เขื่อนสิริกิติ์ เจอวิกฤติภัยแล้งในรอบ 18 ปี เหลือนํ้าใช้แค่ 54 วัน ปริมาณน้ำลดลงจนเรือและแพที่มีไว้ใช้บริการนักท่องเที่ยว ต้องจอดเกยตื้น ถ้าฝนไม่ตกอีกสองเดือนที่จะถึงปีหน้าจะประสบปัญหาภัยแล้งหนักมากกว่าที่เป็นอยู่.....
เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.นายประเสริฐ ธำรงวิศวะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์-ฝ่ายบริหารเปิดเผยถึงสถานการณ์ ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ซึ่งขณะนี้ระดับนํ้าได้ลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำออกจากเขื่อนฯในปริมาณมากได้ ประกอบกับปริมาณฝนที่ตก ทิ้งช่วงเป็นเวลานานส่งผลทำให้ไม่มีน้ำไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งในขณะนี้เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเหลือเพียงร้อยละ 6 หรือ 539.68 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือน้ำที่จะใช้ได้เพียงแค่ 54 วัน ซึ่งกรมชลประทานได้ประสานกับทางเขื่อนสิริกิติ์ให้ระบายน้ำ วันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปกติจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บนํ้าเขื่อนสิริกิติ์ เพียงวันละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปริมาณน้ำที่มีอยู่ เขื่อนจะสามารถปล่อยน้ำใช้ประโยชน์ท้ายเขื่อน เพียง 2 เดือน เพื่อช่วยเหลือเกษตรบริเวณท้ายเขื่อน รวมไปถึงเกษตรกรที่อาศัยน้ำตามโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 89 สถานี พื้นที่ส่งน้ำทั้งหมด 229,769 ไร่เพื่อรักษาระดับการผลิตกระแสไฟฟ้าและไม่ให้น้ำในอ่างเก็บน้ำแห้งขอดจน เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของเขื่อนและวิกฤติภัยแล้ง จึงจำเป็นต้องให้เกษตรกรเลื่อนการทำนาปีออกไปก่อน ประมาณกลางเดือน ก.ค.2553 ส่วนเกษตรผู้ปลูกข้าวนาปรัง จะทำนาได้เพียง 1 ครั้ง เนื่องจากต้นทุนนํ้า ปี 53 ตํ่ากว่าเกณฑ์มากคาดว่าปี 54 จะเกิดปัญหาวิกฤติภัยแล้งอย่างหนัก
นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า เมื่อหลายปีที่ผ่านมาประมาณวันที่ 9 ก.ค.2535 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ เคยมีปริมาณนํ้าตํ่าสุด 128 เมตร ณ ปัจจุบันสถานการณ์ปริมาณน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ในช่วงเดือน มิ.ย.ปีนี้ ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมากในรอบ 18 ปี หากเกษตรกรไม่วางแผนการใช้น้ำและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการผลผลิต ทางการเกษตรอาจได้รับความเสียหาย
ทางด้าน นายโยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ผวจ.อุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ มีไม่เพียงพอที่จะส่งน้ำให้สถานีสูบน้ำ ในแม่น้ำน่าน กรมชลประทานจึงได้แจ้งให้เกษตรกร เลื่อนการทำนาปี ออกไปก่อนเพื่อป้องกันข้าว กล้า เสียหาย สำหรับจำนวนสถานีสูบน้ำในเขต จ.อุตรดิตถ์ ที่ใช้น้ำจากแม่น้ำน่าน มีจำนวน 89 สถานี พื้นที่ส่งน้ำทั้งหมด 229,769 ไร่ ได้แก่ โครงการน้ำริด อำเภอเมือง จำนวน 1 สถานี พื้นที่ส่งน้ำ 44.659 ไร่ เป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน 34,446 ไร่ และนอกเขตชลประทาน 10,213 ไร่ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า (ที่ถ่ายโอนให้ อปท.แล้ว) คือ อำเภอ ท่าปลา จำนวน 4 สถานี พื้นส่งน้ำ 3,000 ไร่ , อำเภอเมือง, จำนวน 32 สถานี พื้นที่ส่งน้ำ 55,440 ไร่ อำเภตรอน, 15 พื้นที่ส่งน้ำ 39,070 ไร่ อำเภอพิชัย จำนวน 37 สถานีสูบน้ำ พื้นที่ส่งน้ำ 87,300 ไร่ เกษตรกรโดยเฉพาะกลุ่มในจังหวัดภาคกลางจะต้องเลื่อนการทำนาปี ปี 2553 ออกไปก่อน เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ไม่เพียงพอและทางเขื่อนสิริกิติ์คาดการ ว่าหากว่าอีกสองเดือนยังไม่มีฝนพายุลูกใหญ่พัดผ่านตกในต้นน้ำจะส่งผลทำให้ เขื่อนสิริกิติ์ไม่มีน้ำเพียงพอต่อการเกษตรทั่วๆไป.
...