ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัย.“พืชสมุนไพรไทย” นอกจากเพิ่มความหอม รสชาติอร่อยลิ้น เมื่อนำมาวิจัยพบว่า หลายตัวมีสรรพคุณทางยาทั้งบำบัดรักษา โดยล่าสุด ดร.ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล ผอ.ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ พร้อมด้วยนางศิรินันท์ ทับทิมเทศ นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายเภสัชฯ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้นำพืชวงศ์กะเพรากับชามาวิจัยเพื่อนำมาทำ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปรับสมดุลเพื่อการผ่อนคลายและช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน” ขึ้นนางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว. เปิดเผยว่า“...ความเครียดนั้นเป็นสาเหตุของโรคมากมาย เช่น ภูมิแพ้ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง เป็นต้น ดังนั้น วว.จึงมีแนวคิดในการศึกษาวิจัยสมุนไพรไทยที่น่าจะมีผลต่อความดันโลหิต ทั้งนี้ วว. ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนผู้ผลิตสมุนไพรในจังหวัดตราด สนับสนุนในด้านวัตถุดิบหลักเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยการออกฤทธิ์ของสมุนไพรที่มีความสามารถในการต้านความเครียด ความปลอดภัย ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งในการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรที่มีอยู่ในบ้านเรา” สำหรับแนวทางการวิจัยนั้น ดร.ชุลีรัตน์บอกว่า เริ่มต้น วว.จะมีการดำเนินนโยบายตามการดูถึงความต้องการในอนาคต เราจะมีการทำเทคโนโลยีที่ดูว่าในอนาคตมีอะไรบ้างเป็นที่ต้องการในตลาดโลก ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่ง จะมีนักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปคิดค้นคำนี้ขึ้นมาให้คำจำกัดความสมุนไพรที่ไม่ได้รักษาโรคใดโรคหนึ่ง แต่ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น อาทิ โสม เห็ดหลินจือโดยสิ่งที่คนเราต้องการมากที่สุดคือเรื่อง “สุขภาพ” ที่ตื่นตัวมาก โรคที่คนเรากลัวกันมากที่สุดคือ โรคอ้วน หัวใจ เบาหวาน มะเร็ง และเรื่อง ทางเดินอาหาร ซึ่งการวิจัยแยกออกเป็น การควบคุมน้ำหนัก การปรับสมดุลต้านความเครียดกับควบคุมความดันโลหิต และ ผลิตภัณฑ์ป้องกันทางเดินอาหาร (ส่งต่อบริษัทเอกชนแล้ว) พร้อมทั้งศึกษาดูว่าผลิตภัณฑ์ปรับสมดุล “...และหันกลับมาศึกษาสมุนไพรเราบ้างว่ามีหรือไม่ โดยศึกษาต่อยอดจากภูมิปัญญาไทย พร้อมทั้งศึกษาตำรายาอินเดียควบคู่กัน ซึ่งพบว่า พืชวงศ์กะเพรา จะมีคุณสมบัติปรับสมดุล โดยเริ่มคัดเลือกพืช 4 ชนิด คือ กะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า จากที่ต่างๆ โดยพบว่าใน พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จะมีคุณภาพมากที่สุด...”สำหรับการเลือกใช้พืชวงศ์กะเพราและชา เนื่องจากพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ช่วยในเรื่องการเผาผลาญพลังงาน เมื่อบริโภคแล้วเกิดการขับเหงื่อ ส่วนชาที่ใช้เพราะเนื่องจากบ้านเรามีการปลูกอยู่มาก หากใช้เพียงแค่ชงดื่ม มูลค่ายังไม่มากมายนัก ทั้งๆที่ในใบชามีสารต่างๆ อยู่มาก โดยเฉพาะด้านการเผาผลาญพลังงาน เมื่อนำมาสกัดเสร็จแล้วทำการศึกษา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาจับ คือสกัดก่อนแล้วดูคุณภาพสารสำคัญที่มีอยู่ พร้อมศึกษาฤทธิ์ต้านความเครียด วิตกกังวล ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าทั้งหมดมีฤทธิ์ดังกล่าว จากนั้นจึงคัดเลือกและผสมสูตร กระทั่งออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้นไปใช้ในสัตว์ทดลอง โดยให้ยากับหนูทดลอง แล้วดูว่าสามารถออกมาสู่โลกกว้างได้หรือไม่ เพราะธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้ชอบอยู่ในที่มืดและแคบๆ หลังศึกษาประมาณ 1 สัปดาห์ พบว่าพฤติกรรมเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อพบว่ามีความปลอดภัย จึงส่งต่อให้นักศึกษาภาควิชาเภสัช คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ทำการศึกษาต่อเนื่องด้านประสิทธิภาพในการใช้กับผู้ป่วยจริง ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการเผาผลาญ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการส่งต่อเพื่อทดสอบทางคลินิกวิทยาสำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0–2577–9300 ในวันและเวลาราชการ.เพ็ญพิชญา เตียว