สถานทูตสหรัฐฯ เปิดเผยกับไทยรัฐออนไลน์ ยืนยัน หากวันนี้ ที่ประชุม ครม.ไม่เห็นชอบข้อเสนอขอใช้สนามบินอู่ตะเภา องค์การนาซา ถอนตัวแน่นอน ปัดตอบ ระยะเวลาที่แน่ชัด ที่ศูนย์ช่วยเหลือภัยพิบัติ จะตั้งอยู่ในประเทศไทย...
ภายหลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เรื่อง องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ติดต่อรัฐบาลไทยขอใช้สนามบินอู่ตะเภา สำหรับภารกิจสำรวจอากาศ จนทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ จากหลายฝ่ายว่า อาจจะเกี่ยวโยงไปถึงความพยายามเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งใหม่ของสหรัฐฯ เลยไปถึงขั้นอาจจะทำให้กระทบความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีน หากมีการดำเนินภารกิจอื่นใดที่นอกเหนือจากภารกิจสำรวจอากาศนั้น
ทางผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ของไทยรัฐออนไลน์ จึงได้ส่งอีเมล์ สอบถามประเด็นดังกล่าวไปยังนางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ซึ่งล่าสุด โฆษกประจำสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย คริสติน นีดเลอร์ ได้เป็นตัวแทนและตอบคำถามของไทยรัฐออนไลน์โดยระบุใจความว่า
1.ทำไมนาซาจึงต้องเลือกประเทศไทยสำหรับโครงการสำรวจสภาพอากาศในครั้งนี้ และเพราะเหตุใดจึงต้องเป็นที่สนามบินอู่ตะเภา รวมถึงเหตุใดต้องใช้เครื่องบินสอดแนมดัดแปลง (ER2) ในโครงการนี้
-เหตุที่นาซาเลือกสนามบินอู่ตะเภา เป็นสถานที่สำหรับดำเนินโครงการสำรวจสภาพอากาศ เป็นเพราะ ที่แห่งนี้เป็นจุดที่เหมาะสม ทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกในการเดินทาง และมีสภาพภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับรูปแบบสภาพอากาศที่นาซาสนใจ ส่วนในเรื่องเครื่องบิน 'ER2' เป็นอากาศยานที่มีประสิทธิภาพในการสำรวจสูงมาก ซึ่งถูกสร้างมาเป็นพิเศษเพื่อใช้ในโครงการทางวิทยาศาสตร์ของนาซาเท่านั้น
2. หลายฝ่ายกังวลเรื่องการดำเนินการในครั้งนี้ของสหรัฐฯ สามารถยืนยันให้คนไทยสบายใจได้หรือไม่ ว่าโครงการของนาซาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทหาร รวมถึงความกังวลว่ามีความพยายามซึ่งอาจนำไปสู่การติดตั้งขีปนาวุธและนำโดรน (เครื่องบินไร้คนขับ) มาใช้ในอู่ตะเภา
-นาซา เป็นหน่วยงานฝ่ายพลเรือน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพสหรัฐฯ โครงการดังกล่าวของนาซา เป็นโครงการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์ และข้อมูลทั้งหมดที่นาซาได้รวบรวมมาจากโครงการนี้ จะถูกนำไปเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วไปเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ของนาซา ส่วนผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะถูกนำไปตีพิมพ์ลงสื่อสิ่งพิมพ์ต่อไป ซึ่งไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน จะได้ประโยชน์อย่างมากจากข้อมูลที่นาซาได้รับจากโครงการนี้ โดยข้อมูลดังกล่าวจะช่วยพัฒนาศักยภาพของรัฐบาลไทย ในการป้องกันและอพยพล่วงหน้า หากเกิดเหตุอุทกภัยขึ้นในอนาคต รวมถึงสามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ดียิ่งขึ้นด้วย
...
3. นาซา ยื่นคำขาดว่าหากไม่ได้รับคำตอบเรื่องโครงการนี้ภายในวันที่ 26 มิ.ย. นาซาจะยกเลิกโครงการ นี่ใช้คำขู่หรือไม่ หากโครงการดังกล่าวของนาซาต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐบาลของไทยก่อน นาซาจะรอได้หรือไม่ รวมถึงหากไทยปฏิเสธจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศหรือไม่
-นาซาจะใช้เวลาในการสำรวจสภาพอากาศในหน้ามรสุมของภูมิภาคอาเซียนประมาณ 6-8 สัปดาห์ โดยโครงการนี้มีชื่อเรียกว่า “การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ, เมฆ, และ สภาพอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (SEAC4RS) ซึ่งนาซาจำเป็นต้องใช้ช่วงเวลาเดือนส.ค.-ก.ย. เพราะเป็นช่วงที่มีสภาพอาการเหมาะสมตรงตามจุดประสงค์ของนาซา อย่างไรก็ดี นาซาจำเป็นต้องยกเลิกโครงการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้หากต้องใช้เวลานานเกินไป ในการขนย้ายและติดตั้งอุปกรณ์ ก่อนที่จะเข้าสู่หน้ามรสุมในเดือนส.ค. เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้ และดูเหมือนว่า ทางนาซาก็ไม่สามารถเลื่อนกำหนดการได้เช่นกัน
สำหรับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และมีความร่วมมือกันหลายๆ ด้านรวมถึงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน ถ้าหากโครงการนี้ของนาซาไม่ได้รับการอนุมัติจะเป็นการเสียโอกาสในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
4. หลายฝ่ายมองว่าความพยายามรุกคืบเข้ามามีบทบาทในอาเซียนของสหรัฐฯ มีความเกี่ยวข้องกับจีนใช่หรือไม่ และเห็นอย่างไรกับท่าทีกังวลต่อเรื่องนี้ของจีน
-สหรัฐฯ เห็นว่าชาติอาเซียนเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งในหลายๆ ด้าน รวมถึงการค้าและการลงทุน, การแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เช่น การจัดการภัยพิบัติ และสหรัฐฯคิดว่าจีนก็เป็นอีกหนึ่งหุ้นส่วนที่สำคัญในเอเชียเช่นกัน
5. สหรัฐฯ ได้เสนอและเจรจากับรัฐบาลไทยถึงเรื่องการขอตั้งศูนย์บรรเทาภัยพิบัติขึ้นที่ สนามบินอู่ตะเภา แต่ยังมีความคลุมเครือในเรื่องของระยะเวลาในการประจำการ สามารถบอกได้หรือไม่ว่า ศูนย์แห่งนี้จะตั้งอยู่นานเท่าใด
-เราได้เจรจากับรัฐบาลของไทย เพื่อหาหนทางในการปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งศูนย์บรรเทาภัยพิบัติที่อู่ตะเภา จะใช้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง พันธมิตรในภูมิภาค ผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเทาภัยพิบัติ และผู้แทนจากศูนย์บรรเทาภัยพิบัติอื่นๆ อย่างเช่น ศูนย์ความร่วมมือเพื่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในอาเซียน (AHA Centre) หรือ ศูนย์เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติอาเซียน ส่วนในเรื่องของระยะเวลา ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการหารือเท่านั้น และยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ ออกมา
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
2. There are many people who concern about this project, can you console Thai people that the project isn’t for military purpose? even there is concern about an effort that may lead to installation missile include taking ‘drone’ to Utapao airport.
...
3. NASA said that if Thailand doesn’t have any answer for its request within June 26th, they will cancel the project. Is this a threat? So if Thailand deny NASA's request, can this affect to relationship between Thailand and US? And if the project must have agreement from Thai parliament, will NASA wait for an answer?
...
4. Recently US try to take part in ASEAN, Is this because of China? , and how do you think about China’s concern for th e NASA mission?
...
5. US've discussed with Thailand about creating a regional disaster-relief hub at Utapao airport, but it has been vague in public about the duration, Can you tell me how long it lasts?