วิจัยมาถึง 10 ปีในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ด้านผิวหนังวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและโรงพยาบาลแมสซาชูเสตต์ ได้เผยถึงการค้นพบยาที่สามารถทำให้ผิวกลายเป็นสีแทนได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับแสงแดด เนื่องจากยาตัวนี้จะไปช่วยกระตุ้นเซลล์ที่ผลิตเม็ดสีซึ่งสามารถดูดซึมแสงอัลตราไวโอเลต
ก่อนหน้านี้ได้มีการทดลองกับหนูเมื่อปี 2549 และมีรายงานวิจัยฉบับแรกพบว่าสารที่เรียกว่าฟอร์สโกลิน (forskolin) ทำให้หนูที่มีผิวสีแดงกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มโดยที่ไม่ได้รับรังสียูวี แต่กับผิวมนุษย์นั้นค่อนข้างหย่อนคล้อยไม่ตึงตัวเมื่อเทียบกับสัตว์ นักวิจัยได้แก้ปัญหาโดยการใช้สารประกอบที่แตกต่างกัน โดยการกำหนดเป้าหมายเอนไซม์ที่แตกต่างกันแต่ให้มาบรรจบผลในการนำไปสู่การสร้างเม็ดสี ซึ่งพวกเขาทดสอบสารบนตัวอย่างผิวหนังมนุษย์ที่เก็บไว้ในห้องปฏิบัติการพบว่าผิวมีความคล้ำเข้มลงตามปริมาณที่ใช้
อย่างไรก็ตาม การทดลองดังกล่าวเป็นเพียงการทดสอบกับตัวอย่างผิวหนังมนุษย์ ยังไม่ได้มีการใช้จริงกับผิวหนังบนร่างกายมนุษย์ที่มีชีวิตปกตินักวิจัยเน้นย้ำว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในมนุษย์ โดยคาดหวังว่าจะสามารถนำการค้นพบใหม่นี้ไปพัฒนาเป็นครีมทาผิวให้มีสีแทนในอนาคต ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้.