...

{ads}

ถามใจคนไทย ทำไม ต้องเลือกสี ? ตอนที่ 2

1. ทำไมจึงเลือกสี ?

ในประเด็นนี้เท่าที่ได้ประมวลจากการสอบถามบุคคลของทั้งสองสี และดูการแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางในเว็บไซต์ยอดฮิตต่าง ๆ ของชาวชุมชนออนไลน์ พบว่า

1.อึดอัดและทนไม่ได้ กับสิ่งที่แต่ละฝ่ายกระทำ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำที่เกินขอบเขตที่ทั้งสองฝ่ายจะยอมรับได้

2.ความเชื่อว่าการได้เข้าร่วมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็คือการได้ตอบสนองต่อความเชื่อที่ตนเองมีอยู่ โดยถือว่าสีเสื้อแต่ละสีก็คือตัวแทนพลังทางความคิดของตนเอง

3.การให้ความเชื่อถือและความชื่นชอบต่อบุคคลที่เป็นแกนนำของแต่ละกลุ่ม

4.ประเด็นมีการหยิบยกขึ้นมาใช้ในเคลื่อนไหวทางการเมือง ตรงกับความเห็นของตนเองที่มีอยู่แต่เดิม

5.ความชื่นชอบรวมไปจนกระทั่งความเกลียดชังที่มีต่อพรรคการเมืองไทย ซึ่งแต่ละฝ่ายเชื่อมั่นว่าอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของแต่ละฝ่าย

6.ปัญหาเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ที่แต่ละฝ่ายมองว่าฝ่ายตรงข้ามกำลังนำพาประเทศชาติไปสู่ความเสียหาย

7.ปัญหาเรื่องการคุกคามความมั่นคงของประเทศ ทั้งเรื่องระบอบประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม และผลประโยชน์ของประเทศชาติ

8.คิดว่าสีแต่ละสี คือตัวแทนของชนชั้นในประเทศ โดยหากปล่อยให้อีกฝ่ายได้รับชัยชนะฝ่ายตนเอง จะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง

9.ความชื่นชอบและความชิงชัง ที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

2.ความเห็นต่างตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย เหตุใดจึงกลายมาเป็นความขัดแย้ง ไม่ชอบหน้า ท้ายที่สุดกลายเป็นความชิงชัง ?

1.ไม่ให้ความเชื่อถือในข้อมูลที่อีกฝ่ายนำมาใช้เคลื่อนไหวทางการเมือง เนื่องจากเห็นว่าน่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จ ใส่ร้าย และหวังผลทางการเมือง

2.คิดว่าอีกฝ่ายมีการตั้งอคติกับฝ่ายของตนเองมาตั้งแต่ต้น และไม่พร้อมที่จะรับฟังความเห็นที่แตกต่างกัน

3.การออกมาเคลื่อนไหวของบรรดาแกนนำแต่ละฝ่าย เนื่องจากมองว่ากำลังนำพากลุ่มคนไปสู่ความรุนแรง

4.คิดว่าฝ่ายของตนเองถูกอีกฝ่ายกลั่นแกล้ง

5.การรับฟังข้อมูลผ่านสื่อของฝ่ายตนเอง ทำให้รู้สึกว่าอีกฝ่ายกำลังคุกคามฝ่ายของตนเองอยู่ตลอดเวลา

6.การวิวาทะทางคำพูดเพื่อพยายามแสดงให้เห็นว่ากลุ่มของตนเองมีอำนาจมากกว่า

7.ความเสียหายของประเทศชาติ ที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองของแต่ละฝ่าย

8.วิวาทะและการเคลื่อนไหวของนักการเมืองสองค่าย ที่เชื่อมโยงหรือพาดพิงไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

9.คิดว่าอีกฝ่ายดื้อรั้น และใช้การชุมนุมทางการเมืองเพื่อหวังใช้ความรุนแรงสนองความต้องการของฝ่ายตัวเองเพียงฝ่ายเดียว

 

3.ทำไม การแสดงความเห็นต่างในบางประเด็นจึงต้องมีการตีความว่า เค้า หรือ เธอ เหล่านั้น เป็นอีกสีหรือสีเดียวกับตนเอง ?

1.ไม่เชื่อว่าคนที่แสดงความเห็นต่าง กับกลุ่มตนเองมีความเป็นกลางทางการเมืองจริง อีกทั้งเชื่อว่าที่มาของแต่ละบุคคลที่ออกมาแสดงความเห็นนั้น มีที่มาหรือสถานะที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

2.เชื่อมั่นในการตีความของบรรดาแกนนำแต่ละกลุ่ม ว่าอาจจะเป็นความคิดเห็นที่ทำให้ฝ่ายของตนเองได้รับความเสียหายหรือสูญเสียความชอบธรรม

3.การแสดงความเห็นของบุคคลที่ได้รับการยอมรับในสังคม ซึ่งตรงกับความเห็นของกลุ่มตนเอง สามารถนำไปสร้างพลังภายในกลุ่มของตนเอง สำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้

4.สามารถป้องกันความพยายามในการแทรกแซงเพื่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิดภายในกลุ่มของตนเอง จากฝ่ายตรงข้ามได้

5.เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ฝ่ายที่มักจะอ้างว่าอยู่ฝ่ายตรงกลาง ควรจะแสดงจุดยืนที่ชัดเจนได้แล้วว่า ควรจะอยู่กับฝ่ายใดเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างจริงจัง

 

4.การชุมนุมทางการเมืองในรอบ 3 ปี

ที่ผ่านมา มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสี หรือไม่ ?

1. มีผล เพราะทำให้เกิดความฮึกเหิมว่า คนที่

คิดเห็นเหมือนกับตนเองนั้น มีอยู่จำนวนมาก เพราะฉะนั้น

จึงไม่มีความรู้สึกหวาดกลัว ที่จะแสดงตัวตนอย่างชัดเจน

ว่าอยู่ฝ่ายใด

2. มีผล เพราะทำให้เกิดความรู้สึกว่า เมื่อเข้าร่วมกับฝ่ายที่มี

ความคิดเห็นตรงกับตนเองแล้วจะไม่พ่ายแพ้

3. มีผล เพราะทำให้รู้สึกว่าสามารถลุกขึ้นต่อสู้กับสิ่งที่

ตนเองเห็นว่าไม่ถูกต้องได้

4. มีผล เพราะสามารถทำให้ตนเอง รู้สึกเป็นอันหนึ่ง

อันเดียวไม่แปลกแยกกับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดในสังคมที่ตนเอง

อาศัยอยู่ได้

5. มีผล เพราะรู้สึกเหมือนมีสถานที่ที่จะสามารถพูดคุย

แลกเปลี่ยน

กับผู้ที่มีทัศนคติหรือความคิดเห็นที่เป็นไปทิศทาง

เดียวกับตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องทนรับฟัง หรือเกิดวิวาทะกับผู้ที่เห็นต่างกับตนเอง

 

5.หากท้ายที่สุดแกนนำของทั้งสองสียอมจับมือกัน ในความคิดของตนเองจะสามารถยุติความชิงชังที่มีต่ออีกฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้าม หรือสามารถเปิดรับฟังความเห็นต่างของฝ่ายตรงข้าม นับจากนั้นได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดศึกระหว่างสองสีระลอกใหม่ขึ้นอีก ?

เป็นเรื่องที่น่าตกใจมากว่า ทั้งสองฝ่ายไม่มีใครเชื่อว่า ระดับแกนนำของทั้งสองสี จะยินยอมจับมือกันเพื่อยุติความขัดแย้งด้วยการเจรจา ทั้งที่ในความจริงการเมืองไทย ไม่เคยมีมิตรแท้และศัตรูถาวร ดังเช่นที่ผ่านมาก็มักจะเห็นกันแล้วว่า การเมืองประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลายยุคหลายสมัยก็แสดงให้เห็นแล้วว่า การเปลี่ยนขั้วชนิดสุดเหลือเชื่อและไม่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ เกิดขึ้นกับนักการเมืองไทยมาแล้วทุกยุคทุกสมัย หากทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาต่อรองและสมประโยชน์กันและกันได้ก็ตาม

เนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีความเชื่อมั่นว่า ความเห็นที่แตกต่างได้เดินทางมาไกลเกินกว่าที่จะสามารถพูดคุยกัน รวมทั้งไม่เชื่อว่าอีกฝ่ายจะยอมรับในเหตุผลและจุดยืนที่ต่างกันได้ และต่างมีธงในใจอยู่แล้วว่าจะเอาชนะกันและกันอย่างไร และจุดที่สำคัญมากคือไม่ว่าผลกระทบในทางร้ายจะเกิดขึ้นกับฝ่ายใด ต่างฝ่ายต่างก็ปักใจเชื่ออย่างแน่นอนว่า เป็นผลมาจากการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นแล้วว่า ต่างฝ่ายต่างไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เหลืออยู่อีกต่อไปแล้ว

ส่วนหากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริง จะสามารถรับฟังความเห็นต่างของกันและกันได้หรือไม่นั้น เสียงสองสีส่วนใหญ่ยืนยัน ตรงกันว่า ความเห็นหรือจุดยืนของแต่ละฝ่ายจะดำรงค์อยู่ต่อไป เพราะต่างมองว่าทัศนะที่มีความสิ่งที่ฝ่ายตนเองเรียกความไม่ถูกต้องของอีกฝ่ายนั้น เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อตนเอง เพราะฉะนั้นย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องหรือรักษาผลประโยชน์ให้กับตนเองได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าหากในเมื่ออีกฝ่ายสามารถทำอะไรเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับฝ่ายตนเองได้ ฝ่ายของตนเองก็น่าที่จะสามารถทำแบบนั้นได้เช่นกัน

หากเป็นเช่นนั้นจริง คนไทยหรือสังคมไทยในเวลานี้กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะป่วยทางจิตจากความตรึงเครียดที่มีต้นเหตุจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง หรือไม่ ? เพราะไม่ว่าจะมองมุมใดก็ดูเหมือนมักจะมีการใช้อารมณ์นำเหตุและผลเสมอ งั้นเราลองไปฟังทัศนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชกันดีกว่า มองปรากฎการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างไร

พรุ่งนี้ฟังคำตอบ ...

...

...