“แม้โครงการรับจำนำจะมีต่อเนื่อง แต่ถ้าชาวนาใช้พันธุ์ข้าวคุณภาพดี จะทำให้ผลผลิตข้าวโดยรวมของไทยมีคุณภาพดีขึ้น สามารถส่งขายตรงให้กับบริษัท โรงสีเอกชน ได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบจำนำให้เสียเวลา”
แต่การเปลี่ยนโครงสร้างให้ไทยมีเมล็ดพันธุ์ที่ดีขึ้นนั้น นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือข้าวตราฉัตร บอกว่า ต้องใช้เวลา 3-5 ปี ซึ่งวันนี้ซีพีได้ร่วมกับกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาระบบการปลูกข้าวเป็น GAP เมื่อระบบดังกล่าวเดินหน้าจะทำให้คนไทยได้บริโภคข้าวที่คุณภาพดีขึ้นและมีข้าวคุณภาพดีส่งออกแข่งขันกับตลาดต่างประเทศทั้งเวียดนาม พม่า อินเดีย ปากีสถาน และกัมพูชา

ด้วยปัจจุบันกรมการข้าวมีเมล็ดพันธุ์ ใหม่ๆ อยู่ในศูนย์วิจัยเป็นจำนวนมาก แต่ที่ จะออกสู่ตลาดเร็วๆนี้มี 3 สายพันธุ์ 1.ข้าว เปลือกขาวดอกมะลิ 105 ที่พัฒนาพันธุ์ให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้นเพื่อหนีคู่แข่งอย่างกัมพูชาและเวียดนาม 2. พันธุ์ปทุมธานี 1 ที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ และ 3. พันธุ์ชัย-นาท 1 ที่เหมาะจะนำไปทำเป็นข้าวนึ่งคุณภาพดี แต่หลายปีที่ผ่านมาไม่ค่อยได้รับความนิยมปลูก เนื่องจากไม่ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพื่อยกระดับการปลูกข้าวระบบ GAP ซีพีร่วมกับกรมการข้าวส่งเสริมให้ชาวนาปลูกข้าวแบบเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์หอมมะลิ 105 รุ่นใหม่ ในพื้นที่เหมาะสมซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ใน 4 จังหวัด ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, ยโสธร และอุบลราชธานี ในฤดูนาปีที่จะถึงนี้.
...