แม้ภาพของรถในอนาคตจะได้รับการสร้างขึ้นจากนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงนั้น รถในปัจจุบันได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเพื่อตอบสนองต่อความทุกความต้องการของผู้ขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานได้แก่ ความสะดวกสบายและความปลอดภัย และความต้องการที่มากขึ้นกว่าเดิม...

บริษัท Ford Motor Company ช่วยในการขับเคลื่อนอนาคตของรถด้วยการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่สร้างประสบการณ์การขับขี่ที่เหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง (Voice control) เทคโนโลยีการป้องกันอุบัติเหตุ (Accident prevention) และเทคโนโลยีการติดตามเฝ้าระวังทางการแพทย์ (Medical monitoring) Ford ได้เปลี่ยนนิยายทางวิทยาศาสตร์สู่โลกแห่งความเป็นจริง

...


Ford วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการจดจำเสียงให้ใช้งานได้ง่าย และตรงกับเสียงของผู้ขับขี่ ด้วยการทดลองระบบชุดของคำสั่งที่สร้างไว้ตามขั้นตอนกับความต้องการและความหมาย สำหรับระบบการจดจำเสียงของ Ford SYNC โดย Ford Motor Company ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีอย่าง นูอันซ์ คอมมิวนิเคชั่น ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ด้านการจดจำเสียง เทคนิคใหม่นี้สามารถจดจำคำพูดหรือประโยคที่ผู้ขับขี่อาจจะใช้บ่อยๆ ในการสนทนา แต่ไม่ใช่คำสั่งหรือโครงสร้างภาษาที่ระบบซิงค์ในปัจจุบันจำได้ หมายความว่าระบบแปลคำสั่งของผู้ขับขี่และนำเสนอประสบการณ์การสนทนาที่มากกว่า ระบบการแปลความต้องการของผู้ใช้งานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โปรแกรมการจดจำด้วยเสียงนั้นไม่เพียงแต่ฟัง สิ่งที่ผู้ขับขี่สื่อสารเท่านั้นแต่ยังสามารถ เข้าใจ สิ่งที่ผู้ขับขี่ต้องการได้ดี


การขับรถในเมืองใหญ่ที่มีการปาดและแซงกันเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ นอกจากจะก่อให้เกิดภาวะความเครียดแล้ว ยังอันตรายด้วย Ford ได้ติดตั้งเทคโนโลยีอันชาญฉลาดเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถรับมือกับความเครียดในการขับรถในเมืองได้ง่ายขึ้น รถ New Ford Focus ซึ่งได้เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้ติดตั้งเทคโนโลยีอันชาญฉลาด ซึ่งโดยปกติแล้วจะพบได้ในรถที่มีขนาดใหญ่และราคาสูงกว่าเท่านั้น ทั้งนี้สองเทคโนโลยีอัจฉริยะที่จะช่วยผู้ขับขี่ในการลดการเกิดอุบัติเหตุและได้รับการติดตั้งเป็นครั้งแรกในรถเซ็กเมนต์นี้ ได้แก่


ระบบช่วยเบรกที่ความเร็วต่ำ (Active City Stop)
ระบบช่วยเบรกที่ความเร็วต่ำช่วยลดความเสี่ยงจากการชนเมื่อขับที่ความเร็วต่ำได้ด้วยการส่งสัญญาณตรวจไปบนถนนข้างหน้าเมื่อการจราจรติดขัด และช่วยเบรกอัตโนมัติหากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการชนเมื่อขับที่ความเร็วต่ำกว่า 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง เซ็นเซอร์ของ lidar หรือ

...


Light Detection And Ranging ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านบนสุดของกระจกหน้ารถจะสแกนพื้นที่ประมาณ 7.6 เมตรด้านหน้ารถเพื่อตรวจหาวัตถุที่อาจขวางอยู่ข้างหน้าหากตรวจพบว่ารถคันข้างหน้าเบรก ชะลอ หรือจอดนิ่งๆ และคาดว่าอาจเกิดการชนได้ ระบบจะทำงานในสภาพพร้อมเบรก หากไม่มีการตอบสนองจากผู้ขับขี่ (ไม่มีการหมุนพวงมาลัยหรือเหยียบเบรก) ระบบจะส่งแรงเบรกไปยังล้อต่างๆ แบบอัตโนมัติ พร้อมลดแรงบิดของเครื่องยนต์ ทั้งนี้การที่คณะกรรมาธิการยุโรป จะให้รถทุกคันติดตั้งเทคโนโลยีเบรกฉุกเฉินเป็นอุปกรณ์มาตรฐานภายในปี 2557


ระบบตรวจจับรถในจุดบอด (Blind Spot Information System - BLIS)
ระบบนี้จะช่วยเตือนผู้ขับขี่ให้ทราบเมื่อมีรถขับเข้ามายังพื้นที่ซึ่งเป็นจุดบอดทั้งด้านซ้ายและขวาของรถ อุปกรณ์ดังกล่าวใช้ชุดเรดาร์แบบมีรัศมีหลายด้านซึ่งติดตั้งอยู่ที่มุมด้านนอกของกันชนท้ายตรวจดูว่ามีรถขับเข้ามาในส่วนที่เป็นจุดบอดหรือไม่ หากพบระบบจะแสดงไฟสัญญาณบนกระจกข้างเพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบว่ามีรถขับเข้ามาใกล้ส่วนที่เป็นจุดบอดระบบจะเริ่มทำงานเมื่อขับรถที่ความเร็วสูงกว่า 10 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเป็นช่วงการทำงานที่กว้างกว่าระบบที่ติดตั้งอยู่ในรถอื่นๆ ซึ่งวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน การทำงานของระบบดังกล่าวใน New Ford Focus จึงมีประสิทธิภาพอย่างมากสำหรับการขับขี่ท่ามกลางการจราจรที่ติดขัดและสภาพการจราจรบนถนนใหญ่ที่เคลื่อนตัวช้าซึ่งอาจมีการชนเกิดขึ้นได้

รถที่สามารถขับได้เองโดยใช้ระบบ “ออโต้ไพล็อต” อาจฟังเป็นเรื่องที่ยังห่างไกลในอนาคต แต่ มร.บิล ฟอร์ด ประธานบริษัท Ford ได้กล่าวไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เราอาจจะได้เห็นรถที่ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์บนท้องถนนภายในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งรถเหล่านี้จะสามารถสื่อสารกับรถคันอื่นที่อยู่บนท้องถนน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ถนน ทั้งยังสามารถเตือนผู้ขับขี่ถึงอุบัติเหตุข้างหน้าและความสามารถอื่นๆ อีกมากมาย ในอนาคตอันใกล้นี้หรือภายใน 7 ปีข้างหน้า Ford เชื่อว่ารถจะมีระบบเตือนระหว่างรถด้วยกันเองและระบบ “ออโต้ไพล็อต” ในช่วงที่การจราจรเคลื่อนไปได้ช้า และระหว่างปี พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2568 จะมีรถที่เป็นระบบช่วยขับขี่กึ่งอิสระที่สามารถสื่อสารระหว่างคันได้

...


New Focus เป็นรถที่นำเสนอแนวโน้มการขับขี่ในอนาคต ด้วยระบบช่วยจอดอัจฉริยะ (Active Park Assist) เทคโนโลยีอันทันสมัยที่ช่วยหมุนพวงมาลัยเข้าเทียบจอดในพื้นที่ว่างได้แบบอัตโนมัติเพียงกดปุ่มสั่งงานบนแผงควบคุมอุปกรณ์ ซึ่งจะสั่งงานให้เซ็นเซอร์แบบอัลตร้าโซนิก (Ultrasonic) สแกนหาพื้นที่จอดและพวงมาลัยพาวเวอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (EPAS) ในการกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อการเทียบจอด รวมถึงคำนวณองศาฯ ในการหมุนพวงมาลัย และบังคับทิศทางของพวงมาลัยเพื่อเทียบจอดในพื้นที่ว่างอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ผู้ขับขี่ยังคงต้องควบคุมคันเร่งและเบรก และเปลี่ยนเกียร์เพื่อเดินหน้าหรือถอยหลัง นับว่าเป็นระบบอัจฉริยะที่ใช้เซ็นเซอร์ด้านหน้าและหลังของรถ ทั้งยังใช้งานง่ายเมื่อเทียบกับระบบกล้องโดยคู่แข่ง และด้วยระบบช่วยจอดอัจฉริยะ (Active Park Assist) นี่เองทำให้การเทียบจอดไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้ขับขี่อีกต่อไป เพียงแค่กดปุ่มสั่งงานเท่านั้น

จากการที่ผู้ขับขี่ในปัจจุบันใช้เวลาอยู่ในรถเพิ่มมากขึ้น รวมถึงภาวะความเครียดจากการขับขี่และการที่คนในปัจจุบันมีอายุเพิ่มมากขึ้น Ford ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภครวมถึงแนวโน้มใหม่ๆ ที่จะเป็นสิ่งที่กำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อไปในอนาคต.

...