ตามที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาอุทกภัยขั้นร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั่วประเทศกว่า 60 จังหวัด นับเป็นปัญหาภัยธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร การคมนาคมขนส่ง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ริเริ่มจัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ “ฝ่าวิกฤติอุทกภัย: Mobility in the time of Flood” ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงในยามที่ประเทศเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง โดยโครงการนี้จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนได้ริเริ่ม คิดค้นวิธีที่จะต่อสู้และอาศัยอยู่กับร่วมกับธรรมชาติในภาวะวิกฤติ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกสาธารณะ และผลประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติในหมู่ประชาชนชาวไทย

เยาวชนไทยสุดเจ๋ง ประชันไอเดีย'ยานพาหนะเอาชนะน้ำท่วม'
เยาวชนไทยสุดเจ๋ง ประชันไอเดีย'ยานพาหนะเอาชนะน้ำท่วม'

...


สำหรับโจทย์ของการประกวดในครั้งนี้ คือ เราจะช่วยผู้คนเดินทางสัญจรทางน้ำได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ด้วยวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือใกล้ตัวที่เหลือใช้ หาได้ง่ายได้อย่างไร ผู้สนใจจะต้องพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในการเคลื่อนย้ายซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้ที่ 160 กิโลกรัม ในพื้นที่น้ำท่วมโดยสะดวกและปลอดภัย ซึ่งอาจจะเป็นแพและใช้จักรยานที่สามารถขับเคลื่อนหรือปั่นในน้ำ แทนที่จะใช้การพาย มีความถ่วงสมดุลและสามารถลอยน้ำได้ โดยใช้วัสดุทั่วไปที่ต้นทุนต่ำ หาง่ายและมีอยู่ในท้องถิ่น สร้างขึ้นโดยง่ายเพื่อให้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้งานที่ใดก็ได้ในประเทศไทย ทั้งนี้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของผู้ประดิษฐ์ แต่ผลงานต้องเปิดเผยและเผยแพร่ให้เป็นสมบัติสาธารณะ และอนุญาตให้คนไทยใช้งานได้ทั่วไป และสามารถนำไปผลิตเพื่อใช้งานจริงได้

เยาวชนไทยสุดเจ๋ง ประชันไอเดีย'ยานพาหนะเอาชนะน้ำท่วม'



และสิ่งที่เหนือความคาดหมายในการจัดงานครั้งนี้ คงเป็นการร่วมมือร่วมแรงและระดมความคิดจากนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่พร้อมใจส่งผลงานเข้าประกวดถึง 70 ทีม โดยแต่ละทีมก็ตั้งอกตั้งใจประดิษฐ์ยานพาหนะต่อสู้น้ำแข็งขัน แต่อย่างไรก็ตามรางวัลย่อมต้องมีเพียง 2 ทีมจะคว้าไปได้จาก 2 รางวัลชนะเลิศ โดย'ทีม EN 1 เพื่อผู้ประสบภัย' สามารถครองแชมป์สิ่งประดิษฐ์ความเร็วสูง และอีกรางวัลสำหรับสิ่งประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ตกเป็นของ 'ทีม 2อิน1 โบต' ซึ่งคณะกรรมการได้ลงความเห็นตรงกันว่านาวาฝ่าวิกฤติของทั้ง 2 ทีมมีคุณสมบัติตรงกับเป้าหมายที่โครงการตั้งเอาไว้ อีกทั้งสามารถนำไปใช้ได้จริง และคาดว่าจะนำลงพื้นที่ประสบภัยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปได้ใช้สัญจรทางน้ำในช่วงอุทกภัยครั้งนี้

เยาวชนไทยสุดเจ๋ง ประชันไอเดีย'ยานพาหนะเอาชนะน้ำท่วม'
เยาวชนไทยสุดเจ๋ง ประชันไอเดีย'ยานพาหนะเอาชนะน้ำท่วม'