ประเด็นต่อประเด็น กับข้อต่อสู้คดี "เขาพระวิหาร" ในศาลโลก ระหว่างไทย-เขมร สุดระทึก ใครได้เปรียบ-เสียเปรียบ สุดท้ายจะจบลงที่ใด? ใครจะเป็นผู้ที่สมหวัง...
ข้อต่อสู้ ฝ่ายไทย (ถ้อยแถลง) คดีประสาทพระวิหาร
1. การขอตีความของกัมพูชาบิดเบือนกระบวนการของศาลฯ ไม่ใช่การขอตีความ แต่เป็นการอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลฯ ตัดสินในเรื่องที่เคยปฏิเสธที่จะตัดสินเมื่อ 50 ปีที่แล้ว
2. พื้นที่ 4.6 ตร.กม.ที่กัมพูชาเรียกร้อง เป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฏในคดีเดิม เพราะต้องการนำพื้นที่ดังกล่าวไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก คำฟ้องของกัมพูชาไม่เข้าเงื่อนไขการขอตีความคำพิพากษาฯ ศาลฯ จึงไม่มีอำนาจรับพิจารณา กัมพูชาไม่มีอำนาจฟ้อง หรือหากศาลฯ รับพิจารณา ก็ไม่มีเหตุผลที่จะตีความฯ
3. พื้นที่ 4.6 ตร.กม.ที่กัมพูชาเรียกร้องในครั้งนี้มีขนาดกว้างกว่าพื้นที่ “บริเวณใกล้เคียง” ปราสาท ในคำพิพากษาฯ ปี 2505 ที่กัมพูชาเคยอ้างสิทธิไว้เดิม ซึ่งมีขนาดแค่ 0.35 ตร.กม.เท่านั้น

4. เส้นมติ ครม.ปี 2505 ที่ไทยใช้ในการปฏิบัติตามคำพิพากษาฯ สอดคล้องกับพื้นที่ “บริเวณใกล้เคียง” ปราสาทในคำพิพากษาฯ ซึ่งกัมพูชาไม่เคยทักท้วง แสดงว่าทั้งสองเข้าใจตรงกัน จึงไม่จำเป็นต้องตีความ ทั้งคำพิพากษาฯ ปี 2505 ไม่ได้กำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา และมิได้ระบุขอบเขตของบริเวณใกล้เคียงปราสาท
...
5. แสดงให้ศาลฯ เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของเอกสารหลักฐานที่กัมพูชาใช้ โดย “แผนที่ภาคผนวก 1” ที่ใช้อ้างมีด้วยกันหลายชุด แผนที่ชุดที่กัมพูชายื่นต่อศาลฯ ในคดีเดิมแตกต่างจากแผนที่ชุดที่นำมาใช้ครั้งนี้ ถึงขนาดมีการนำแผนที่ที่ไทยเคยนำไปยื่นต่อศาลฯ ในคดีเดิมมาแต่งเติม
6. ไทยยืนยันได้ปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวที่ศาลฯ สั่งเมื่อวันที่ 18 ก.ค.2554 คือ ไม่มีเหตุปะทะบริเวณชายแดน ไม่มีการสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย ได้ประชุมเห็นพ้อง แก้ไขปัญหาระหว่างกัน โดยใช้ช่องทาง ผ่าน MOU ปี 2543

ข้อต่อสู้กัมพูชา
1. ไม่ได้ขออุทธรณ์คดีหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาปี 2505 แต่ต้องการให้ศาลโลก ชี้ขอบเขตดินแดนกัมพูชาและบริเวณใกล้เคียงปราสาทในคำพิพากษาอยู่ตรงใดบ้าง
2. อ้างว่า คำขอของกัมพูชาเข้าเงื่อนไขของการขอให้ศาลฯ ตีความคำพิพากษาปี 2505
3. กัมพูชาเห็นว่า ศาลฯ ได้ยอมรับแล้วว่า เส้นบนแผนที่ภาคผนวก 1 ที่กัมพูชากล่าวอ้าง เป็นเส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชากับไทย
4. กัมพูชาไม่ยอมรับการปฏิบัติตามคำพิพากษาของฝ่ายไทยเมื่อปี 2505 เป็นการตีความตามความเข้าใจของไทยฝ่ายเดียว โดยเฉพาะการล้อมรั้วลวดหนามรอบปราสาทตามมติคณะ ครม.ไทย ในตอนนั้น เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ปี 2505
5. กัมพูชา พยายามเน้นเฉพาะแผนที่อัตราส่วน 1-2 แสน ชี้ให้ศาลโลกเห็นเพื่อลดความสำคัญของแผนที่ฉบับอื่นๆ ลง ทั้งแผนที่ D85, L7017
6. กัมพูชาแย้งว่า การไปเยือนปราสาทพระวิหารของสมเด็จนโรดมสีหนุ ไม่ใช่เป็นการยอมรับมติ ครม.ไทยปี 2505 และยังอ้างว่าพระองค์ทรงแสดงความไม่เห็นด้วยโดยตลอด ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ฝ่ายไทยกล่าวอ้าง

คำตัดสินศาลโลกมี 4 แนวทาง
1. ศาลโลกยกคำร้อง เนื่องจากศาลโลกไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี
2. ศาลโลกพิพากษาให้ใช้แนวเขตเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ไทย ได้คืนพื้นที่ให้กัมพูชาตั้งแต่ปี 2505
3. ศาลโลกให้ขยายเขตพื้นที่รอบตัว “ปราสาทพระวิหาร” ให้แก่กัมพูชา
4. ศาลโลกให้ใช้เส้นเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนตารางกิโลเมตร ที่ประเทศฝรั่งเศสได้กำหนดขึ้นเอง
ซึ่งแนวทางที่เป็นผลดีต่อไทยมากที่สุด คือ แนวทางแรก รองลงมาคือแนวทางที่สอง ขณะที่ทั้งไทยและกัมพูชา ยังต้องจดจ่อรอศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกตัดสินมีคำพิพากษาคดีนี้ ในอีกประมาณ 6 เดือนข้างหน้า น่าจะเป็นช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ปลายปีนี้ หรืออาจจะเร็วกว่านั้น
