เช็กเลย ใช้เอกสารอะไรบ้าง ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 บัตรคนจนรอบใหม่

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เช็กเลย ใช้เอกสารอะไรบ้าง ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 บัตรคนจนรอบใหม่

Date Time: 4 ก.ย. 2565 19:08 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • เช็กเลย ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ในการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 บัตรคนจนรอบใหม่ เริ่ม 5 ก.ย. 65 วันแรก บุคคลใด ถูกยกเว้น ลงทะเบียนไม่ได้

Latest


เช็กเลย ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ในการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 บัตรคนจนรอบใหม่ เริ่ม 5 ก.ย. 65 วันแรก บุคคลใด ถูกยกเว้น ลงทะเบียนไม่ได้

วันที่ 4 ก.ย. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรุ่งนี้ (5 ก.ย.) จะเป็นวันแรกที่กระทรวงการคลังและหน่วยงานรับลงทะเบียน จะเปิดรับลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ปี 2565 หรือบัตรคนจนรอบใหม่ ไปจนถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2565

โดยประชาชน สามารถทยอยลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (คลิกที่นี่) หรือผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียน 7 หน่วยงาน ได้แก่ สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารออมสิน, ธนาคารกรุงไทย, สำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ สังกัดกรมบัญชีกลาง, ที่ว่าการอำเภอทั้ง 878 อำเภอทั่วประเทศ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา เมืองพัทยา รวมจุดรับลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 7,000 จุด ทั่วประเทศ

สำหรับการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ต้องเตรียมหลักฐาน ดังนี้

  • บัตรประชาชนของผู้ที่ลงทะเบียน
  • บัตรประชาชนของคู่สมรส + สำเนา
  • สูติบัตร หรือบัตรประชาชนของบุตร (กรณีที่มีครอบครัว) + สำเนา

กรณีผู้ลงทะเบียนเป็นคนโสดหรือไม่มีครอบครัว สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์โดยไม่ต้องนำเอกสารไปยื่นที่หน่วยงานรับลงทะเบียน ทั้งนี้ การกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มในเว็บไซต์จะต้องใช้ข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน เลขหลังบัตรประชาชน ที่อยู่ สถานภาพการมีครอบครัว โดยสมาชิกในครอบครัวหมายถึง สามี หรือ ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (แต่ไม่รวมบุตรบุญธรรม) อาชีพ รายได้และหนี้สิน 

เมื่อกรอกข้อมูลทางเว็บไซต์สำเร็จ จะต้องเลือกหน่วยงานรับลงทะเบียนที่ผู้ลงทะเบียนสะดวก เพื่อไปยื่นเอกสารที่ลงลายมือชื่อครบถ้วนทั้งผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวที่หน่วยงานรับลงทะเบียน ถึงจะถือว่าจบขั้นตอนการลงทะเบียน (หากไม่ได้เดินทางไปยื่นเอกสารที่หน่วยงานรับลงทะเบียน จะถือว่าลงทะเบียนไม่สำเร็จ)

กรณีผู้ลงทะเบียนที่มีครอบครัว เดินทางนำเอกสารไปยื่นที่หน่วยงานรับลงทะเบียน ซึ่งจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้ลงทะเบียน รวมถึงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสและบุตร พร้อมลงลายมือชื่อ ในกรณีที่คู่สมรสและบุตร ไม่ได้เดินทางมาแสดงตัวที่หน่วยงานรับลงทะเบียน

อย่างไรก็ดี หากคู่สมรสและบุตรของผู้ลงทะเบียนเดินทางมาแสดงตัว ณ หน่วยงานรับลงทะเบียนพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนก็จะไม่จำเป็นต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสและบุตรของผู้ลงทะเบียน

กรณีที่ผู้ลงทะเบียนสะดวกลงทะเบียนผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ผู้ลงทะเบียนจะต้องกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนให้ครบถ้วน (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) พร้อมทั้งลงลายมือชื่อในเอกสารให้ครบถ้วนทั้งผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัว เพื่อนำไปยื่นที่ หน่วยงานรับลงทะเบียน ซึ่งจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้ลงทะเบียน รวมถึงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสและบุตรพร้อมลงลายมือชื่อ ในกรณีที่คู่สมรสและบุตรไม่ได้เดินทางมาแสดงตัวที่หน่วยงานรับลงทะเบียน

อย่างไรก็ดี หากคู่สมรสและบุตรของผู้ลงทะเบียนเดินทางมาแสดงตัวที่หน่วยงานรับลงทะเบียน พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สำเนา



กรณีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาลงทะเบียนแทนได้ ทั้งนี้แบบฟอร์มการลงทะเบียนและหนังสือมอบอำนาจ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของโครงการฯ (โหลดที่นี่) และเอกสารอื่นๆ ดังนี้

- แบบฟอร์มการลงทะเบียน
- สำเนาบัตรประชาชน (ผู้ลงทะเบียน) พร้อมลงลายมือชื่อ
- สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส บุตร หรือสำเนาสูติบัตร พร้อมลงลายมือชื่อ

เอกสารสำหรับการมอบอำนาจ
- หนังสือมอบอำนาจ (ดาวน์โหลดที่เว็บไซต์โครงการ)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ได้รับมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)


ทั้งนี้ กรณีที่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์โดยกดยืนยันการลงทะเบียน (Submit) ในระบบแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลใดๆ ได้ทั้งสิ้น ยกเว้นกรณีที่ข้อมูล 5 Fields ของผู้ลงทะเบียนไม่ถูกต้อง ได้แก่ 1.เลขประจำตัวประชาชน 2.ชื่อ 3.นามสกุล 4.วันเดือนปีเกิด และ 5.เลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน (Laser No.) ของผู้ลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนใหม่ผ่านเว็บไซต์ได้

สำหรับข้อมูลส่วนอื่นผู้ลงทะเบียนจะต้องไปแก้ไขที่หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ผู้ลงทะเบียนได้ยื่นแบบฟอร์มลงทะเบียนเอาไว้เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 หรือ บัตรคนจนรอบใหม่นี้ ไม่อนุญาตให้บุคคลดังต่อไปนี้ลงทะเบียน คือ

  • ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีสถานะถึงพร้อมด้วยปัจจัย 4 อันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ โดยไม่ต้องประกอบสัมมาชีพ จึงไม่เข้าเกณฑ์ในการหาเลี้ยงชีพเพื่อนำมาใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงปัจจัย 4 นั้น หรือเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนเหมือนกับบุคคลทั่วไป เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น อีกทั้ง อยู่ในสถานะที่ไม่จำเป็นต้องถือครองหรือสะสมทรัพย์สิน อันได้แก่ เงินฝาก สลาก พันธบัตร ตราสารหนี้ และที่ดิน
  • ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขัง เนื่องจากในระหว่างที่ต้องขังอยู่นั้น ผู้ต้องขังจะได้รับสวัสดิการจากเรือนจำหรือทัณฑสถานอยู่แล้ว เช่น การจัดเลี้ยงอาหารผู้ต้องขังในเรือนจำ วันละ 3 มื้อ การรักษาพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำเรือนจำ การส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น
  • บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ เนื่องจากบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์จะได้รับสวัสดิการจากสถานสงเคราะห์อยู่แล้ว เช่น การจัดเลี้ยงอาหารวันละ 3 มื้อ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น โดยคำว่า “สถานสงเคราะห์” ในที่นี้ หมายถึงสถานสงเคราะห์ของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมควบคุมโรค กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยไม่รวมถึงสถานสงเคราะห์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเอกชน
  • ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้รับบำเหน็จรายเดือน หรือผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่มีรายได้ประจำ และรายได้รวมมากกว่า 100,000 บาทต่อปี ซึ่งไม่ตรงตามคุณสมบัติของผู้มีรายได้น้อยตามโครงการฯ ปี 2565
  • ข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เนื่องจากเป็นผู้ที่มีรายได้ประจำ และรายได้รวมมากกว่า 100,000 บาทต่อปี ซึ่งไม่ตรงตามคุณสมบัติของผู้มีรายได้น้อยตามโครงการฯ ปี 2565
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่มีรายได้ประจำ และรายได้รวมมากกว่า 100,000 บาทต่อปี ซึ่งไม่ตรงตามคุณสมบัติของผู้มีรายได้น้อย ตามโครงการฯ ปี 2565

อย่างไรก็ตาม หากบุคคลดังกล่าวสิ้นสภาพแล้ว และมีคุณสมบัติครบถ้วนในช่วงเวลาที่เปิดรับลงทะเบียน และสมัครใจลงทะเบียนตามโครงการฯ ก็สามารถลงทะเบียนได้ในช่วงเวลาที่กำหนด

ขณะที่ บุคคลล้มละลาย สามารถลงทะเบียน เข้าโครงการได้

ทั้งนี้ สามารถอ่านคู่มือโครงการลงทะเบียน เพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 อย่างละเอียด ได้ที่นี่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ