ไอเอ็มเอฟ เรียกร้องไทยยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากทำลายความเชื่อมั่นในภาคการเงินของไทย และจะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง...
สำนักข่าวเอพีและรอยเตอร์รายงานเมื่อ 12 พ.ย. ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เรียกร้องไทยยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากโครงการดังกล่าวทำลายความเชื่อมั่นในภาคการเงินของไทย โดยไอเอ็มเอฟระบุในรายงานทบทวนแนวโน้มเศรษฐกิจประจำปีของไทยว่าถ้ายังไม่ ปรับเปลี่ยน การขาดทุนจะยังคงมีอย่างต่อเนื่องและว่าการขาดข้อมูลเรื่องโครงการ ได้ทำให้ความเชื่อมั่นภาคการเงินสาธารณะของไทยลดน้อยลงด้วย
รายงานเศรษฐกิจประจำปีของไอเอ็มเอฟระบุด้วยว่า รัฐบาลไทยควรควบคุมดูแลสถาบันการเงินสาธารณะทั้งที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคาร เนื่องจากความเสี่ยงด้านการเงินของไทยกำลังเพิ่มสูงขึ้น ไอเอ็มเอฟเตือนด้วยว่า ไทยควรทำให้แน่ใจว่ามีเงินสำรองมากพอเพื่อตอบสนองต่อเหตุไม่คาดฝัน จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้รวมถึงสถานการณ์ภายในไทยเองด้วย
นอกจากนี้ รายงานระบุอีกว่า การที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณไปกับนโยบายประชานิยม จะยิ่งเป็นอันตรายต่อความพยายามในการจัดสรรดุลงบประมาณ ขณะที่รัฐบาลไทยอาจขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 3.4% ของอัตราเศรษฐกิจมวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในปีงบประมาณ 2013 ที่สิ้นสุดลงเมื่อเดือนก.ย. สาเหตุเพราะการลดภาษีนิติบุคคลและการงดเว้นภาษี ส่วนหนี้สาธารณะโดยร่วมก็อาจเพิ่มขึ้นเป็น 53% ของจีดีพีภายในสิ้นปี 2018
ไอเอ็มเอฟระบุว่า ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยจึงควรพิจารณาเรื่องการลดการอุดหนุนราคาพลังงาน และเพื่อภาษีรายได้นิติบุคคล หรือยกเลิกมาตรการงดเว้นภาษีบางส่วน เพื่อให้รัฐมีรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้ นโยบายจำนำข้าวของไทยทำให้ประเทศขาดทุนถึง 1.36 แสนล้านบาท อย่างไรก็ดี มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตประธานธนาคารกลางแห่งประเทศไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเมิณว่าจริงๆแล้วนโยบายจำนำข้าวอาจทำให้ประเทศขาดทุนไปแล้วถึง 4.25 แสนล้านบาท ซึ่งไอเอ็มเอแนะว่า การหันกลับมาใช้นโยบายประกันราคาข้าวอีกครั้ง อาจช่วยชดเชยการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้บ้าง แต่นายกรัฐฒนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็เสี่ยงที่จะสูญเสียการสนับสนุนจากชาวนาจำนวนมาก
...