หมูตัวนี้ไร้ขน.เมื่อเร็วๆนี้ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า มีการพบเจ้าตัว...อาร์ดวาร์ก (Aardvark) หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า หมู ดิน (แต่ไม่ใช่หมูดินของบ้านเรา) ที่มันเกิดมาแล้วมีร่างกายสมบูรณ์ แต่ผิวของมันไม่มีขนแม้แต่เส้นเดียว และนั่นอาจเป็นเหตุให้... “ตัวแม่”...ผู้ให้กำเนิดไม่ยอมเลี้ยงดู และปล่อยทิ้งไว้ตั้งแต่เกิด...เจ้าหน้าที่จากสวนบุสช์ การ์เดน (Busch Gardens) ในรัฐฟลอริดา จึงต้องรับหน้าที่เป็นผู้ดูแล พร้อมทั้งให้อาหาร และดูเหมือนว่ามันจะเดินได้ไม่คล่องเท่าไหร่นัก โดยปกติแล้วหลังจาก...อาร์ดวาร์ก เกิดมาแม่ของมันจะคอยประคบประหงม ดูแลจนกระทั่ง 6 เดือน จึงปล่อยให้มันไปเป็นอิสระ เพื่อหาอาหารเองเจ้าหน้าที่รายหนึ่ง บอกว่า...พวกเราขนานนามมันว่า...หมูดินไร้ขน ในการเลี้ยงดูต้องการที่จะให้มันอยู่อาศัยแบบธรรมชาติ แต่เมื่อพบว่า แม่ของมันปฏิเสธไม่เลี้ยงดู จึงรับมันมาเลี้ยงไว้ที่สวนแห่งนี้มันกลายเป็นที่สนใจหลังจากที่มีการเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ ...อาร์ดวาร์ก...เมื่อค้นประวัติในอดีต พบว่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่ ในทวีปแอฟริกา นับตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ ก่อนหน้านี้มันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ ตัวกินมดและอาร์มาดิลโล ในอันดับ Edentata ซึ่งแปลว่า “ไม่ มีฟัน” แต่ความจริงแล้วไม่ได้เกี่ยวข้องกัน เพราะต่างฝ่ายต่างวิวัฒนาการขึ้นมาในพื้นที่ซึ่งแตกต่างกัน...อันที่จริง มันเลี้ยงลูกด้วยนม อันดับทางชีววิทยา ว่า Tubulidentata หมายถึง “มีฟันเป็นท่อ” จำนวน 20 ซี่ มีลักษณะเหมือนหมุดที่แบนราบ และมีรูปทรงเหมือนท่อหกเหลี่ยมฝังตัวอยู่ด้านในของปาก และเคลือบไว้ด้วยเคลือบรากฟัน (cementum) ซึ่งเป็น สารที่ปกติจะอยู่ภายในฟัน นอกจากนี้ ฟันของหมูดินยังเหมือนกับฟันของ สัตว์ฟันแทะ (rodent) ตรงที่ไม่เคยหยุดเจริญเติบโต มีรูปลักษณ์ที่เป็น แบบรวมมิตร โดยมีจมูกของ ตัวกินมด หูของลา อุ้งเท้าของกระต่าย และ หางของหนูยักษ์ ไว้ในร่างเดียวในเวลาพลบค่ำมันจะออกจากโพรง และใช้จมูกเขี่ยตามพื้นดิน พลางสูดดมกลิ่นและเดินคดเคี้ยวข้ามทุ่ง หญ้าสะวันนา เพื่อค้นหาจอมปลวกและกะเทาะหน้าดินออกก่อนจะใช้ลิ้นเลียจนเกลี้ยง อีกทั้งยังเป็นสัตว์ที่สามารถเดิน ได้ไกล ถึง 48 กิโลเมตร และเขมือบปลวกได้ มากเกือบ 5 ลิตร ในแต่ละวันจมูกของหมูดินประกอบด้วย กระดูกและประสาทรับกลิ่น มากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ส่วนหูของมันก็สามารถ ได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวใต้พื้นดินที่เบาที่สุด ขณะที่ กรงเล็บอันทรงพลังของมันสามารถเปิดรังจอมปลวกได้เหมือนกับเอาพลั่วตักลงไป หมูดิน...ยังได้สร้างความสัมพันธ์แบบเอื้อประโยชน์กับต้นไม้ชนิดหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ “แตงกวาอาร์ดวาร์ก” โดยมันจะขุดลงไปกินในยามที่ขาดแคลนน้ำ แล้วจึงค่อยฝังมูลไว้ ชาวเผ่าซานแห่งทะเลทรายคาลาฮี เรียกผลไม้นี้ว่า “มูลของตัวอาร์ดวาร์ก”การที่สัตว์กลางคืนที่หาตัวยากชนิดนี้ กลายเป็นที่รู้จักในโลกของคนที่พูดภาษาอังกฤษ อาจจะเป็นเพราะว่าชื่อของมัน อยู่เป็นอันดับแรกๆ ของพจนานุกรม แต่ความจริง คำว่า Aardvark เป็นคำนามที่ปรากฏครั้งแรกใน พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซ์-ฟอร์ดปี 1928 โดยบรรณาธิการพจนานุกรมที่ชื่อ เจมส์ เมอร์เรย์.ไชยรัตน์ ส้มฉุน