หากอยากให้ลูกน้อยเติบโตเป็นผู้ใหญ่หุ่นสูงชะลูดดูดีมีราศี อาจต้องใส่ใจกับอาหาร และการออกกำลังกายให้ถูกวิธีเสียตั้งแต่ยังเล็ก
เชื่อว่าคุณพ่อ คุณแม่ทุกคนคงปรารถนาที่จะเห็นลูกน้อยเติบโตสูงใหญ่ไม่เตี้ยกว่าเพื่อนๆ เพราะความเตี้ยถือเป็นปมด้อยที่อาจไปทำลายความมั่นใจของลูกรัก และอาจมีผลต่อการประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย การที่คุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่ในการเลี้ยงลูก ดูแลทั้งทางด้านโภชนาการ การติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด รวมถึงการส่งเสริมลูกด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามวัยนั้น เป็นสิ่งถูกต้องและสมควรทำอย่างยิ่ง สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเมื่อพบว่า
- ลูกมีลักษณะอ้วนเตี้ย
- คุณพ่อ คุณแม่เตี้ย
- น้อง (พ่อแม่เดียวกัน) สูงเกือบเท่า หรือสูงเท่ากัน หรือสูงกว่า
- ความสูงของลูกเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 3 ซม. ในรอบปีที่ผ่านมา
- ลูกน้ำหนักน้อยและตัวสั้นตั้งแต่เกิด
- ลูกหญิงโตเร็วก่อนอายุ 10 ปี และลูกชายโตเร็วก่อนอายุ 11 ปี
- ลูกมีความพิการทางร่างกาย และสติปัญญา
- มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
- ลูกมีอาการเบื่ออาหาร
- ลูกขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ช่วยบ่งชี้ว่าเด็กมีแนวโน้มจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เตี้ย แต่สามารถแก้ไขได้ ถ้าหากเด็กอยู่ในช่วงวัยที่เหมะสม องค์ประกอบหลักใหญ่ๆ ที่กำหนดความสูงของแต่ละคนได้แก่
...
- กรรมพันธุ์
- สิ่งแวดล้อม (อากาศ และอุณหภูมิ)
- สารอาหารที่ได้รับในช่วงที่เหมาะสมกับวัย
- วิถีชีวิต การปฏิบัติตัว เช่น การพักผ่อน การออกกำลังกาย ความเครียด
ความจริง ปัจจัยที่ 3 และปัจจัยที่ 4 สามารถเปลี่ยนแปลงความสูงของเด็กได้ แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ขาดข้อมูลความรู้ในปัจจัยเรื่องสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและการเจริญเติบโตของกระดูก ซึ่งจะส่งผลต่อรูปร่าง และความสูงของเด็กได้ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือโปรตีนและแคลเซียม รวมทั้งอาหารกลุ่มที่ให้วิตามินและเกลือแร่ ถ้าเด็กได้รับอาหารเหล่านี้พอเพียงกับร่างกาย ต้องการตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ วัยก่อนเรียน วัยเรียน จนกระทั่งวัยรุ่นเด็กก็จะมีความสูงเป็นไปตามพันธุกรรมที่ควรจะเป็น แต่ถ้าเด็กได้อาหารไม่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย มีการขาดสารอาหารเป็นระยะๆ เด็กจะมีการเจริญเติบโตด้านความสูงไม่เต็มที่
ในปัจจุบัน ผู้ปกครองมีทางเลือกในการเสริมแคลซียมให้กับเด็กๆ ได้ โดยเลือกให้รับประทานจากนม หรือ อาหารเสริมแคลเซียมในรูปแบบต่างๆ เช่น แบบเม็ดแคปซูล หรือแบบเคี้ยวที่มีลักษณะเหมือนขนมที่มีการปรับปรุงรสชาติให้เด็กรับประทานได้ง่ายขึ้น โดยปริมาณของแคลเซียมที่เด็กควรจะได้รับต่อวัน คือ วันละ 800 มิลลิกรัม นอกจากนั้นการปฏิบัติตัวและการออกกำลังกายให้เหมาะสมก็มีส่วนช่วยต่อการเจริญเติบโต และโดยธรรมชาติของเด็กจะมีการวิ่งเล่นและออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว กีฬาที่มีการศึกษาแล้วว่ามีผลต่อการเพิ่มความสูงได้ เช่น การว่ายน้ำ บาสเกตบอล กระโดดเชือก เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก ภญ.ณัฎฐ์จิตรา ตรีพงษ์ชัย