ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออกกุ้งเข้าสหรัฐฯรายใหญ่ ที่สุด โดยคิดเป็นน้ำหนักกว่า 180 ล้านกิโลกรัม เฉพาะช่วง 11 เดือนแรกของปีกลายทั้งที่สหรัฐฯตั้งด่านกำแพงภาษี...

เมื่อ 1 ก.พ. บรรดา ส.ส.จากรัฐในแถบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ ร่วมกับผู้ ประกอบการค้ากุ้งภายในประเทศ ชี้แจงต่อคณะกรรมการที่กำลังพิจารณาเรื่องกำแพงภาษีกุ้ง ที่กำหนดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2548 ด้วยการผลักดันขอให้ขยายเวลาออกไปจนถึงปี 2559 ก่อนที่คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศกับสำนักงานเขตปกครองสหรัฐฯ ลงมติราวกลางเดือน มี.ค.นี้ เพื่อแก้ปัญหาการทุ่มตลาด หรือการตั้งราคาของผู้ส่งออกที่ต่ำกว่าในประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออกกุ้งเข้าสหรัฐฯรายใหญ่ ที่สุด โดยคิดเป็นน้ำหนักกว่า 180 ล้านกิโลกรัม เฉพาะช่วง 11 เดือนแรกของปีกลายทั้งที่สหรัฐฯตั้งด่านกำแพงภาษี

ส.ว.แท็ด โคครัน จากรัฐมิสซิสซิปปี สังกัดพรรครีพับลิกัน เผยว่า การเลิกตั้งกำแพงภาษีอาจสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมกุ้งภายในประเทศตลอดไป ขณะที่ตัวแทนจากกลุ่มต่างชาติผู้ส่งออกกุ้งไม่เห็นด้วยกับการตั้งกำแพงภาษี โดยอ้างถึงข้อจำกัดในกรอบของตลาดค้าเสรีทั้งที่ไม่มีการรับรองว่าจำกัดจริงหรือไม่ พร้อมปฏิเสธข้อกล่าวโทษว่าสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมกุ้งสหรัฐฯ

ขณะเดียวกัน  กว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานอุตสาหกรรมประมงบริเวณอ่าวเม็กซิโกเป็นลูกหลานชาวเวียดนามที่ต่างสนับสนุนการตั้งกำแพงภาษี ทั้งนี้ พื้นที่รอบอ่าวเม็กซิโก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเขตปกครองยากไร้ที่สุดในสหรัฐฯประสบปัญหาหนักเรื่องน้ำมันบีพีรั่วกลางอ่าวเม็กซิโกเมื่อปีกลาย ทั้งที่เพิ่งประสบภัยพายุแคทรีนาถล่มเมื่อ 5 ปีก่อน.