"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม" โพสต์โชว์ผลงานญี่ปุ่นนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทยหลังห้ามนำเข้าเกือบ 10 ปี จากเหตุระบาดไข้หวัดนก

วันที่ 9 มี..57 ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra ว่า ดิฉันขอแสดงความยินดีร่วมกับผู้ส่งออกไทยและอุตสาหกรรมไก่สดแช่แข็งของไทย ที่สามารถส่งไก่สดแช่แข็งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นได้อีกครั้งค่ะ หลังจากที่ญี่ปุ่นได้มีการห้ามนำเข้าตั้งแต่ช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดนกในไทย ตั้งแต่ปี 2547 ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันของทุกฝ่ายทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่ร่วมกันผลักดันให้ญี่ปุ่นเกิดความมั่นใจในคุณภาพของไก่สดแช่แข็งของไทยอีกครั้ง รวมทั้งการแสดงความตั้งใจระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศที่ได้ร่วมกันพลักดันให้ประเทศญี่ปุ่นกลับมานำเข้า ไก่สดแช่แข็งของไทย ในทุกๆ ครั้งที่ได้มีการพบปะพูดคุยกัน ทั้งในระหว่างการไปเยือนญี่ปุ่นของดิฉัน และการเยือนไทยของท่านนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จนในที่สุดทางประเทศญี่ปุ่นได้ส่งหนังสือยืนยันให้ไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่สดไปญี่ปุ่นได้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา และได้รับการรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่าทางบริษัทเอกชนไทยได้เริ่มมีการทยอยส่งออกเนื้อไก่สดแช่แข็ง ไปแล้วและมีเป้าส่งออกประมาณ 5,000 ตันภายในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยมีแนวโนมที่จะสามารถส่งออกได้สูงถึง 80,000 – 100,000 ตันภายในสิ้นปีนี้ค่ะ

...

สาเหตุสำคัญที่คนญี่ปุ่นยังคงนิยมบริโภคไก่สดของไทยมาจากคุณภาพของไก่สด โดยเฉพาะฝีมือการตัดแต่งชิ้นส่วนของไก่ ที่ตรงตามความต้องการของผู้นำเข้าญี่ปุ่น และไทยยังมีความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ที่ไม่ไกลจากญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของไก่สดไทยซึ่งเห็นได้จากในอดีตญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกไก่สดอันดับ 1 ของไทยก่อนที่จะเกิดโรคระบาดไข้หวัดนก

ดิฉันเชื่อว่าจากความสำเร็จในการส่งออกไก่สดแช่แข็งไทยไปญี่ปุ่นในครั้งนี้จะนำไปสู่การเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดไก่สดไทยในญี่ปุ่นให้อยู่ในระดับแถวหน้าอีกครั้ง โดยในอีก 2-3 ปีข้างหน้าประเทศไทยน่าจะสามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งได้ ประมาณ 200,000 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณ เท่ากับช่วงก่อนการระบาดของไข้หวัดนก นอกจากนี้ ยังจะเป็นการช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในตลาดอื่นๆ ที่จะทำให้ไทยสามารถก้าวเข้าไปเปิดตลาดไก่สดได้ในอนาคต เช่น สาธารณรัฐเกาหลีอีกด้วยค่ะ อุตสาหกรรมไก่สดของไทยจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกได้อย่างยั่งยืน และได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพอย่างต่อเนื่องหากภาครัฐและภาคเอกชนยังคงช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่ความเติบโตของอุตสาหกรรมส่งออกไก่สดไทยและการส่งออกโดยรวมต่อไปค่ะ.