นายวิรัตน์ ตันหยงปัจจุบันต้องยอมรับกันว่าบ้านเราสามารถส่งผลิตผล “สุกร” ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยผลิตภัณฑ์แปรรูปปรุงสุกส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ส่วนสุกรมีชีวิตส่งออกไปยังกัมพูชา ลาว และพม่า ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะเกษตรกรหลายรายมีหัวก้าวหน้า สามารถพัฒนา การเลี้ยงนอกจาก “ปลอดโรคปากเท้าเปื่อย” ยัง “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” และสุกรขุนจาก อภิรัตน์ฟาร์ม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เป็นหนึ่งในจำนวนนี้นายสุระกิจ ยะราช ผู้จัดการทั่วไป กิจการผลิตสุกรภาคกลาง-ตะวันออก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการทำฟาร์มปศุสัตว์ของซีพีเอฟจะให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงแม้ในตอนแรกเราจะคัดเลือกสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ห่างไกลจากชุมชนมากเท่าไหร่ แต่ที่สุดแล้วในอนาคตชุมชนก็จะขยายตัวเข้ามาใกล้กับฟาร์มอย่างแน่นอน ทำให้ต้องกลับมาคิดถึงวิธีการจัดการวางแผนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ...ด้วยการส่งเสริมให้ทำ “ฟาร์มระบบปิด” ซึ่งระบบดังกล่าวปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ สามารถลดกลิ่นจากการเลี้ยงสัตว์ ลดก๊าซแอมโมเนีย รวมถึงก๊าซมีเทน สาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ตลอดจนการใช้ระบบไบโอแก๊สเพื่อจัดการของเสียจากการเลี้ยงสัตว์ ช่วยลดสัตว์พาหะ เช่น แมลงวัน ลดกลิ่น และยังได้ไบโอแก๊สนำมาปั่นเป็นไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม...นายวิรัตน์ ตันหยง รองกรรมการผู้จัดการ บอกถึงการส่งเสริมเลี้ยงสุกรเกษตรกรรายย่อยว่า ทางบริษัทจัดหาพันธุ์สัตว์ อาหาร ยา วัคซีน คำแนะนำในการเลี้ยง และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมทางวิชาการ รวมทั้งการจัดการภายในฟาร์มให้เกษตรกร ตลอดระยะเวลาจะมีนักวิชาการมาดูแล เพื่อให้การเลี้ยงมีความปลอดภัย ระบบการป้องกันโรคและการจัดการเพื่อให้สุกรมีสุขภาพแข็งแรงโตเร็ว สำหรับการจัดการ ภายในอภิรัตน์ฟาร์ม หลังนำลูกหมูขุนซึ่งมีขนาดน้ำหนัก 7 กก.อายุ 19-21 วันมาโรงเลี้ยง จะเปิดไฟกกอุณหภูมิ 34 องศา ให้เหมาะสมลดความเครียด แล้วลดอุณหภูมิลงเรื่อยๆไปจนถึง 28 องศา เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมทั้งให้วิตามิน น้ำ เพื่อ กระตุ้นให้กินอาหาร หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ จะคัดสุกรให้ขนาดตัวเท่ากันเพื่อให้การเจริญเติบโตมีความสม่ำเสมอ ทุกเช้าจะทำความสะอาดคอก กวาดมูลลงราง ซึ่งต้องทำแบบแห้ง หลังอายุครบกำหนดก่อนส่งโรงเชือด ที่บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จะเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อ ก่อนส่งออกผลผลิตทั้ง หมดไปยังประเทศเพื่อนบ้านนายอภิรัตน์ แก้ววิเศษ ผู้จัดการอภิรัตน์ฟาร์ม บอกว่า หลังตัดสินใจออกมาทำไร่กับแม่บ้าน ในช่วง 4 ปีแรกประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงยาวนานเกินไป ทำให้พืชผลที่ลงไว้เก็บได้ไม่ตรงตามความต้องการ จึงปรึกษากันซึ่งที่บ้านแฟนทำฟาร์มสุกรพันธุ์อยู่ก่อนแล้ว เห็นว่าอาชีพนี้มีความมั่นคง สร้างรายได้ที่แน่นอน ในปี’48 จึงตัดสินใจปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังจำนวน 8 ไร่ มาสร้างโรงเรือนสำหรับเลี้ยงสุกรขุน 2 หลัง เป็นระบบโรงเรือนปิด รองรับจำนวนสุกรได้โรงเรือนละ 700 ตัว ...เพื่อให้สุกรขุนที่เราจะเลี้ยงได้คุณภาพ ดังนั้น จึงต้องใช้ทุนค่อนข้างมากในการปรับปรุงสถานที่สร้างโรงเรือน รวมทั้งสร้างบ่อเก็บกักของเสีย (ไบโอแก๊ส) ซึ่งใช้เงินทั้งหมดประมาณ 5 ล้านบาท ทั้งโรงเรือนและบ่อบำบัดที่ได้เข้าร่วมกับ “สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ตลอดเวลาที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบ การเขียนแบบ จัดทำแบบแปลนก่อสร้าง จะมีทีมวิศวกรคอยติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องกระทั่งเสร็จ โดยโครงการจะเป็นผู้ออก ค่าใช้จ่ายให้คิดจากเงินลงทุน 30 เปอร์เซ็นต์...และที่ฟาร์มแห่งนี้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับรองมาตรฐานฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง...สำหรับเกษตรกรรายใดที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถกริ๊งกร๊างสอบถามข้อมูลกันได้ที่ โทร.08–1544–2550, 08–5873–9043 ในเวลาที่เหมาะสม.เพ็ญพิชญา เตียว