มนุษย์เงินเดือนควรรู้ !! ไขข้อข้องใจสารพัดเรื่อง ลดหย่อนภาษี

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

มนุษย์เงินเดือนควรรู้ !! ไขข้อข้องใจสารพัดเรื่อง ลดหย่อนภาษี

Date Time: 8 ธ.ค. 2560 13:33 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • มนุษย์เงินเดือนเตรียมพร้อม สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2560 ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2561 ที่จะถึงนี้ โดยกรมสรรพากร ได้ไขข้อข้องใจสารพัดเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี จำนวน 10 หมวด...

Latest


มนุษย์เงินเดือนเตรียมพร้อม สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2560 ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2561 ที่จะถึงนี้ โดยกรมสรรพากร ได้ไขข้อข้องใจสารพัดเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี จำนวน 10 หมวด...

เริ่มตั้งแต่ 1.ค่าลดหย่อนส่วนตัวและคู่สมรส หากสามีภรรยามิได้จดทะเบียนสมรส จะหักลดหย่อนคู่สมรสไม่ได้ โดยสถานภาพในการยื่นแบบแสดงรายการ “โสด” ไม่สามารถหักลดหย่อนคู่สมรส 2.ค่าลดหย่อนบุตร รัฐบาลได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษีสำหรับค่าเลี้ยงดูบุตรจากคนละ 15,000 บาทต่อปี เป็นคนละ 30,000 บาทต่อปี ซึ่งสามารถหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ไม่จำกัดจำนวน

3.ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดาและมารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมิน ไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนของบิดามารดา ในแบบแสดงรายการฯ ด้วย ส่วนกรณีบิดามารดา มีบุตรหลายคน ให้บุตรเพียงคนเดียว เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน 4.ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการและทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท อาทิ บิดามารดา หรือบิดามารดาของสามีหรือภรรยาผู้มีเงินได้ รวมถึงสามีหรือภรรยา บุตรชอบด้วยกฏหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ เป็นต้น

5.ค่าลดหย่อนประกันชีวิต ประกันชีวิตแบบบำนาญและประกันสุขภาพ ในส่วนเบี้ยประกันชีวิต ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

6.ค่าลดหย่อนซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีให้ยกเว้นได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินก่อนหักยกเว้นภาษีกรณีผู้มีเงินได้อายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ 7.ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อและสร้างที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

8.ค่าลดหย่อนประกันสังคม หักได้ตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงในปีภาษี และตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม หักได้ไม่เกินคนละ 9,000 บาท 9.ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ซึ่งต้องได้รับใบอนุโมทนาบัตรหรือใบเสร็จรับเงิน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังจากได้หักลดหย่อน

และ 10.ค่าลดหย่อนน้ำท่วม โดยผู้บริจาคสามารถนำเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่ได้บริจาค ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 มาหักเป็นค่าลดหย่อน หรือหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้ 1.5 เท่า

นอกจากนี้ยังมีข่าวดีสำหรับผู้มีบุตร เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนมีบุตรเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมารัฐบาลได้เสนอให้เพิ่มค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 ให้ได้รับค่าลดหย่อน 60,000 บาทต่อคนต่อปี จากเดิม 30,000 บาทต่อคนต่อปี เนื่องจากประเทศไทยมีประชากรวัยแรงงานลดลงอย่างมาก จากอัตราการเกิดของประชากรลดลง ทำให้อัตราส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี รัฐบาลจึงมีนโยบายให้มีมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการมีบุตร เพื่อจูงใจให้ผู้มีเงินได้ที่มีบุตรเพิ่มขึ้นได้รับการบรรเทาภาระภาษี จะส่งผลให้มีศักยภาพเพียงพอแก่การเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตอย่างมีคุณภาพในระยะยาว

ในส่วนนี้ทางกรมสรรพากร อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นให้ได้ข้อมูลรอบด้าน เพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กรณีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการมีบุตร) ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภานิติบัญญัติ (สนช.) พิจารณาออกเป็นกฎหมาย คาดว่าจะออกมาบังคับใช้ได้ในปี 2561 และเปิดให้มีการยื่นลดหย่อนได้ในต้นปี 2562.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ