เหล่ากูรูไฮเทคฟันธง สังคมออนไลน์บูม ไม่เพียงสื่อที่กำลังปรับตัวหันมาใช้เครื่องมือไฮเทคอย่าง  บล็อก, วิกีพีเดีย , ฟีด , ยูทูป, ดิ๊ก, ทวิตเตอร์ และออนไลน์ของ กูเกิล ประเทศไทย  ประชาชนก็กำลังปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์เต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 วานนี้ ที่ตึกจามจุรี สแควร์ ภายในงานกิจกรรม "Social I Media for journalist" นาย กล้า ตั้งสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โธธ มีเดีย จำกัด กล่าวถึงความนิยมของสังคมออนไลน์ว่า ปัจจุบันตัวเลขผู้ใช้งานสื่อทางสังคมออนไลน์ที่เป็นคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Blog, twitter, Facebook พร้อมกับเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นไปตามแนวโน้มของผู้ใช้ในต่างประเทศ

"โดยเฉพาะ เฟชบุ๊ค ที่ประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลกในอัตราการเพิ่มขึ้นของสมาชิกในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นกว่า 161,300 ราย ทำให้ผู้ใช้คนไทยเพิ่มเป็น 1.6 ล้าน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอยู่ในกลุ่มอายุ 18 - 34 ปี ซึ่งทางนักสื่อสารมวลชนต้องทำความเข้าใจว่าการใช้สื่อทางสังคมออนไลน์ไม่ใช่เพียง แค่การสมัครสมาชิกเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีสมาชิกแล้วหรือใช้งานเป็นแล้ว แต่ต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการรับสารของกลุ่มคนที่ใช้งานสื่อทางสังคมออนไลน์ที่เปลี่ยนไปจากปรกติที่เป็นฝ่ายตั้งรับรอคนเหล่านั้นเข้า มาอ่าน ก็ต้องเปลี่ยนเป็นฝ่ายรุก โดยจะต้องนำเนื้อหาหรือสารที่ต้องการจะสื่อ ไปวางให้ถูกกลุ่มของผู้ที่ต้องการจะรับสารประเภทนั้น โดยผ่านเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ เช่น บล็อก, วิกิพีเดีย , ฟีด , ยูทูป, ทวิตเตอร์ (twitter) หรือแม่้แต่การใช้สื่อทางสังคมออนไลน์ของ กูเกิล ประเทศไทย เป็นต้น"

ทั้งนี้ นาย กล้า ตั้งสุวรรณ ยังได้ยกตัวอย่างการใช้สื่อทางสังคมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอย่างกูเกิล ประเทศไทย (Google Thailand) ที่ส่งข่าวออกไปยังกลุ่มคนหลายๆกลุ่ม และแม้แต่ละกลุ่มจะไม่ได้มีขนาดใหญ่ว่า ข่าวสาร ก็ถูกส่งต่อไปเรื่อยๆจนมีคนรับสารนี้มากมายหลายพันครั้ง

"ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า "คลื่นวงน้ำ" ต่อจากนั้นได้พูดถึงการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งาน ทวิตเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นความถี่ในการใช้งาน ลักษณะของข้อความที่ส่งออกไป ช่วงเวลาที่มีการใช้งานและส่งต่อข้อความสูงสุดในแต่ละวัน ซึ่งถ้าดูช่วงเวลาเหล่านั้นแล้วนำมาปรับใช้กับจังหวะการส่งข่าว ก็จะทำให้การส่งข่าวมีประสิทธิภาพและถูกส่งต่อได้มากขึ้น ทั้งนี้ยังได้แนะนำว่าสื่อทางสังคมออนไลน์แบบไหนเหมาะกับประเภทของเนื้อหาแต่ละชนิดยังไง เช่น บลอก (Blog)  ที่เหมาะกับข่าว PR ประกาศต่างๆ, วิกิพีเดีย ที่เหมาะกับการเผยแพร่ข้อเท็จจริง เอกสารอ้างอิง, ไฮไฟว์ เฟชบุ๊ค ที่เหมาะกับการสร้างกลุ่มแฟน หรือสร้างข้อมูลส่วนตัว (Profile), ทวิตเตอร์ เหมาะสำหรับ การพูดคุย รับคำติชม หรือส่งข้อมูลล่าสุด รวมถึงการใช้งาน search.twitter.com เพื่อหาสิ่งที่กำลังเป็นที่สนใจของกลุ่มคนในทวิตเตอร์ และวิธีการคัดกรองเพื่อให้ได้มาถึงแหล่งหรือต้นตอของเรื่องราวที่กำลังได้ รับความสนใจอยู่ในขณะนั้น"

ด้านกานต์ ยืนยง ผู้อำนวยการ บริษัท Siam Intelligence Unit จำกัด บริษัทวิจัยสารสนเทศที่เชี่ยวชาญด้านสื่อออนไลน์ กล่าวถึง ตัวเลขการเข้าถึงสื่อต่างๆของคนไทย โดยเฉพาะสื่อเคเบิลทีวีและดาวเทียม เทียบกับสื่อออนไลน์อย่างอินเตอร์เน็ต ที่แม้เคเบิลทีวีจะมีตัวเลขการเข้าถึงที่สูงกว่ามาก แต่ก็นับว่ายังมีช่องว่างให้สื่อออนไลน์เติบโตขึ้นอีกมาก เมื่อเทียบกับตัวเลขการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของประเทศในแถบภูมิภาคนี้ พร้อมทั้งให้เทคนิคในการใช้งานสื่อทางสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดตที่สม่ำเสมอ การเลือกเนื้อหาที่จะส่ง การวิเคราะห์ผลลัพท์ที่ได้อย่างละเอียด หรือการโยนคำถามที่ให้แสดงความคิดเห็น หรือประโยคที่น่าสนใจ



กานต์กล่าวว่า เหล่านี้จะทำให้คนในสื่อทางสังคม สนใจและเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับเรามากยิ่งขึ้น และยังได้มีการวิเคราะห์หน้าเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์อย่าง The New York Times ที่มีการรวมเอาสื่อทางสังคมออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น ทวิตเตอร์ หรือความคิดเห็น มาเป็นส่วนหลักในหน้าเว็บคู่ไปกับข่าวและบท วิเคราะห์ ที่แสดงให้เห็นว่าสื่อทางสังคมออนไลน์ในต่างประเทศได้ถูกนำมาช่วยเสริมจุด แข็งให้กับสื่อเดิมได้อย่างดี ไม่ได้เป็นการแย่งชิงตลาดกัน

อย่างไรก็ดี ถามว่าอีก 5 ปี จะเป็นวันของSocial Media เต็มรูปแบบหรือไม ่เขาบอกว่าไม่ใช่ก็ใกล้เคียง

ด้านนาย วรมน ดำรงศิลป์สกุล นักข่าวไอทีภาคประชาชนจาก thaitechnews.co.cc ได้กล่าวว่าด้วยเครื่องมือสื่อทางสังคมออนไลน์ ทำให้ใครๆก็สามารถเป็นนักข่าวภาคประชาชนได้ง่าย เพราะว่าเป็นสื่อที่ทุกคนมีในมือ ฟรี สามารถติดตัวไปได้ทุกที่ (มือถือ) ไม่มีวันหยุด และไม่มีคนกรอง ทำให้เนื้อหาที่ สร้างขึ้นสามารถส่งต่อไปได้โดยง่ายและไม่มีการปิดกั้น ซึ่งคนๆหนึ่งสามารถเป็นได้ทั้งผู้บริโภคข่าวสารและผู้สร้างข่าวสารได้ในตัว คนๆเดียวกัน และในอีกไปนานด้วยเครื่องมือไฮเทคที่มีราคาถูกลง เครื่องมือที่ใช้เผยแพร่ข่าวสารแบบฟรีมีให้ใช้มากมาย และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง 3G หรืออินเตอร์เน็ตไร้สายยุคต่อไป จะทำให้โลกและการส่งต่อข้อมูลข่าวสารไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทำให้นักข่าวต้องปรับตัวใช้งานให้เป็น

"เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เสฉวน ประเทศจีน, โอลิมปิกที่ปักกิ่ง, เหตุการณ์ที่อิหร่าน หรือ เครื่องบินตกที่เมืองไทย ที่คนที่รายงานเหตุการณ์ก่อน กลับเป็นคนธรรมดาที่ใช้เครื่องมือสื่อทางสังคมออนไลน์และอุปกรณ์อย่างมือถือเท่านั้นเอง พร้อมตัวอย่างของ โอมายนิวส์ ที่เกิดจากการรวมตัวของนักข่าวพลเมืองและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พร้อมทั้งยังให้ข้อคิดว่าต่อไปนี้นักข่าวอาชีพและนักข่าวสมัครเล่นจะไม่ถูก แยกกันอีกต่อไป แต่คุณภาพและผู้ชมจะเป็นคนตัดสินการทำงาน ซึ่งนักข่าวอาชีพต้องตามให้ทันทั้งเทคโนโลยีและนักข่าวสมัครเล่น และรายงานข่าวด้วยการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและจริยธรรม" วรมน ดำรงศิลป์สกุล กล่าว

...