ลงทุนให้ชนะเงินเฟ้อ!!

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ลงทุนให้ชนะเงินเฟ้อ!!

Date Time: 22 เม.ย. 2565 05:45 น.

Summary

  • ปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ถือเป็นภาระของประชาชนผู้บริโภคทุกคน!! เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากต้องควักเงินในกระเป๋ามาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะเป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ

Latest

SCB เดินหน้าดิจิทัลแบงก์ ปรับโครงสร้าง ใช้ AI ลดต้นทุน 30% ภายในปี 2569 พร้อมสู้ศึก Virtual Bank


ผ่านวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ หลายท่านได้มีโอกาสท่องเที่ยว ได้กลับไปเยี่ยมพ่อแม่ญาติพี่น้องที่ต่างจังหวัด ได้ชาร์จพลังบวก มีความสุขสนุกสนานชุ่มชื่น เบิกบานหัวใจกันแล้ว ก็ถึงเวลากลับมาคร่ำเคร่งทำงานหาเงินกันต่อ...

ในยุคข้าวยากหมากแพง ราคาสินค้า ค่าน้ำค่าไฟ ราคาน้ำมัน ข้าวราดแกงราคาพุ่งขึ้นเงินเก็บเงินออมก็เริ่มร่อยหรอ เพราะต้องนำออกมาใช้จ่ายในช่วงสงกรานต์

ขณะที่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น (หลายคนรายได้ลดลงจากวิกฤติโควิด) แต่รายจ่ายในชีวิตประจำวันกลับสูงขึ้น จากข้าวของที่ราคาแพงขึ้น จนทำให้อัตราเงินเฟ้อที่เป็นดัชนีชี้วัด ว่าราคาสินค้าและบริการต่างๆ โดยเฉลี่ยแพงขึ้นหรือสูงขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ ทำสถิติสูงขึ้นในรอบ 13 ปี ในเดือนมีนาคม 2565 โดยสูงขึ้นไปถึง 5.73% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY)

ปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ถือเป็นภาระของประชาชนผู้บริโภคทุกคน!! เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากต้องควักเงินในกระเป๋ามาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะเป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ ที่อาจมีเงินออมไม่พอกับรายจ่ายที่วางแผนไว้ หรือทำให้เงินออมหมดเร็วกว่าที่คาดการณ์!! จึงต้องประหยัดและอดออมมากขึ้น

ที่สำคัญเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ยังส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ) ลดลงหรือถึงขั้นติดลบได้ เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับ จะนำไปใช้ซื้อของได้น้อยลง เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก 2% ขณะที่เงินเฟ้อหรือราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 1% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆจะอยู่ที่ 1%

แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน อยู่ที่ 0.40-1.25% ขณะที่เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาที่ 5.7% นั่นหมายความว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงขณะนี้ติดลบอยู่มากกว่า 4% หรือมูลค่าของเงินที่ทิ้งไว้ในบัญชีเงินฝากธนาคารมีมูลค่าหรืออำนาจซื้อลดลง จากเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั่นเอง!!

ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่าเงินเฟ้อมากๆ เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ หรือ อสังหาริมทรัพย์

และที่สำคัญ ปัจจุบันการลงทุนในธุรกิจดั้งเดิม อาจได้ผลตอบแทนไม่มากเพียงพอสำหรับการสร้างเงินก้อนเพื่อวัยเกษียณ เพราะธุรกิจดั้งเดิมอาจเติบโตไม่มาก เมื่อเทียบกับธุรกิจสมัยใหม่ ที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลกที่ธุรกิจเติบโตสูงและมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า

คนวัยทำงานอย่างเราๆ จึงจำเป็นต้องปรับแผนการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ เพื่อรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่วนจะลงทุนอย่างไร หรือลงทุนอะไรบ้างนั้น...

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนไปฟัง SET in Trend ลงทุนทันเทรนด์ หัวข้อ เงินเฟ้อ “พุ่ง” ลงทุนอย่างไรให้ “รอด” ในวันเสาร์ที่ 23 เม.ย.นี้ ตั้งแต่เวลา 13.30-15.30 น. ชมสดทาง Facebook : SET Thailand ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

พบกับเหล่ากูรูในหัวข้อต่างๆ เช่น เงินเฟ้อแล้วไงเกี่ยวอะไรกับเรา และ “ลงทุนอย่างไรให้รอด ส่องหุ้นสู้เงินเฟ้อ” พร้อมหัวข้อ “ส่องกองทุนสู้เงินเฟ้อ” แล้วจะพบกับทุกคำตอบ ที่จะทำให้เงินของเราชนะเงินเฟ้อได้!!

คุณนายพารวย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ