุทดแทน หรือพลังงานทดแทน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน 

ด้าน นายวิทย์นาถ สินเจริญกุล กรรมการและประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT กล่าวว่า ผลจากความร่วมมือที่ผ่านมา ระหว่าง STGT และ SRIC ในโครงการเพิ่มมูลค่าวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วได้ผลเป็นอย่างดี โดยตั้งแต่สิงหาคม ปี 2565 บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ฯ ได้ส่งมอบโมลด์หรือแม่พิมพ์ถุงมือที่ผ่านการใช้งานแล้วให้ SRIC ประมาณ 557 ตัน ปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้าส่งมอบที่ 1,600 ตัน

ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันในครั้งนี้ ช่วยเติมเต็มการจัดการวัสดุเหลือใช้ ขยายผลด้วยการศึกษาแนวทางการบริหารเศษวัสดุเหลือใช้และวัสดุพลอยได้อื่นๆ มาศึกษาวิจัยต่อในเรื่อง Waste to Energy และ Waste to Material ช่วยเสริมการช่วยผลักดันการใช้พลังงานสะอาดและตอบโจทย์ แนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ได้อย่างดี.

SHARE
02:54

“รุกยะห์” พิธีกรรมขับไล่ "ญิน" ทางเลือกเยียวยามนุษย์

Follow us

  • |