การจัดตารางหรือโปรแกรมการดูแลสุขภาพฟันให้กับลูกน้อยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดเลย ควรต้องเริ่มเมื่อไหร่ เริ่มอย่างไร และมีขั้นตอนอะไรบ้าง...

การดูแลรักษาฟันของเด็กนั้น ควรเริ่มดูแลตั้งแต่แรกเกิด และไม่จำเป็นต้องรอให้ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นก่อน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นช่วยดูแลสุขภาพฟัน และวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องควบ คู่ไปด้วย

ข้อมูลด้านล่างนี้ สามารถเป็นตัวช่วยคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลรักษาสุขภาพฟันให้กับเด็กได้

เด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เมื่อมีฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น หรือตอนอายุประมาณ 1 ขวบ

เด็กเล็กถึงเด็กวัยเริ่มเข้าโรงเรียน หลังจากที่เด็กได้รับการตรวจสุขภาพฟันในครั้งแรกแล้วนั้น ผู้ปกครองควรพาลูกไปตรวจสุขภาพฟันอีกครั้งทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หากทันตแพทย์พบว่า เด็กมีปัญหาในช่องปาก หรือมีฟันผุ ทันตแพทย์จะนัดให้เด็กมาตรวจสุขภาพฟันบ่อยขึ้น

พบทันตแพทย์ในครั้งแรก การพาเด็กไปพบทันตแพทย์ทั่วไป หรือทันตแพทย์สำหรับเด็กนั้น มีความแตกต่างกันคือ เด็กอาจจะรู้สึกสบายใจ เพลิดเพลินไปกับสีสัน และสิ่งแวดล้อมในห้องตรวจสำหรับเด็กมากกว่าห้องตรวจของทันตแพทย์ทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครองควรพิจารณาทางเลือกให้เหมาะสมกับลูกก่อนการนัดหมาย

การขึ้นของฟันและอายุของเด็ก : (เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ)

...

ข้อควรปฎิบัติ

การเตรียมพร้อมและวางรากฐานให้กับเด็ก ก่อนที่จะพาเด็กไปพบทันตแพทย์นั้น สามารถช่วยให้เด็กเกิดความคุ้นเคย และไม่กลัวเมื่อต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพฟัน

•    กำหนดเวลา : ผู้ปกครองควรเลือกช่วงเวลาของวันที่เหมาะสมให้กับเด็กในการพบทันตแพทย์ครั้งแรก
•    ทัศนคติที่ดี : ควรสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพฟัน เพื่อให้เด็กรู้ว่าการตรวจสุขภาพฟันนั้น จะช่วยให้เด็กมีสุขภาพฟันที่ดี และแข็งแรงเมื่อฟันแท้ขึ้น
•    ให้เด็กมีส่วนร่วม : ผู้ปกครองควรรับฟัง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กบอกเล่าถึงความรู้สึกต่อการรักษาสุขภาพฟัน เพื่อไม่ให้เด็กเกิดอาการกลัวเมื่อพบทันตแพทย์

ต้องเจอกับอะไรบ้าง

เด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 1 ปี

•    ในวัยนี้แนะนำให้เด็กนั่งบนตักผู้ปกครอง ระหว่างที่ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพฟัน
•    ทันตแพทย์จะทำการประเมินสุขภาพของช่องปาก รวมไปถึงวิธีรับประทานอาหาร การดื่มนํ้า และตรวจด้วยว่าเด็กมีฟันผุหรือไม่
•    ทันตแพทย์จะขัดคราบฟันโดยใช้แปรงสีฟันเล็กๆ
•    ทันตแพทย์จะแนะนำการแปรงฟันที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกจากแปรงสีฟัน
•    ทันตแพทย์จะเคลือบฟลูออไรด์ชนิดเจลให้กับเด็ก เพื่อทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น โดยเจลจะมาในถาดครอบฟันที่ขนาดพอดีกับช่องปากของเด็ก
•    ตรวจช่องปากของเด็กว่ามีแผลเปื่อยที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม หรือบริเวณเพดานปากหรือไม่
•    ทันตแพทย์จะสอบถามประวัติ หากเด็กติดนิสัยดูดหัวนมปลอมหรือดูดนิ้ว

เด็กเล็กถึงเด็กวัยเริ่มเข้าโรงเรียน

เด็กในวัยนี้ ควรพบทันตแพทย์บ่อยขึ้น ดังนั้นห้องตรวจสำหรับเด็กที่มีอุปกรณ์ตรวจสุขภาพฟัน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ เพราะสีสันและสิ่งแวดล้อมในห้อง สามารถทำให้เด็กเพลิดเพลินในขณะเข้ารับการตรวจสุขภาพฟัน

•    ทันตแพทย์จะทำการเอ็กซ์เรย์ เพื่อที่จะได้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นภายในตัวฟันและเหงือก
•    ทันตแพทย์จะใช้สารเคลือบฟันที่เป็นพลาสติกบางๆ เคลือบฟันกรามด้านใน ช่วงที่เป็นผิวหน้าบดเคี้ยวอาหาร
•    ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันที่ผุ และถอนฟันที่บกพร่องออก
•    ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำ หากเด็กติดนิสัย เช่น กัดเล็บ ดูดนิ้ว นอนกัดฟัน
•    หากการเรียงตัวของฟันผิดปกติ ทันตแพทย์อาจให้เด็กดัดฟันแบบชั่วคราว (จัดเรียงฟันชนิดถอดได้)
•    หากพบว่ามีฟันที่เรียงตัวผิดปกติมาก ทันตแพทย์จะจัดการเรียงตัวของฟัน เพื่อให้มีการสบฟันที่ดีมีความสวยงาม และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
•    ทันตแพทย์จะทำการประเมิน หากเด็กในวัยนี้มีปัญหาในการสื่อสาร

หลังจากที่ทันตแพทย์ทำการตรวจและประเมินสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กแล้ว พบว่ามีส่วนบกพร่อง ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กมาตรวจและรักษา ทุกๆ 6 เดือน

เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีดูแลสุขภาพฟันและช่องปาก ที่อาจเกิดจากการรับอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ การสูบบุหรี่ การถอนฟันคุดออก หรือการเจาะลิ้น เป็นต้น

ผู้ปกครองควรพาเด็กไปหาหมอฟันสม่ำเสมอทุก 6 เดือน เพื่อดูแลและตรวจสภาพในช่องปาก และวางแผนป้องกันอย่างเหมาะสม ก่อนที่จะเกิดโรคฟันผุ และยังช่วยให้มีประสบการณ์ที่ดีกับการทำฟัน

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
http://www.bangkokhospital.com
http://www.bangkokhealth.com