เหตุใด พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ของกลุ่มญาติผู้สูญเสียในการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา จึงดูเหมือนถูกขัดขวาง และต่อต้าน จากกลุ่มแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ต่างจาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่จ่ออยู่ในวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และอาจมีการพิจารณาจากวิปรัฐบาล ให้นำขึ้นมาพิจารณา ก่อน หรือหลัง จากพ.ร.บ.รายจ่ายงบประมาณประจำปี 2557 รวมไปถึง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ

เบื้องต้น หากพิจารณารายละเอียดของ พ.ร.บ.นิรโทษฯ ทั้ง 2 ฉบับแล้ว จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน มีการกำหนดว่า บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่ ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ หากเป็นความ ผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นความผิดอันมีโทษปรับสถานเดียว หรือเป็นความผิดอันมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ตามกฎหมายอื่น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

...


ขณะ มาตรา4 กำหนดว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ระดับปฏิบัติการ ที่มิได้ฝ่าฝืนคำสั่งการบังคับบัญชา และ/หรือ ไม่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

ขณะที่การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุม ไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใดๆ รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือ เป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย ให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดนั้น

ที่สำคัญ กรณีที่ระบุว่า การกระทำใดๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม โดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่น โดยใช้อาวุธ ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย การกระทำใดๆ ของประชาชนทั้งผู้ชุมนุม และผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม อันมุ่งต่อการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือการกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่น การวางเพลิงเผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย


สรุปความตาม "ภาษาชาวบ้าน" คือ การกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่ ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษฯ ฉบับประชาชน ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะพ้นผิดได้ต้องมีความผิดลหุโทษ หรือมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี จึงพ้นจากความผิด

หากว่ากันตามนี้ บุคคลระดับแกนนำทั้งกลุ่ม นปช. หรือแม้แต่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ตอนนี้หลายคนต่างก็โดน ข้อหา "ก่อการร้าย" และอยู่ระหว่างศาลอาญากำลังไต่สวนคดีอยู่ ซึ่งแน่นอนว่า หากศาลตัดสินมีความผิดจริง มีระวางโทษจำคุกสูงกว่า 2 ปีแน่ ยังไม่นับรวม กลุ่มคนที่มีหลักฐานชัดว่า เผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ เผาศาลากลางจังหวัด ยิงวัดพระแก้ว หรือกรณีชายชุดดำ มีอาวุธที่ยิง "ระเบิดเอ็ม 79" ใส่เจ้าหน้าที่ทหารจนบาดเจ็บ เสียชีวิต ที่ปรากฏภาพในสื่อฯ


ส่วนข้อแตกต่างที่ชัดเจนอีกข้อ คือ "พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน" ไม่ได้ยกความผิดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือทหาร ที่ลงไปปฏิบัติการในการชุมนุมการเมืองทั้งหมด แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เจ้าหน้าที่รายนั้น กระทำการเกินกว่าเหตุ รวมไปถึงผู้สั่งการทางการเมือง หรือผู้มีอำนาจ หากมีการกระทำที่ไม่สมควร ถือว่าบุคคลนั้นมีความผิดตามกฎหมาย

ในขณะที่ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ไม่ ได้มีเนื้อหาเช่นนั้น แต่เป็นการเหมารวมผู้ที่ชุมนุมทั้งหมดโดยไม่ได้แยกแยะว่าเป็นบุคคลใด เป็นระดับแกนนำ หรือเป็นบุคคลธรรมดาที่มาร่วมชุมนุม หรือถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการ ทั้งตำรวจหรือทหาร ก็ให้ยกความผิดที่กระทำมาให้ทั้งหมด เพียงแต่ยกเว้นระดับผู้สั่งการเท่านั้น ซึ่งแน่นอน หมายถึง นายอภิสิทธิ์-สุเทพ

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันในเนื้อหา ของ พ.ร.บ.นิรโทษฯ ทั้ง 2 ฉบับที่เห็น จะเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เหล่า แกนนำ นปช. ออกมามีท่าที ไม่เห็นด้วย และต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน ของกลุ่มญาติผู้สูญเสียฯ ในเหตุการณ์ชุมนุมการเมืองปี 2553 หรือไม่? หากรัฐบาลเพื่อไทย สมมติตัดสินใจใช้ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่แม้แต่ฝ่ายค้าน อย่างพรรค ปชป.ยังประกาศออกมาสนับสนุน ทั้งที่มองอย่างไร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.นี้ อย่างที่ นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่น้องเกด ยังยอมรับกับไทยรัฐออนไลน์ว่า รู้สึกงงกับท่าทีของเหล่าแกนนำ นปช. ประเด็นนี้ เราไม่ขอกล่าวถึง แต่น่าจะเป็นหน้าที่ของแกนนำ นปช.ที่ต้องออกมาตอบคำถามร้อนนี้...


ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน (เฉพาะในส่วนที่น่าเป็นปัญหา)

มาตรา 3

(1) บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลอันเป็นความผิดตามกฎหมายจากการฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ หรือข้อกำหนดที่ออกตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง

(2) บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่ที่มี การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ หรือพื้นที่ที่มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความ มั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 หากเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นความผิดอันมีโทษปรับสถานเดียว หรือเป็นความผิดอันมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ตามกฎหมายอื่น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง


(3) บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ในเขตท้องที่หรือพื้นที่ตาม มาตรา 3 (2) อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 3 (1) หรือมาตรา 3 (2) ตลอดจนการกระทำใดๆ ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากการกระทำดังกล่าว เป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันผู้กระทำได้กระทำไป โดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

(4) การกระทำใดๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม โดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตาม กฎหมาย การกระทำใดๆ ของประชาชนทั้งผู้ชุมนุม และผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม อันมุ่งต่อการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือ การกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่น การวางเพลิง เผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

บทบัญญัติในวรรคที่หนึ่งและสอง รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าวนั้นด้วย


มาตรา 4

การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการที่มิได้ฝ่าฝืนคำสั่งการบังคับบัญชา และ/หรือ ไม่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุมไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใดๆ รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

บทบัญญัติในวรรคที่สอง ให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดนั้น


มาตรา 5


เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา ๓ (๑), (๒) และ (๓) ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัติ นี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น

มาตรา 6
ผู้ได้รับการนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ไม่สามารถก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้อง สิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น

มาตรา 7
การดำเนินการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียก ร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย

มาตรา 8
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย

มาตรา 1
มาตรา 2
มาตรา 3
มาตรา 4
มาตรา 5

มาตรา 6