ทำความเข้าใจการคุ้มครองเงินฝาก ที่ไม่กระทบรายย่อย เศรษฐีไม่สะเทือน เพราะเงินที่จะได้ต้องเข้าเงื่อนไข ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ล่มสลาย หรือปิดกิจการ และโดนเพิกถอนใบอนุญาตเท่านั้น
หลังจาก สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือ DPA ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 64 เป็นต้นไป คนที่ฝากเงินในสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากจะได้รับความคุ้มครองเงินฝากในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 ราย ผู้ฝากต่อสถาบันการเงิน ซึ่งแต่เดิมกฎหมายจะคุ้มครอง 5 ล้านบาท
หลายคนอาจจะอ่านแล้วงง "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" ขออธิบายพร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ดังนี้
คุณหยก มีเงินฝากในธนาคารสีเขียว 10 ล้านบาท ธนาคารสีน้ำเงิน 10 ล้านบาท ธนาคารสีม่วง 10 ล้านบาท เท่ากับคุณหยกมีเงินฝากในธนาคาร 30 ล้านบาท
โดยวันที่ 10 ส.ค. 64 กฎหมายจะคุ้มครองเงินฝากของคุณหยกของทั้ง 3 ธนาคาร ประมาณ 15 ล้านบาท
แต่พอวันที่ 11 ส.ค.64 เป็นต้นไป กฎหมายจะคุ้มครองเงินฝากของคุณหยกของทั้ง 3 ธนาคารเหลือประมาณ 3 ล้านบาท
พออ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงตกใจจากเงินที่คุ้มครอง 15 ล้านบาท ลงมาเหลือ 3 ล้านบาท ทำไมถึงเป็นแบบนี้...
อย่างแรกจะขออธิบายก่อนว่า การคุ้มครองเงินฝากนี้ เราจะได้เงินก็ต่อเมื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ล่มสลาย หรือปิดกิจการ และโดนเพิกถอนใบอนุญาตเท่านั้น
คำตอบ ค่อนข้างยาก เพราะกฎของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.ค่อนข้างเข้มงวด มีการจัดทำมาตรฐานบัญชีใหม่ มีเงินกองทุนเงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ที่สำคัญผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งยังมีกำไร เพราะธุรกิจของธนาคารไม่ใช่แค่การฝากเงิน การปล่อยกู้เงินเท่านั้น แต่ยังมีบริษัทลูกของธนาคารทำธุรกิจอื่นๆ อีก
คำตอบ ต้องขออนุญาตตอบในมุมเศรษฐี คนมีเงินส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนิยมการฝากเงิน พวกเขามักนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนมากกว่า เพราะหลายคนกลัวเงินเฟ้อในอนาคต หากฝากไว้ในธนาคารนานๆ จะทำให้มูลค่าน้อยลง ส่วนการลงทุนที่ว่าก็มีหลายรูปแบบ กระจายในทุกสินทรัพย์ เช่น ตราสารหนี้ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล ลงทุนในหุ้น ซื้อประกันควบการลงทุน ซื้อทองคำ ลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์ เหล่านี้เป็นต้น
คำตอบ รายย่อยอย่างเราๆ ก็จะได้รับการคุ้มครองเงินฝากตามที่กฎหมายกำหนด แต่อย่าลืมว่าเงินที่จะได้นี้จะต้องเข้าเงื่อนไขที่ว่า ธนาคาร หรือสถาบันการเงินนั้น ล้มละลาย ปิดกิจการ โดนเพิกถอนใบอนุญาต
คำตอบ สำหรับธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศจำนวน 19 แห่งได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย), ธนาคารยูโอบี, ธนาคารทิสโก้
นอกจากนี้ยังมี ธนาคารเกียรตินาคินภัทร, ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, ธนาคารไอซีบีซี (ไทย), ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย, ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์, ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย), ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย), ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) และ ธนาคารธนชาต จำกัด
ส่วนสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส, ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด, ธนาคารซิตี้แบงก์, ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด, ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น, ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด, ธนาคารดอยซ์แบงก์, ธนาคารมิซูโฮ, ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น และ ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์
บริษัทเงินทุน 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน), บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)
ส่วนบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ได้แก่ 3 แห่ง บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด, บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด และ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด
คำตอบ สถาบันการเงิน หรือธนาคารที่อยู่ภายใต้การดูแลของภาครัฐนั้น การคุ้มครองเงินฝากจะขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลในช่วงเวลานั้น
คำตอบ ต้องเป็นบัญชีเงินฝากในสกุลเงินบาท และเป็นบัญชีเงินฝากในประเทศโดยคุ้มครองบัญชีเงินฝาก 5 ประเภท ได้แก่ 1. เงินฝากกระแสรายวัน 2. เงินฝากออมทรัพย์ 3. เงินฝากประจำ 4. บัตรเงินฝาก และ 5. ใบรับฝากเงิน หากสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากถูกเพิกถอนใบอนุญาต เราจะได้รับเงินฝากคืนภายใน 30 วัน ตามวงเงินที่กฎหมายกำหนดนั่นเอง