วันเวลาผ่านไป ข่าวใหม่ๆ ขึ้นมาเบียดบัง สารพัดเรื่องสารพัดราวของชาวไทยพัดมาแล้วก็ผ่านไป ทำคนไทยลืม “พ.ร.บ.ไซเบอร์” ที่ครั้งหนึ่งหลายคนเคยจับมือร่วมกันต้าน คัดค้านหัวชนฝา จนทำให้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวต้องล่าถอยไปในที่สุด
แต่มาวันนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กำลังผลักดันร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ... ซึ่งล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเสร็จแล้ว เตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการออกเป็นกฎหมายบังคับใช้
“ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์” ที่ชาวโซเชียลร้อง ยี้! กลับมาแล้ว มาเร็ว มาแรง เตรียมบังคับใช้เป็นกฎหมายเสียด้วย ทีมข่าวเจาะประเด็น ไล่เรียงอำนาจล้นฟ้า จากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มาให้เข้าใจง่ายๆ ดังต่อไปนี้
- คำว่า “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” อันเป็นหลักการสำคัญที่ถูกใส่ลงไปในร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ขยายความได้ว่า ข้อความที่โพสต์ หรือเผยแพร่ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ไอโฟน ไอแพด โทรศัพท์มือถือ ที่อาจมีสาระสำคัญกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
...
- ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ ได้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) ให้อำนาจหน้าที่เลขาธิการ กปช. ซึ่งจุดนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าจับตาเป็นพิเศษ
- เมื่อถามว่า ทำไมจุดดังกล่าว ถึงน่าจับตาเป็นพิเศษ คำตอบ คือ เลขาธิการ กปช. สามารถเข้าตรวจสอบสถานที่ เข้าถึงทรัพย์สินสารสนเทศ ยึดคอมพิวเตอร์ ไอโฟน ไอแพด โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ใดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ทุกประเภท ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์
- การยึดคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆ ไปนั้น ไม่ต้องผ่านการกลั่นกรองจากศาล หรือกระบวนการยุติธรรม (ปกติการตรวจค้น ยึดทรัพย์สิน ต้องมีหมายเรียก หรือหมายค้นจากศาล หรือหน่วยงานยุติธรรม จึงดำเนินการได้)
- ประชาชนผู้นั้นต้องให้ความร่วมมือ หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 1.5 แสนบาท หรือทั้งจำและปรับ
- ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ให้อำนาจเลขาธิการ กปช.เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลทั่วประเทศกว่า 67 ล้านคน ซึ่งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) หรือ สพธอ. เป็นผู้เก็บรักษา โดยไม่มีข้อจำกัด หรือมีบุคคลสอบ
อย่างไรก็ดี คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ ครม.แต่งตั้งตามที่กระทรวงดีอี เสนอ 7 คน ได้แก่ นายภูมิ ภูมิรัตน นายกิตติ โฆษะวิสุทธิ์ นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน พล.อ.บรรเจิด เทียนทองดี นางมรกต กุลธรรมโยธิน และนายปณิธาน วัฒนายากร พิจารณาแล้วไม่เห็นด้วยในเนื้อหาภาพรวม เกรงจะมีปัญหาตามมา จึงเตรียมยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช.ในสัปดาห์นี้ เพื่อขอให้ทบทวนเนื้อหาหลายประเด็น
สุดท้ายแล้ว ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็น เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และเตรียมทำตามข้อบังคับของกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ มีรายละเอียดฉบับเต็ม ดังนี้
...
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง