สิว (acne) มักเป็นในวัยรุ่น แต่บางครั้งเลยวัยรุ่นไปแล้วก็อาจเป็นได้ วัยรุ่นชายมีปัญหาเรื่องสิวมากกว่าวัยรุ่นหญิง ในขณะที่วัยรุ่นหญิงในช่วงมีประจำเดือนจะพบว่าเกิดสิวได้ง่าย "สิวหัวขาว" เป็นเม็ดนูนเล็กๆ ไม่มีรูเปิด ถ้ามีรูเปิดที่ผิวหนังมองเห็นเป็นจุดดำอยู่ตรงกลางเรียก "สิวหัวดำ" สิวอาจเกิดเป็นตุ่มนูนเล็กๆ แดงๆ อาจเห็นเป็นตุ่มหนอง หรือตุ่มนูนแข็งเม็ดโต หรือตุ่มแดงอักเสบแบบถุงซีสต์ ที่เรียกกันว่า "สิวหัวช้าง" สิวที่สร้างความวิตกกังวลมากที่สุดคือ สิวบริเวณใบหน้า แต่ในบางรายอาจพบมากที่บริเวณลำคอ แผ่นหลัง หน้าอก และลำตัว

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิว

ความผิดปกติของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้าปริมาณสารไขมันที่สร้างมาจากต่อมไขมันเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่าPropionibacterium acnes  ความรุนแรงของปฎิกิริยาอักเสบที่เกิดขึ้น ความผิดปกติของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า
เซลล์ในชั้นหนังกำพร้าจะมีการมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ และลอกหลุดง่ายกว่าปกติ

จากการศึกษาวิจัยระยะหลังๆ นี้ พบว่าความผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องมาจาก โปรตีนสองชนิดที่ร่างกายผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โปรตีนทั้งสองชนิดเป็นสารเคอราติน มีชื่อเรียกว่า keratin 6 และ keratin 12

ความสำคัญและบทบาทของโปรตีนทั้งสองชนิดนี้ กำลังได้รับความสนใจและนำมาศึกษาวิจัยในห้องปฎิบัติการอย่างกว้างขวาง และมียาใหม่ที่อยู่ในขั้นทดลองหลายชนิดด้วยกัน

โดยปกติเซลล์จะหลุดลอกจากเยื่อบุของรูขุมขน และต่อมไขมันจะช่วยเคลื่อนย้ายไปที่ผิวหนังส่วนนอก หากกระบวนการเคลื่อนย้ายถูกอุดกั้น ก็จะทำให้เกิดสิวขึ้น เรียกว่า retention hyperkeratosis

ยารักษาสิวชนิดทาที่ช่วยรักษาความผิดปกติของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า ได้แก่ tretinoin, isotretinoin และ salicylic acid รวมทั้งยาในกลุ่มเรตินอยด์ชนิดใหม่ๆ เช่น tazarotene และยาปฏิชีวนะชนิด azelaic acid
ยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ topical tretinoin (Retin-A), adapalene (Differin), topical tazarotene (Tazorac), isotretinoin (Accutane) และ acitretin (Soriatane)

...

ไขมันที่สร้างมาจากต่อมไขมัน

การอักเสบของต่อมสร้างไขมัน บริเวณของรูขุมขนที่มีอยู่ทั่วไปตามผิวหนังของคนเรา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสิว ต่อมสร้างไขมันบริเวณรูขุมขนนี้ มีหน้าที่สร้างไขมันมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่แห้ง มีความชุ่มชื้น บางครั้งมีการสร้างไขมันมากเกินไป ทำให้คั่งค้างอยู่ในรูขุมขนและเกิดการอักเสบ ต่อมาเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้ามา จะทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นหัวสิว หรือตุ่มหนอง จากการศึกษาพบว่าปริมาณของไขมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรุนแรงของสิว

ตำแหน่งต้นตอที่เกิดสิว คือ ต่อมไขมัน ต่อมไขมันมีหน้าที่ผลิตไขมัน และมีท่อเปิดออกสู่รูขุมขน เพื่อให้ไขมันออกมาหล่อลื่นผิวหนังภายนอก ต่อมไขมันที่แต่ละตำแหน่งของร่างกาย มีขนาดและความหนาแน่นไม่เท่ากัน บริเวณใบหน้าจะมีต่อมไขมันขนาดใหญ่ และหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น เราจึงพบสิวบริเวณใบหน้าได้บ่อย การสร้างไขมันขึ้นกับฮอร์โมนแอนโดรเจนและเอสโตรเจน แอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชายกระตุ้นให้มีการสร้างไขมัน โดยกระตุ้นเซลล์ที่เรียกว่า "ซีโบซัยท์" (sebocyte) ในขณะที่เอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงยับยั้งการสร้างไขมัน

เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากเซลล์สร้างไขมันมีโปรตีนตัวรับแอนโดรเจนอยู่ในนิวเคลียส ความไวของโปรตีนตัวรับจึงเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดสิวที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป และมักจะรักษาไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก
เหตุที่สิวมักเกิดในวัยรุ่น เนื่องจากในวัยนี้จะมีระดับฮอร์โมนเพศสูง ทำให้กระตุ้นต่อมสร้างไขมันบริเวณขุมขนให้ผลิตไขมันออกมามากขึ้น ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดสิวได้มากยิ่งขึ้น เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดน้อยลงในช่วงท้ายๆ ของวัยรุ่น หรือในช่วงอายุ 20 ปีเศษ

ยาที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น norgestimate, desogestrel ยาต้านแอนโดรเจน เช่น cyproterone acetate และ spironolactone การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ต่อมสร้างไขมัน พบว่า testosterone เปลี่ยนเป็น dihydrotestosterone ซึ่งมีความแรงในการออกฤทธิ์มากกว่า เอนไซม์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องชื่อ 5-reductase จากรายงานการศึกษาวิจัยระยะหลัง ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง type II reductase ไม่สามารถลดการสร้างไขมันได้ ทำให้เชื่อว่ากลไกสำคัญอยู่ที่ type I isoenzyme มากกว่าเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า Propionibacterium acnes หรือ P.acnes

ในระยะแรกที่เริ่มเกิดหัวสิวมักจะตรวจไม่พบเชื้อนี้ แต่ในระยะท้ายๆ หรือระยะที่มีการอักเสบจะตรวจพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ทุกราย เดิมทีเดียวเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ทำให้เกิดสิวได้อย่างไร แต่ผลการศึกษาวิจัยระยะหลังมานี้ เพิ่งจะพบว่าเชื้อแบคทีเรียกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวสองชนิดคือ โมโนซัยท์และนิวโตรฟิล ให้หลั่งโปรตีนสามชนิด IL-12, IL-8, และ TNF เป็นต้นเหตุให้เกิดการอักเสบขึ้น นอกจากนี้แต่ละคนยังมีความไวต่อเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ไม่เหมือนกัน คนที่ไวมากจะเกิดโรคที่มีความรุนแรงมาก

เชื้อแบคทีเรีย P.acnes ย้อมติดสีแกรมบวก เป็นแบคทีเรียชนิดไม่พึ่งออกซิเจน ผลิตเอนไซม์ไลเปสย่อยสารไตรกลีเซอไรด์ในไขมันที่ผลิตจากต่อมไขมัน ให้กลายเป็นกลีเซอรอลและกรดไขมันอิสระ ช่วยให้แบคทีเรียเติบโตได้ดีขึ้น และกระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบให้รุนแรงขึ้น

ยาปฏิชีวนะชนิดทาที่นิยมใช้ ได้แก่ erythromycin, clindamycin, metronidazole, azelaic acid, และ benzoyl peroxide ส่วนชนิดรับประทาน ได้แก่ tetracycline, erythromycin, minocycline, doxycycline, clindamycin และ trimethoprim–sulfamethoxazole อย่างไรก็ตามการรักษาสิวโดยใช้ยาปฎิชีวนะเพียงอย่างเดียวจะไม่ได้ผลดีในผู้ป่วยทุกราย

การรักษาด้วยแสงชนิด Blue light therapy ซึ่งเป็นแสงคลื่นต่ำที่มีความเข้มสูง ได้รับความนิยมในการรักษาสิว ทำงานโดยการฆ่าเชื้อ P.acnes และใช้รักษาสิวอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาชนิดอื่น โดยทั่วไปจะรักษา 8 ครั้ง ในระยะเวลา 4 อาทิตย์ ใช้เวลา 15 นาทีในแต่ละครั้ง พบว่าเกิดผลข้างเคียงน้อย ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Pulsed light and heat energy (LHE) therapy สามารถทำลายเชื้อ P. acnes และลดการผลิตไขมัน โดยการไปทำให้ต่อมไขมันหดตัวลง เป็นระบบที่ใช้แสงสีเขียวและความร้อน สำหรับสิวที่เป็นน้อยและปานกลาง

...

ปฎิกิริยาอักเสบที่เกิดขึ้น
ความรุนแรงของสิวแต่ละคนแตกต่างกันไป บางรายเป็นมาก บางรายเป็นน้อย ขบวนการอักเสบจะกำเริบได้ในช่วงมีความเครียด เช่น อดนอน หรือในผู้หญิงช่วงใกล้มีประจำเดือน นอกจากนี้การบีบแกะสิวจะกระทบกระเทือนและนำเชื้อโรคเกิดการอักเสบมากขึ้น และมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นเมื่อสิวหายแล้ว และที่พบได้บ่อยๆ

ยาบางอย่าง เช่น ยาที่มีสเตียรอยด์ผสมอยู่ หรือยาป้องกันการชักบางชนิด ก็ทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน การรับประทานยาที่ได้รับมาหรือซื้อหามาเองต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากยานั้นมีสเตียรอยด์อยู่ด้วยจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้

ถ้าสิวรุนแรงหรืออักเสบมากขึ้น อาจต้องใช้ยารับประทาน ร่วมกับยาทา ยารับประทานในการรักษาสิว มีสามกลุ่มหลัก ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยากลุ่มกรดวิตะมินเอ และยาในกลุ่มฮอร์โมน ยารับประทานทั้งสามกลุ่ม ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ กว่าจะได้ผลเต็มที่ และมักต้องให้ยาต่ออีกระยะ หลังได้ผลในการรักษาแล้ว จึงจำเป็นต้องใช้ในความควบคุมดูแลของแพทย์ เพราะการรับประทานยาเหล่านี้ในระยะเวลานานๆ มีความจำเป็นต้องตรวจเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา เช่น ตรวจดูการทำงานของตับไต ไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น นอกจากนั้น แพทย์จะช่วยประเมินให้ได้ว่า มีความเสี่ยงในการใช้ยาในกลุ่มดังกล่าวหรือไม่ เช่น คนที่มีประวัติมะเร็งเต้านม หรือเส้นเลือดอุดตันในครอบครัว คนที่สูบบุหรี่ ไม่ควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นต้น

ปัจจุบันยังมีการนำแสงเลเซอร์และแสงความเข้มสูงมาใช้ในการรักษาสิว ผลการศึกษาพบว่าได้ผลดีพอสมควร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในกรณีไม่สามารถใช้การรักษาโดยวิธีมาตรฐานได้

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

...