'นที' เมินAIC ล็อบบี้ยิสต์เฟซบุ๊ก-ยูทูบ ชี้หากินในไทยต้องลงทะเบียน OTT

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

'นที' เมินAIC ล็อบบี้ยิสต์เฟซบุ๊ก-ยูทูบ ชี้หากินในไทยต้องลงทะเบียน OTT

Date Time: 30 มิ.ย. 2560 18:55 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • กสทช.ไม่ขอตอบโต้ AIC ระบุเป็นเพียงล็อบบี้ยิสต์ เฟซบุ๊ก-ยูทูบ ชี้หากแสวงหาประโยชน์ในไทย ก็ควรทำตามกฎหมาย ชวนลงทะเบียน OTT ชี้หลายประเทศก็ใช้กฎนี้ เผยยุโรปจะเริ่มใช้ในสิ้นปีนี้

Latest


กสทช.ไม่ขอตอบโต้ AIC ระบุเป็นเพียงล็อบบี้ยิสต์ เฟซบุ๊ก-ยูทูบ ชี้หากแสวงหาประโยชน์ในไทย ก็ควรทำตามกฎหมาย ชวนลงทะเบียน OTT ชี้หลายประเทศก็ใช้กฎนี้ เผยยุโรปจะเริ่มใช้ในสิ้นปีนี้

จากกรณีที่ กสทช. ประกาศว่า หากผู้ให้บริการแพร่ภาพและเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ OTT (Over The Top) ไม่มาลงทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ รวมถึงบริษัทเอเยนซี่ จะเข้าข่ายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ซึ่งทาง AIC (Asia Internet Coalition) ล็อบบี้ยิสต์ ในนามเฟซบุ๊ก-ยูทูบ มีแถลงการณ์คัดค้านระบุว่า ระเบียบดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจในไทย และอาจขัดต่อข้อตกลงนานาชาติได้

ล่าสุด พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแล ขอไม่ตอบโต้ใดๆ กับ AIC หรือองค์กรล็อบบี้ยิสต์เหล่านี้ แต่เมื่อได้รับหนังสือแล้ว จะส่งเสนอไปยังอนุกรรมการพิจารณาในที่ประชุมสัปดาห์หน้าต่อไป ระหว่างนี้หากเฟซบุ๊ก-ยูทูบ ต้องการเสนออะไรต่อ กสทช. ก็ยินดีที่จะพิจารณา

สำหรับผู้ให้บริการ OTT ที่มาลงทะเบียนแล้ว ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ OTT ในประเทศไทย ก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายประเทศไทย ดังนั้นกฎหมายมีอะไรบ้าง ก็จะต้องปฏิบัติตามทั้งหมด การมาแสวงหาประโยชน์ทางธุรกิจในประเทศ โดยไม่ทำตามกฎหมายของเรา มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว

ทั้งนี้ กสทช. ไม่สามารถที่จะบอกหรือมีความเห็นได้เลยว่า สิ่งนี้ไม่ถูกต้อง เพราะมีเนื้อหาที่เข้าข่ายผิดกฎหมายเต็มไปหมด ทั้งการพนันออนไลน์ เนื้อหาผิดลิขสิทธิ์ ลามกอนาจาร ขายยาผิดกฎหมาย ในส่วนนี้ กสทช. ไม่สามารถดูแลได้เลย มองว่าขณะนี้ ระบบพวกนี้กลายเป็นสื่อแล้ว ไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มเพื่อติดต่อสื่อสาร และเข้าข่ายเป็นกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่

พ.อ.ดร.นที กล่าวอีกว่า หากเฟซบุ๊ก-ยูทูบ ไม่ดำเนินการลงทะเบียน ก็ถือว่าไม่อยู่ในระบบกฎหมายของไทย และหากมาแสวงหาประโยชน์จากเรา มันไม่ยุติธรรม ไปอยู่บ้านใครก็ต้องเคารพกฎของบ้านเขาเป็นเรื่องปกติ และผู้ประกอบธุรกิจที่ดีก็ไม่ควรทำธุรกรรมกับเขาตามหลักธรรมาภิบาล มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นผู้สนับสนุนคนที่ทำไม่ถูกไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย ได้ออกระเบียบนี้ขึ้นมาแล้ว รวมทั้งในยุโรปก็เตรียมออกกฎหมายคล้ายๆ กัน นำมาใช้ปลายปีนี้ด้วยเช่นกัน โดยขณะนี้ผู้ให้บริการ OTT แทบทุกราย ได้เข้ามาดำเนินการลงทะเบียนกับ กสทช. เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียง 3 ราย คือ เฟซบุ๊ก ยูทูบ และเน็ตฟลิกซ์ (netflix) ที่จะเข้ามาติดต่อในช่วงต้นเดือน ก.ค.นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ