31 ราย แห่ซื้อซอง สร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

31 ราย แห่ซื้อซอง สร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน

Date Time: 9 ก.ค. 2561 20:01 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • รถไฟ คุยลั่น! เอกชนทั้งต่างชาติ-ไทย 31 ราย แห่ซื้อซอง สร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เปิดเสนอราคา 12 พ.ย. ก่อนประกาศชื่อผู้ชนะ 13 พ.ย.นี้...

Latest


รถไฟ คุยลั่น! เอกชนทั้งต่างชาติ-ไทย 31 ราย แห่ซื้อซอง สร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เปิดเสนอราคา 12 พ.ย. ก่อนประกาศชื่อผู้ชนะ 13 พ.ย.นี้...

เมื่อวันที่ 9 ก.ค. นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า จากที่ รฟท.เปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) มาตั้งแต่ 18 มิ.ย.–9 ก.ค. 61 พบว่ามีเอกชนมาซื้อซองรวมจำนวน 31 ราย ภายหลังจากการขายเอกสารเสร็จสิ้นแล้ว รฟท.จะเปิดรับซองเอกสารเสนอราคาในวันที่ 12 พ.ย.61 ก่อนจะประกาศรายชื่อผู้ชนะวันที่ 13 พ.ย.61 โดยเอกชนที่ชนะการประมูลจะได้รับสิทธิ์ร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost คือ การยกสัมปทานทั้งหมดให้เอกชน ทั้งการก่อสร้างและให้บริการไฮสปีดเทรน รวมไปถึงธุรกิจสนับสนุนบริการรถไฟ เป็นระยะเวลา 50 ปี ประเมินผลตอบแทนต่อเศรษฐกิจ ตลอดอายุโครงการ 652,152 ล้านบาท

สำหรับเอกชน 31 ราย ประกอบไปด้วย ประกอบไปด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด(ประเทศไทย), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด(ประเทศไทย),ITOCHU Corporation (ประเทศญี่ปุ่น),ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (ประเทศจีน)

บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย, บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น), China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)(ประเทศไทย), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)(ประเทศไทย), CHINA RAILWAY GROUP LIMITED (สาธารณรัฐประชาชนจีน), China Communications Construction Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน),CITIC Group Corporation (สาธารณรัฐประชาชนจีน), Korea-Thai High-speed Railroad Consortium Inc. (ประเทศไทย)

บริษัท เทอดดำริ จำกัด (ประเทศไทย), Salini Impregio S.p.A. (ประเทศอิตาลี), บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด(ประเทศไทย) ,TRANSDEV GROUP (ประเทศฝรั่งเศส), SNCF INTERNATIONAL (ประเทศฝรั่งเศส), Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น), บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บจก. แอล เอ็ม ที สโตน (ประเทศไทย), WANNASSER INTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD (ประเทศมาเลเซีย), บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน),MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย).


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ