เมื่อ 84 ปีก่อน นักพยาธิวิทยาชื่อเร็กซ์ แพร์ริงตัน ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ชื่อเทเลโอคราเตอร์ (Teleocrater) ในปี 2499 ที่ลุ่มแม่น้ำรูฮูฮู ทางตอนใต้ของประเทศแทนซาเนีย ต่อมาในปี 2499 ดร.อลัน ชาริก นักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนลงในวิทยานิพนธ์ แต่เพิ่งได้รับการเผยแพร่ลงวารสารธรรมชาติในปี 2560 ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นจุดที่เชื่อมโยงของสิ่งที่ขาดหายไป ในการที่จะทำให้เข้าใจวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ โดยเทเลโอคราเตอร์ได้ถูกจัดไว้ในแผนผังสายพันธุ์แห่งวิวัฒนาการไดโนเสาร์ ในกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานชื่ออาร์โคซอร์ (archosaurs) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์
ซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวเป็นของสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 245 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะคล้ายจระเข้เรียกว่าเทเลโอคราเตอร์ เรดินัส (Teleocrater rhadinus) เป็นเครือญาติเดียวกันกับไดโนเสาร์ยุคต้นๆ แต่ไม่ใช่บรรพบุรุษที่แท้จริงของสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์กินเนื้อมีความยาว 3.05 เมตร คอยาว หางยาว เดินสี่ขาแบบเดียวกับจระเข้ในยุคปัจจุบัน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมให้ความเห็นว่าเทเลโอคราเตอร์ ท้าทายพื้นฐานของรูปแบบการเกี่ยวพันเป็นญาติกับไดโนเสาร์ ซึ่งควรจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่เทเลโอคราเตอร์สร้างความตื่นเต้นอย่างมาก เพราะทำให้ความคิดดั้งเดิมของต้นกำเนิดไดโนเสาร์เปลี่ยนแปลงไป อย่างไร ก็ตาม นักวิจัยเผยว่าเนื่องจากไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกระดูกที่สำคัญ เช่น ข้อเท้า จึงทำให้ตำแหน่งในแผนผังสายพันธุ์แห่งวิวัฒนาการไดโนเสาร์ของเทเลโอคราเตอร์ยังไม่ชัดเจน.